ด้วยสำนักงานกิจการยุติธรรม โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 3 เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม พัฒนาบุคลิกภาพ ฯ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์แบบบูรณาการ รวมทั้งเป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นพื้นฐานหลักของนักบริหารยุติธรรม เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,026 คน ระหว่างวันที่ 4-9 มกราคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ “กระบวนการยุติธรรม” ต่อไปนี้อย่างไร? อันดับ 1 ผู้พิพากษา /อัยการ 70.80%
เพราะ เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพศรัทธาของคนทั่วไป ,ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ,
อยู่ในกรอบของศีลธรรมและกฎหมาย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ฯลฯ
อันดับ 2 ทนายความ 54.80%
เพราะ เป็นผู้ให้คำปรึกษา หรือข้อแนะนำทางกฎหมายให้กับประชาชนได้ ,มีความใกล้ชิดและเป็นที่พึ่ง
ของประชาชนโดยทำหน้าที่ว่าความหรือแก้ต่างให้ ฯลฯ
อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 52.40%
เพราะ เป็นผู้ที่จะต้องผ่านการคัดเลือกตามกฎระเบียบของกรมราชทัณฑ์ที่กำหนดไว้ ,มีความเสียสละ ควบคุม
ดูแล ผู้ต้องขังให้มีความประพฤติที่ดีขึ้น เป็นผู้ฝึกหัดอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ฯลฯ
อันดับ 4 ตำรวจ 41.60%
เพราะ เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิด , เป็นผู้ที่สร้าง
ความอุ่นใจให้กับประชาชนและพึ่งพาได้ ฯลฯ
2.1 ผู้พิพากษา /อัยการ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
อันดับ 1 ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ 37.25% อันดับ 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม /อยู่ในกรอบของศีลธรรม 33.82% อันดับ 3 ยึดหลักกฎหมายและความถูกต้องในการพิจารณาตัดสิน /ตรงไปตรงมา ไม่เกรงกลัวและไม่ถูกผู้มีอิทธิพลเข้ามาแทรกแซง 28.93%
2.2 ทนายความ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
อันดับ 1 ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ /รักษาภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อให้ประชาชนเชื่อถือ ศรัทธา 44.77% อันดับ 2 มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม /ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง 36.04% อันดับ 3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม /ไม่เลือกปฏิบัติ / พร้อมให้คำปรึกษา หรือข้อแนะนำด้านกฎหมาย 19.19%
2.3 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
อันดับ 1 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด คอยสอดส่องดูแลผู้ต้องขังให้อยู่ในความเรียบร้อย/ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ของผู้มีอิทธิพลหรือรับสินบน 63.55% อันดับ 2 ไม่เลือกปฏิบัติ /ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างเสมอภาค /เสริมสร้างกำลังใจให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ต้องขัง 21.97% อันดับ 3 เป็นผู้อบรมผู้ต้องขังให้ประพฤติปฏิบัติตนให้ดีขึ้น /ฝึกอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง 14.48%
2.4 ตำรวจ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
อันดับ 1 ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ผดุงความยุติธรรม รับใช้ประชาชน 43.10% อันดับ 2 ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพล /ไม่รับสินบน 32.77% อันดับ 3 ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นในเกียรติยศศักดิ์ศรีของตำรวจ 24.13% 3. ทำอย่างไร? ประชาชนจึงจะมีความเชื่อมั่นใน “กระบวนการยุติธรรม” อันดับ 1 ยึดมั่นและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตรงไปตรงมา 39.55% อันดับ 2 สร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมให้มีความตระหนักและเห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นสำคัญ 37.25% อันดับ 3 สร้างกลไก ลดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง /ไม่ปล่อยให้ผู้มีอิทธิพลเข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม 10.00% อันดับ 4 มีกระบวนการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ /เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 7.29% อันดับ 5 เพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในทางมิชอบ 5.91% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-