เนื่องจากในปัจจุบันเด็กไทยนิยมรับประทานขนมขบเคี้ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบหลายรสชาติ ทำให้พฤติกรรมการ
บริโภคของเด็กเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งมองว่าเกิดจากตัวเด็กเองที่ชื่นชอบการรับประทานขนมอีกส่วนหนึ่งมองว่าเกิดจากสื่อโฆษณา
ที่จูงใจเด็กให้ลองรับประทาน “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,057 คน (ชาย 434 คน 41.06% หญิง 623 คน 58.94%) โดยสำรวจระหว่างวันที่
12 - 13 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” เชื่อหรือไม่? ว่าเด็กบริโภคขนมขบเคี้ยว เป็นเพราะการโฆษณา
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เชื่อ 69.35% 74.16% 71.76%
เพราะ สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อเด็กเป็นอย่างมากในปัจจุบัน, สื่อโฆษณาสมัยนี้มีวิธีการเชิญชวนที่น่าสนใจมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 16.13% 14.60% 15.36%
เพราะ อาจไม่ใช่เพียงโฆษณาแต่รวมถึงรสชาติที่ถูกปากหรือบริโภคตามเพื่อนก็ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เชื่อ 14.52% 11.24% 12.88%
เพราะ เป็นนิสัยปกติของเด็กอยู่แล้วที่ต้องชอบทานขนม, เด็กจะเลือกที่รสชาติ บรรจุภัณฑ์และของที่แถมมามากกว่า ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่าบุตรหลาน ทำไม? จึงชอบบริโภคขนมขบเคี้ยว
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีรสชาติและสีสันน่ารับประทาน ถูกใจเด็ก 36.49% 41.96% 39.23%
อันดับที่ 2 เป็นความนิยมของเด็ก/ตามเพื่อน 14.86% 13.39% 14.12%
อันดับที่ 3 มีของแถม ของชำร่วยไว้ล่อใจเด็ก 12.16% 15.18% 13.67%
อันดับที่ 4 หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก 16.22% 8.04% 12.13%
อันดับที่ 5 ใช้การโฆษณาที่ดึงดูดใจเด็ก 10.81% 13.39% 12.10%
*อื่นๆ เช่น มีบรรจุภัณฑ์ที่สวย, น่าสนใจ, แปลกตา 9.46% 8.04% 8.75%
3. “ประชาชน” อยากให้บุตรหลาน บริโภคขนมขบเคี้ยวหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่อยากให้รับประทาน 61.29% 61.80% 61.54%
เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าทางอาหารและมีสารปนเปื้อนอยู่ อาจเกิดการสะสมอยู่ในร่างกายอาจเป็นอันตรายได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 16.13% 29.21% 22.67%
เพราะ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าสมควรจะกินมากน้อยเพียงใดเพราะบางอย่างก็มีประโยชน์บางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ ฯลฯ
อันดับที่ 3 อยากให้รับประทาน 22.58% 8.99% 15.79%
เพราะ ขนมบางอย่างก็มีประโยชน์, คงห้ามไม่ได้เพราะเป็นธรรมชาติของเด็ก แต่ควรควบคุมให้บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่าบุคคลต่อไปนี้ควรมีส่วนร่วมในการดูแลการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กได้อย่างไร?
