จากกระแสข่าวการทาบทามให้พรรคชาติพัฒนากลับเข้าร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาลอีกครั้ง และประกอบกับข่าวที่ออกมาในเชิงของการ
รวมพรรคชาติพัฒนาและพรรคไทยรักไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เป็นกรณีที่ถูกจับตามองเป็นอันมาก “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎ
สวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯและจังหวัดนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน
(คนกรุงเทพฯ 576 คน 52.89% คนโคราช 513 คน 47.11%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 5 มีนาคม 2547
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” เห็นด้วยหรือไม่? ที่พรรคชาติพัฒนาจะเข้าร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาล
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 27.94% 70.97% 49.46%
เพราะ จะได้ร่วมมือกันทำงานบริหารพัฒนาประเทศชาติ, รัฐบาลจะได้มีการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 36.76% 17.74% 27.25%
เพราะ ควรเป็นฝ่ายค้าน จะได้มีคุณค่าและเห็นการทำงานที่ชัดเจน, เสียงของฝ่ายรัฐบาลอาจมีมากเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉย ๆ 35.30% 11.29% 23.29%
เพราะ ไม่ว่าจะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลหรือไม่คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไรนัก, เป็นเรื่องธรรมดาของการเมืองไทย ฯลฯ
2. ประชาชนคิดว่าถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาลแล้วจะมีผลดีผลเสียมากกว่ากัน
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 ผลดีมากกว่า 17.39% 55.74% 36.57%
เพราะ ช่วยกันทำงาน ระดมความคิดให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น, ช่วยกันบริหารพัฒนาประเทศ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.34% 26.22% 29.77%
เพราะ ต้องดูนโยบายก่อน, รอดูสถานการณ์ก่อน, แต่ละพรรคก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ผลเสียมากกว่า 34.78% 8.20% 21.49%
เพราะ อาจทำงานไม่เป็นทีม, อุดมการณ์อาจไม่ตรงกัน,รัฐบาลอาจผูกขาดการทำงานได้ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลดีผลเสียพอ ๆ กัน 14.49% 9.84% 12.17%
เพราะ เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันทำงาน ถ้าเกิดมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็เป็นธรรมดา ฯลฯ
3. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? ที่พรรคชาติพัฒนาจะยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 37.68% 41.94% 39.81%
เพราะ พรรคการเมืองในประเทศไทยจะได้ลดลงบ้าง, การทำงานอาจดีขึ้นมีความมั่นคง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 39.13% 40.32% 39.73%
เพราะ ควรมีจุดยืนของตัวเอง, อาจมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง, ทำให้มีการผูกขาดอำนาจทางการเมืองได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉย ๆ 23.19% 17.74% 20.46%
เพราะ ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 พรรค, ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าถ้าพรรคชาติพัฒนายุบรวมกับพรรคไทยรักไทยแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 33.33% 40.68% 37.00%
เพราะ ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน, ยังไม่ทราบการทำงานของทั้ง 2 พรรค ฯลฯ
อันดับที่ 2 ผลเสียมากกว่า 29.17% 20.34% 24.76%
เพราะ เกิดการผูกขาดทางการเมือง, อาจเกิดการขัดแย้งภายในพรรคได้, กลัวจะมีการคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ผลดีมากกว่า 25.00% 23.73% 24.37%
เพราะ จะได้มีเสียงการลงคะแนนมาก ง่ายต่อการจัดตั้งรัฐบาล, สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลดีผลเสียพอ ๆ กัน 12.50% 15.25% 13.87%
เพราะ การทำงานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น ฯลฯ
5. ประชาชนคิดว่าถ้ามีการรวมของทั้ง 2 พรรคคือ พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติพัฒนาแล้วจะมีการขัดแย้ง
เหมือนเมื่อครั้งที่ผ่านมาหรือไม่?
