จากการที่การประปานครหลวงจะขึ้นราคาน้ำประปาเป็นจำนวน 15 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร โดยอ้างว่ากรมชลประทาน
เรียกเก็บค่าน้ำดิบจากการใช้แม่น้ำแม่กลอง ลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ ทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณ
การใช้น้ำในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการที่มากขึ้น โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ “แม่บ้าน” ซึ่งควบคุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,030 คน
โดยสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “แม่บ้าน” คิดอย่างไร? กรณีขึ้นค่าน้ำประปา
อันดับที่ 1 ไม่อยากให้ขึ้นค่าน้ำประปาเพราะในปัจจุบันก็เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว 48.32%
อันดับที่ 2 ยังไม่สมควรที่จะขึ้นค่าน้ำประปาเพราะประชาชนจะเดือดร้อน ควรเห็นใจ 22.27%
ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
อันดับที่ 3 ต้องยอมรับเพราะต้องใช้น้ำในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามกลไกของธุรกิจ 12.19%
อันดับที่ 4 เป็นการผลักภาระให้กับแประชาชน/เอาเปรียบประชาชนเกินไป 9.66%
อันดับที่ 5 เห็นด้วยกับที่จะขึ้นค่าน้ำประปา แต่ควรขึ้นตามความเหมาะสมและปรับปรุง 7.56%
คุณภาพของการประปาให้ดีขึ้น
2. การขึ้นค่าน้ำประปาในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมากน้อยเพียงใด?
อันดับที่ 1 ส่งผลกระทบมาก 47.54%
เพราะ ปัจจุบันน้ำประปาก็แพงอยู่แล้ว,ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น,ทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายสูงอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างส่งผลกระทบ 29.75%
เพราะ ในชีวิตประจำวันต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยหลัก,ปัจจุบันจ่ายค่าน้ำประปาเป็นจำนวนที่สูงอยู่แล้วฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยส่งผลกระทบ 15.34%
เพราะ มีการขึ้นราคาเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนัก,มีการวางแผนการใช้จ่ายภายในครอบครัวแล้วฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ส่งผลกระทบ 7.37%
เพราะ ใช้น้ำในปริมาณน้อยอยู่แล้ว,พยายามประหยัดให้มากขึ้น,ขึ้นราคาไม่สูงมากนักยังสามารถยอมรับได้ฯลฯ
3. “แม่บ้าน” คิดว่าการขึ้นค่าน้ำประปาในครั้งนี้จะส่งผลให้สินค้าขึ้นราคาหรือไม่?
อันดับที่ 1 ขึ้นราคา 67.90%
เพราะ เป็นปกติที่เวลาขึ้นค่าสาธารณูปโภคแล้วราคาสินค้าก็จะขึ้นตามด้วย,มีสินค้าหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 22.22%
เพราะ อาจไม่กระทบต่อการผลิตมากนัก,ขึ้นอยู่กับการควบคุมของรัฐบาลและจรรยาบรรณของผู้ค้า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ขึ้นราคา 9.88%
เพราะ ไม่น่าจะส่งผลถึงสินค้าอื่น ๆ ,ไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาสินค้าอื่น ฯลฯ
4. ถ้าขึ้นราคาค่าน้ำประปาแล้ว “แม่บ้าน” อยากให้ปรับปรุงอะไร?