? ผู้ปกครอง/พ่อแม่
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้คำแนะนำแก่บุตรหลานให้รู้จักการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ 48.65% 54.55% 51.60%
อันดับที่ 2 ดูแลพฤติกรรมการบริโภคของเด็กอย่างใกล้ชิด 29.73% 24.24% 26.98%
อันดับที่ 3 เลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์พร้อมทั้งอธิบายทั้งคุณและโทษของขนมขบเคี้ยวให้เด็กได้ทราบ 21.62% 21.21% 21.42%
? ครู/อาจารย์
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของขนมขบเคี้ยว 41.38% 63.64% 52.51%
อันดับที่ 2 สอนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่ควรได้รับ 31.03% 18.18% 24.61%
อันดับที่ 3 แนะนำสิ่งที่มีประโยชน์แก่เด็ก เช่น นม ผัก ผลไม้ ธัญพืช ฯลฯ 27.59% 18.18% 22.88%
? สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควบคุมมาตรฐานและตรวจสอบคุณภาพการผลิต, คุณค่าทางโภชนาการ 46.15% 46.15% 46.15%
อันดับที่ 2 ตรวจสอบและดูแลบริษัทผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวอย่างเข้มงวด 34.62% 30.77% 32.69%
อันดับที่ 3 ไม่ให้มีการโฆษณาที่ไม่เป็นความจริง เกิดการยั่วยุให้บริโภค 19.23% 23.08% 21.16%
? รัฐบาล
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควบคุมมาตรฐาน ตรวจสอบสินค้าต่างๆ อย่างเข้มงวด 36.84% 41.18% 39.01%
อันดับที่ 2 ปราบปรามผู้ผลิตที่ไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) 42.11% 23.53% 32.82%
อันดับที่ 3 ส่งเสริมขนมไทย เช่น ทองม้วน, มะข้ามแก้ว เป็นต้น 21.05% 35.29% 28.17%
5. “ประชาชน” คิดว่า “รัฐบาล” ควรมีมาตรการในเรื่องนี้อย่างไร ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรมีการควบคุมคุณภาพของขนมขบเคี้ยว เช่น วัตถุดิบ, การผลิต 33.80% 27.59% 30.69%
อันดับที่ 2 ออกกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนแก่ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยว 9.86% 31.03% 20.45%
อันดับที่ 3 ดูแลในเรื่องของการโฆษณาไม่ให้เกินความเป็นจริง 25.35% 15.52% 20.44%
อันดับที่ 4 ควรมีการกำหนดคุณประโยชน์สารอาหารขั้นต่ำที่จะได้รับจากขนม 19.72% 17.24% 18.48%
อันดับที่ 5 รณรงค์ให้เห็นคุณและโทษของขนมขบเคี้ยวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 11.27% 8.62% 9.94%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
บริโภคของเด็กเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งมองว่าเกิดจากตัวเด็กเองที่ชื่นชอบการรับประทานขนมอีกส่วนหนึ่งมองว่าเกิดจากสื่อโฆษณา
ที่จูงใจเด็กให้ลองรับประทาน “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,057 คน (ชาย 434 คน 41.06% หญิง 623 คน 58.94%) โดยสำรวจระหว่างวันที่
12 - 13 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” เชื่อหรือไม่? ว่าเด็กบริโภคขนมขบเคี้ยว เป็นเพราะการโฆษณา
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เชื่อ 69.35% 74.16% 71.76%
เพราะ สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อเด็กเป็นอย่างมากในปัจจุบัน, สื่อโฆษณาสมัยนี้มีวิธีการเชิญชวนที่น่าสนใจมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 16.13% 14.60% 15.36%
เพราะ อาจไม่ใช่เพียงโฆษณาแต่รวมถึงรสชาติที่ถูกปากหรือบริโภคตามเพื่อนก็ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เชื่อ 14.52% 11.24% 12.88%
เพราะ เป็นนิสัยปกติของเด็กอยู่แล้วที่ต้องชอบทานขนม, เด็กจะเลือกที่รสชาติ บรรจุภัณฑ์และของที่แถมมามากกว่า ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่าบุตรหลาน ทำไม? จึงชอบบริโภคขนมขบเคี้ยว
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีรสชาติและสีสันน่ารับประทาน ถูกใจเด็ก 36.49% 41.96% 39.23%
อันดับที่ 2 เป็นความนิยมของเด็ก/ตามเพื่อน 14.86% 13.39% 14.12%
อันดับที่ 3 มีของแถม ของชำร่วยไว้ล่อใจเด็ก 12.16% 15.18% 13.67%
อันดับที่ 4 หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก 16.22% 8.04% 12.13%
อันดับที่ 5 ใช้การโฆษณาที่ดึงดูดใจเด็ก 10.81% 13.39% 12.10%
*อื่นๆ เช่น มีบรรจุภัณฑ์ที่สวย, น่าสนใจ, แปลกตา 9.46% 8.04% 8.75%
3. “ประชาชน” อยากให้บุตรหลาน บริโภคขนมขบเคี้ยวหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่อยากให้รับประทาน 61.29% 61.80% 61.54%
เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าทางอาหารและมีสารปนเปื้อนอยู่ อาจเกิดการสะสมอยู่ในร่างกายอาจเป็นอันตรายได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 16.13% 29.21% 22.67%
เพราะ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าสมควรจะกินมากน้อยเพียงใดเพราะบางอย่างก็มีประโยชน์บางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ ฯลฯ
อันดับที่ 3 อยากให้รับประทาน 22.58% 8.99% 15.79%
เพราะ ขนมบางอย่างก็มีประโยชน์, คงห้ามไม่ได้เพราะเป็นธรรมชาติของเด็ก แต่ควรควบคุมให้บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่าบุคคลต่อไปนี้ควรมีส่วนร่วมในการดูแลการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กได้อย่างไร?
