** ประชาชน ระบุ “นักการเมือง” เป็นอาชีพที่คอรัปชั่นมากที่สุด!!
วิธีแก้ คือ สร้างจิตสำนึกตั้งแต่วัยเยาว์ ยึดพ่อแม่ เป็นแบบอย่างความซื่อสัตย์ **
การทุจริตคอรัปชั่น เป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างยาวนานและส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางหรือนโยบายในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นให้หมดไปจากสังคมไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ กรณีการแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น จำนวน 1,884 คน ระหว่างวันที่ 3-7 มกราคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 นักการเมือง 42.96% อันดับ 2 ข้าราชการ 28.25% อันดับ 3 ตำรวจ 16.37% อันดับ 4 พ่อค้าและนักธุรกิจ 7.17% อันดับ 5 นักการบัญชี การเงิน 5.25% 2. ทำอย่างไร? จึงจะแก้การทุจริตคอรัปชั่นได้ อันดับ 1 ต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตตั้งแต่วัยเยาว์ /มีการรณรงค์ และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 31.69% อันดับ 2 มีกฎหมาย บทลงโทษที่เด็ดขาด ชัดเจน /มาตรการเข้มงวด เอาจริงเอาจัง 30.41% อันดับ 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ถี่ถ้วน โดยเฉพาะเอกสาร หลักฐานต่างๆ 26.22% อันดับ 4 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน /ช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาในการตรวจสอบระบบการทำงาน 6.78% อันดับ 5 เน้นคุณภาพชีวิตที่ดี /เรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน 4.90% 3. “องค์กรหรือหน่วยงาน” ที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์สุจริต อันดับ 1 ครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ 44.71% อันดับ 2 สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะครู อาจารย์ 19.15% อันดับ 3 ศาสนา / พระสงฆ์ 13.94% อันดับ 4 ชุมชน โดยเฉพาะผู้นำ 11.15% อันดับ 5 ทหาร 11.05% 4. “บุคคล” ที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์สุจริต อันดับ 1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 34.86% อันดับ 2 นายชวน หลีกภัย 26.60% อันดับ 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 15.52% อันดับ 4 นายอานันท์ ปันยารชุน 14.67% อันดับ 5 นายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 8.35% 5. ประชาชนคิดว่าหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ ควรมีบทบาทหน้าที่ช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างไรบ้าง?
“ภาครัฐ” ควรมีบทบาทหน้าที่ช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่น ดังนี้คือ
อันดับ 1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เอาจริงเอาจัง /เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรง / ไม่เกรงกลัว ไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล 37.77% อันดับ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ป.ป.ช. สตง. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ 32.88% อันดับ 3 มีกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ /ขั้นตอน กระบวนการต่างๆชัดเจน 29.35%
“ภาคเอกชน” ควรมีบทบาทหน้าที่ช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่น ดังนี้คือ
อันดับ 1 ต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง 57.50% อันดับ 2 ภายในบริษัทจะต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สำหรับตรวจสอบฝ่ายบัญชี การเงิน / ดูแลตรวจสอบเรื่องการฮั้ว การประมูลเป็นพิเศษ 28.44% อันดับ 3 ปลูกฝังค่านิยมของพนักงานในองค์กรให้ยึดมั่นในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง 14.06%
“ภาคประชาชน” ควรมีบทบาทหน้าที่ช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่น ดังนี้คือ
อันดับ 1 คอยเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแลแทนเจ้าหน้าที่ หากพบเห็นการทุจริตให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที 64.27% อันดับ 2 ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริตให้แก่เด็ก / การปลูกฝังจิตสำนึกแก่บุตรหลานให้เป็นคนดี มีคุณธรรม 24.49% อันดับ 3 จะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน /รู้จักละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีศีลธรรมในจิตใจ / ไม่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ พนักงาน 11.24% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-