อันดับที่ 1 ควรปรับปรุงคุณภาพความสะอาดของน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน/ให้น้ำประปาดื่มได้จริงๆ 45.65%
อันดับที่ 2 ปรับปรุงการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 23.91%
อันดับที่ 3 พัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น 16.30%
อันดับที่ 4 ระบบการจ่ายน้ำประปาให้มีแรงดันที่สูงขึ้น/ไหลแรงขึ้น 14.14%
5. “แม่บ้าน” คิดว่ารัฐบาล ควรจะหาทางออกอย่างไร? ให้กับประชาชน
อันดับที่ 1 มีมาตรการตรึงราคาน้ำประปาไม่ให้ขึ้นคล้ายการตรึงราคาน้ำมัน 37.41%
อันดับที่ 2 เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือปรับยกฐานเงินเดือนของประชาชนให้สูงขึ้น 24.07%
อันดับที่ 3 ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคา 18.89%
อันดับที่ 4 รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด 10.37%
อันดับที่ 5 ดูแลน้ำประปาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานให้เหมาะสมกับการขึ้นราคา 9.26%
--สวนดุสิตโพล--
-ดพ-
เรียกเก็บค่าน้ำดิบจากการใช้แม่น้ำแม่กลอง ลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ ทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณ
การใช้น้ำในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการที่มากขึ้น โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ “แม่บ้าน” ซึ่งควบคุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,030 คน
โดยสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “แม่บ้าน” คิดอย่างไร? กรณีขึ้นค่าน้ำประปา
อันดับที่ 1 ไม่อยากให้ขึ้นค่าน้ำประปาเพราะในปัจจุบันก็เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว 48.32%
อันดับที่ 2 ยังไม่สมควรที่จะขึ้นค่าน้ำประปาเพราะประชาชนจะเดือดร้อน ควรเห็นใจ 22.27%
ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
อันดับที่ 3 ต้องยอมรับเพราะต้องใช้น้ำในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามกลไกของธุรกิจ 12.19%
อันดับที่ 4 เป็นการผลักภาระให้กับแประชาชน/เอาเปรียบประชาชนเกินไป 9.66%
อันดับที่ 5 เห็นด้วยกับที่จะขึ้นค่าน้ำประปา แต่ควรขึ้นตามความเหมาะสมและปรับปรุง 7.56%
คุณภาพของการประปาให้ดีขึ้น
2. การขึ้นค่าน้ำประปาในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมากน้อยเพียงใด?
อันดับที่ 1 ส่งผลกระทบมาก 47.54%
เพราะ ปัจจุบันน้ำประปาก็แพงอยู่แล้ว,ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น,ทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายสูงอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างส่งผลกระทบ 29.75%
เพราะ ในชีวิตประจำวันต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยหลัก,ปัจจุบันจ่ายค่าน้ำประปาเป็นจำนวนที่สูงอยู่แล้วฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยส่งผลกระทบ 15.34%
เพราะ มีการขึ้นราคาเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนัก,มีการวางแผนการใช้จ่ายภายในครอบครัวแล้วฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ส่งผลกระทบ 7.37%
เพราะ ใช้น้ำในปริมาณน้อยอยู่แล้ว,พยายามประหยัดให้มากขึ้น,ขึ้นราคาไม่สูงมากนักยังสามารถยอมรับได้ฯลฯ
3. “แม่บ้าน” คิดว่าการขึ้นค่าน้ำประปาในครั้งนี้จะส่งผลให้สินค้าขึ้นราคาหรือไม่?
อันดับที่ 1 ขึ้นราคา 67.90%
เพราะ เป็นปกติที่เวลาขึ้นค่าสาธารณูปโภคแล้วราคาสินค้าก็จะขึ้นตามด้วย,มีสินค้าหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 22.22%
เพราะ อาจไม่กระทบต่อการผลิตมากนัก,ขึ้นอยู่กับการควบคุมของรัฐบาลและจรรยาบรรณของผู้ค้า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ขึ้นราคา 9.88%
เพราะ ไม่น่าจะส่งผลถึงสินค้าอื่น ๆ ,ไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาสินค้าอื่น ฯลฯ
4. ถ้าขึ้นราคาค่าน้ำประปาแล้ว “แม่บ้าน” อยากให้ปรับปรุงอะไร?
อันดับที่ 1 ควรปรับปรุงคุณภาพความสะอาดของน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน/ให้น้ำประปาดื่มได้จริงๆ 45.65%
อันดับที่ 2 ปรับปรุงการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 23.91%
อันดับที่ 3 พัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น 16.30%
อันดับที่ 4 ระบบการจ่ายน้ำประปาให้มีแรงดันที่สูงขึ้น/ไหลแรงขึ้น 14.14%
5. “แม่บ้าน” คิดว่ารัฐบาล ควรจะหาทางออกอย่างไร? ให้กับประชาชน
อันดับที่ 1 มีมาตรการตรึงราคาน้ำประปาไม่ให้ขึ้นคล้ายการตรึงราคาน้ำมัน 37.41%
อันดับที่ 2 เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือปรับยกฐานเงินเดือนของประชาชนให้สูงขึ้น 24.07%
อันดับที่ 3 ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคา 18.89%
อันดับที่ 4 รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด 10.37%
อันดับที่ 5 ดูแลน้ำประปาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานให้เหมาะสมกับการขึ้นราคา 9.26%
--สวนดุสิตโพล--
-ดพ-