หลังจากที่นายสุชน ชาลีเครือ ส.ว.ชัยภูมิ ได้รับเลือกเป็น ประธานวุฒิสภาคนใหม่ ซึ่งถูกตั้งข้อกังขา เกี่ยวกับความ
ไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีความสนิทสนม กับคนในรัฐบาลนั้น “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความ
คิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเกี่ยวกับ ประธานวุฒิสภคนใหม่ในสายตาประชาชน จำนวนทั้งสิ้น
1,278 คน (ชาย 570 คน 44.60% หญิง 708 คน 55.40%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24
กุมภาพันธ์ 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจของ “ประชาชน” ต่อวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” มากน้อยเพียงใด ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เฉยๆ 36.36% 38.96% 37.66%
เพราะ ยังไม่ทราบรายละเอียดวิธีการลงคะแนนกันมากนัก, เมื่อเลือกตั้งแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างพอใจ 24.24% 38.05% 31.14%
เพราะ เป็นการออกเสียงตามระบอบประชาธิปไตย, เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกระบวนการของวุฒิสภาที่ได้วางไว้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 พอใจมาก 18.18% 13.27% 15.73%
เพราะ จะได้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบต่างๆเกิดขึ้น, เป็นการเลือกตั้งที่มาจากสมาชิกวุฒิสภาโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ค่อยพอใจ 13.64% 8.84% 11.24%
เพราะ ไม่มีความโปร่งใสเท่าที่ควร, วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งไม่ค่อยเป็นธรรม ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่พอใจเลย 7.58% 0.88% 4.23%
เพราะ ไม่มีคณะกรรมการสรรหาที่วางตัวเป็นกลางเลย, มีการล็อบบี้กันเกิดขึ้น ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่าการเลือกตั้ง “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” มีเรื่องการเมืองแทรกแซงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 53.62% 48.67% 51.14%
เพราะ เป็นเรื่องปกติที่รัฐบาลจะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่เสมอ, วุฒิสภาเกือบทุกท่านอยู่ในเครือข่ายการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.33% 35.40% 34.37%
เพราะ เป็นเรื่องภายในของรัฐบาลไม่สามารถรับรู้ข่าวสารข้อเท็จจริงได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 13.05% 15.93% 14.49%
เพราะ การทำงานของรัฐบาลย่อมมีการตรวจสอบได้อยู่แล้ว, บทบาทของ ส.ว. ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” จะมีความเป็นกลางทางการเมืองมากน้อยเพียงใด ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 50.00% 56.64% 53.32%
เพราะ ต้องรอดูการทำงานและผลงานก่อนยังสรุปตอนนี้ไม่ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเป็นกลาง 13.63% 27.43% 20.53%
เพราะ เป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายน่าจะทำตัวเป็นกลาง, ต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเป็นกลาง 16.67% 5.31% 10.99%
เพราะ อาจถูกการเมืองแทรกแซงได้, อาจมีการเอนเอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ฯลฯ
อันดับที่ 4 มีความเป็นกลางมาก 12.12% 7.08% 9.60%
เพราะ เป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมและเป็นกลาง, เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกฝ่ายฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่เป็นกลาง 7.58% 3.54% 5.56%
เพราะ มีข่าวการสนิทสนมกับคนในรัฐบาล, อาจมีความเกรงใจในพรรคพวกของตัวเองเกิดขึ้นได้ฯลฯ
4. สิ่งที่ “ประชาชน” อยากฝากบอก “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” คือ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดและมีความยุติธรรม 43.55% 67.26% 55.41%
อันดับที่ 2 ต้องมีความรับผิดชอบและตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ 35.49% 15.04% 25.26%
อันดับที่ 3 อยากให้ซื่อสัตย์ อดทน เพื่อพิสูจน์ตัวเอง 8.06% 12.39% 10.23%
อันดับที่ 4 ทำตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งอย่าให้การเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ 12.90% 5.31% 9.10%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีความสนิทสนม กับคนในรัฐบาลนั้น “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความ
คิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเกี่ยวกับ ประธานวุฒิสภคนใหม่ในสายตาประชาชน จำนวนทั้งสิ้น
1,278 คน (ชาย 570 คน 44.60% หญิง 708 คน 55.40%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24
กุมภาพันธ์ 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจของ “ประชาชน” ต่อวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” มากน้อยเพียงใด ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เฉยๆ 36.36% 38.96% 37.66%
เพราะ ยังไม่ทราบรายละเอียดวิธีการลงคะแนนกันมากนัก, เมื่อเลือกตั้งแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างพอใจ 24.24% 38.05% 31.14%
เพราะ เป็นการออกเสียงตามระบอบประชาธิปไตย, เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกระบวนการของวุฒิสภาที่ได้วางไว้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 พอใจมาก 18.18% 13.27% 15.73%
เพราะ จะได้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบต่างๆเกิดขึ้น, เป็นการเลือกตั้งที่มาจากสมาชิกวุฒิสภาโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ค่อยพอใจ 13.64% 8.84% 11.24%
เพราะ ไม่มีความโปร่งใสเท่าที่ควร, วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งไม่ค่อยเป็นธรรม ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่พอใจเลย 7.58% 0.88% 4.23%
เพราะ ไม่มีคณะกรรมการสรรหาที่วางตัวเป็นกลางเลย, มีการล็อบบี้กันเกิดขึ้น ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่าการเลือกตั้ง “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” มีเรื่องการเมืองแทรกแซงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 53.62% 48.67% 51.14%
เพราะ เป็นเรื่องปกติที่รัฐบาลจะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่เสมอ, วุฒิสภาเกือบทุกท่านอยู่ในเครือข่ายการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.33% 35.40% 34.37%
เพราะ เป็นเรื่องภายในของรัฐบาลไม่สามารถรับรู้ข่าวสารข้อเท็จจริงได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 13.05% 15.93% 14.49%
เพราะ การทำงานของรัฐบาลย่อมมีการตรวจสอบได้อยู่แล้ว, บทบาทของ ส.ว. ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” จะมีความเป็นกลางทางการเมืองมากน้อยเพียงใด ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 50.00% 56.64% 53.32%
เพราะ ต้องรอดูการทำงานและผลงานก่อนยังสรุปตอนนี้ไม่ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเป็นกลาง 13.63% 27.43% 20.53%
เพราะ เป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายน่าจะทำตัวเป็นกลาง, ต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเป็นกลาง 16.67% 5.31% 10.99%
เพราะ อาจถูกการเมืองแทรกแซงได้, อาจมีการเอนเอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ฯลฯ
อันดับที่ 4 มีความเป็นกลางมาก 12.12% 7.08% 9.60%
เพราะ เป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมและเป็นกลาง, เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกฝ่ายฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่เป็นกลาง 7.58% 3.54% 5.56%
เพราะ มีข่าวการสนิทสนมกับคนในรัฐบาล, อาจมีความเกรงใจในพรรคพวกของตัวเองเกิดขึ้นได้ฯลฯ
4. สิ่งที่ “ประชาชน” อยากฝากบอก “ประธานวุฒิสภาคนใหม่” คือ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดและมีความยุติธรรม 43.55% 67.26% 55.41%
อันดับที่ 2 ต้องมีความรับผิดชอบและตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ 35.49% 15.04% 25.26%
อันดับที่ 3 อยากให้ซื่อสัตย์ อดทน เพื่อพิสูจน์ตัวเอง 8.06% 12.39% 10.23%
อันดับที่ 4 ทำตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งอย่าให้การเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ 12.90% 5.31% 9.10%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-