? ผู้ปกครอง/พ่อแม่
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้คำแนะนำแก่บุตรหลานให้รู้จักการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ 48.65% 54.55% 51.60%
อันดับที่ 2 ดูแลพฤติกรรมการบริโภคของเด็กอย่างใกล้ชิด 29.73% 24.24% 26.98%
อันดับที่ 3 เลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์พร้อมทั้งอธิบายทั้งคุณและโทษของขนมขบเคี้ยวให้เด็กได้ทราบ 21.62% 21.21% 21.42%
? ครู/อาจารย์
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของขนมขบเคี้ยว 41.38% 63.64% 52.51%
อันดับที่ 2 สอนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่ควรได้รับ 31.03% 18.18% 24.61%
อันดับที่ 3 แนะนำสิ่งที่มีประโยชน์แก่เด็ก เช่น นม ผัก ผลไม้ ธัญพืช ฯลฯ 27.59% 18.18% 22.88%
? สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควบคุมมาตรฐานและตรวจสอบคุณภาพการผลิต, คุณค่าทางโภชนาการ 46.15% 46.15% 46.15%
อันดับที่ 2 ตรวจสอบและดูแลบริษัทผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวอย่างเข้มงวด 34.62% 30.77% 32.69%
อันดับที่ 3 ไม่ให้มีการโฆษณาที่ไม่เป็นความจริง เกิดการยั่วยุให้บริโภค 19.23% 23.08% 21.16%
? รัฐบาล
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควบคุมมาตรฐาน ตรวจสอบสินค้าต่างๆ อย่างเข้มงวด 36.84% 41.18% 39.01%
อันดับที่ 2 ปราบปรามผู้ผลิตที่ไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) 42.11% 23.53% 32.82%
อันดับที่ 3 ส่งเสริมขนมไทย เช่น ทองม้วน, มะข้ามแก้ว เป็นต้น 21.05% 35.29% 28.17%
5. “ประชาชน” คิดว่า “รัฐบาล” ควรมีมาตรการในเรื่องนี้อย่างไร ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรมีการควบคุมคุณภาพของขนมขบเคี้ยว เช่น วัตถุดิบ, การผลิต 33.80% 27.59% 30.69%
อันดับที่ 2 ออกกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนแก่ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยว 9.86% 31.03% 20.45%
อันดับที่ 3 ดูแลในเรื่องของการโฆษณาไม่ให้เกินความเป็นจริง 25.35% 15.52% 20.44%
อันดับที่ 4 ควรมีการกำหนดคุณประโยชน์สารอาหารขั้นต่ำที่จะได้รับจากขนม 19.72% 17.24% 18.48%
อันดับที่ 5 รณรงค์ให้เห็นคุณและโทษของขนมขบเคี้ยวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 11.27% 8.62% 9.94%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-