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 57.97% 26.23% 42.10%
เพราะ การจัดสรรตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ อาจไม่ลงตัวเกิดความไม่เข้าใจกันขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 37.68% 40.98% 39.33%
เพราะ ต้องรอดูต่อไปเป็นเรื่องของอนาคต, ถ้ามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องย่อมเกิดการขัดแย้งเกิดขึ้นได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 4.35% 32.79% 18.57%
เพราะ มีบทเรียนมาแล้วคงจะไม่เกิดขึ้นอีก, เป็นการร่วมมือกันพัฒนาประเทศชาติคงไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
รวมพรรคชาติพัฒนาและพรรคไทยรักไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เป็นกรณีที่ถูกจับตามองเป็นอันมาก “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎ
สวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯและจังหวัดนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน
(คนกรุงเทพฯ 576 คน 52.89% คนโคราช 513 คน 47.11%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 5 มีนาคม 2547
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” เห็นด้วยหรือไม่? ที่พรรคชาติพัฒนาจะเข้าร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาล
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 27.94% 70.97% 49.46%
เพราะ จะได้ร่วมมือกันทำงานบริหารพัฒนาประเทศชาติ, รัฐบาลจะได้มีการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 36.76% 17.74% 27.25%
เพราะ ควรเป็นฝ่ายค้าน จะได้มีคุณค่าและเห็นการทำงานที่ชัดเจน, เสียงของฝ่ายรัฐบาลอาจมีมากเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉย ๆ 35.30% 11.29% 23.29%
เพราะ ไม่ว่าจะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลหรือไม่คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไรนัก, เป็นเรื่องธรรมดาของการเมืองไทย ฯลฯ
2. ประชาชนคิดว่าถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาลแล้วจะมีผลดีผลเสียมากกว่ากัน
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 ผลดีมากกว่า 17.39% 55.74% 36.57%
เพราะ ช่วยกันทำงาน ระดมความคิดให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น, ช่วยกันบริหารพัฒนาประเทศ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.34% 26.22% 29.77%
เพราะ ต้องดูนโยบายก่อน, รอดูสถานการณ์ก่อน, แต่ละพรรคก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ผลเสียมากกว่า 34.78% 8.20% 21.49%
เพราะ อาจทำงานไม่เป็นทีม, อุดมการณ์อาจไม่ตรงกัน,รัฐบาลอาจผูกขาดการทำงานได้ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลดีผลเสียพอ ๆ กัน 14.49% 9.84% 12.17%
เพราะ เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันทำงาน ถ้าเกิดมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็เป็นธรรมดา ฯลฯ
3. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? ที่พรรคชาติพัฒนาจะยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 37.68% 41.94% 39.81%
เพราะ พรรคการเมืองในประเทศไทยจะได้ลดลงบ้าง, การทำงานอาจดีขึ้นมีความมั่นคง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 39.13% 40.32% 39.73%
เพราะ ควรมีจุดยืนของตัวเอง, อาจมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง, ทำให้มีการผูกขาดอำนาจทางการเมืองได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉย ๆ 23.19% 17.74% 20.46%
เพราะ ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 พรรค, ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าถ้าพรรคชาติพัฒนายุบรวมกับพรรคไทยรักไทยแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 33.33% 40.68% 37.00%
เพราะ ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน, ยังไม่ทราบการทำงานของทั้ง 2 พรรค ฯลฯ
อันดับที่ 2 ผลเสียมากกว่า 29.17% 20.34% 24.76%
เพราะ เกิดการผูกขาดทางการเมือง, อาจเกิดการขัดแย้งภายในพรรคได้, กลัวจะมีการคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ผลดีมากกว่า 25.00% 23.73% 24.37%
เพราะ จะได้มีเสียงการลงคะแนนมาก ง่ายต่อการจัดตั้งรัฐบาล, สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลดีผลเสียพอ ๆ กัน 12.50% 15.25% 13.87%
เพราะ การทำงานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น ฯลฯ
5. ประชาชนคิดว่าถ้ามีการรวมของทั้ง 2 พรรคคือ พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติพัฒนาแล้วจะมีการขัดแย้ง
เหมือนเมื่อครั้งที่ผ่านมาหรือไม่?
คนกรุงเทพฯ คนโคราช ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 57.97% 26.23% 42.10%
เพราะ การจัดสรรตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ อาจไม่ลงตัวเกิดความไม่เข้าใจกันขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 37.68% 40.98% 39.33%
เพราะ ต้องรอดูต่อไปเป็นเรื่องของอนาคต, ถ้ามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องย่อมเกิดการขัดแย้งเกิดขึ้นได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 4.35% 32.79% 18.57%
เพราะ มีบทเรียนมาแล้วคงจะไม่เกิดขึ้นอีก, เป็นการร่วมมือกันพัฒนาประเทศชาติคงไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-