จากข่าวการแต่งกายวาบหวิวของ “พริตตี้” ในงานมอร์เตอร์โชว์ ที่แต่งกายแบบนุ่งน้อยห่มน้อยส่อในทางเพศ
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ล่อแหลม ไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง ซึ่งขณะเดียวกันทางกระทรวงวัฒนธรรมได้ออกมาจัดระ
เบียบสื่อล่อแหลมที่ส่อไปใน ด้านลามกอนาจาร และเป็นเหตุให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการแต่งกาย
ที่วาบหวิวของ “พริตตี้” “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,125 คน (ชาย 468 คน 41.60% หญิง 657 คน 58.40 %)โดยสำรวจระหว่างวันที่
28 | 29 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี “พริตตี้” ในงานมอเตอร์โชว์ แต่งตัววาบหวาม
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นกลยุทธ์ในการขายสินค้าและดึงดูดความสนใจของลูกค้า 29.21% 32.14% 30.67%
อันดับที่ 2 ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย/ภาพพจน์ของหญิงไทยเสื่อมลง 22.47% 32.74% 27.61%
อันดับที่ 3 เป็นการสร้างสีสันบรรยากาศให้คึกคักภายในงาน 27.53% 23.81% 25.67%
อันดับที่ 4 คิดว่าเป็นเรื่องปกติเพราะจัดงานทุกครั้งก็มีทุกครั้งอยู่แล้ว 20.79% 11.31% 16.05%
2. ประชาชนคิดว่า “พริตตี้” ในงานมอเตอร์โชว์แต่งกายวาบหวาม เหมาะสมหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เหมาะสม 28.39% 53.88% 41.14%
เพราะ เป็นการโชว์เรือนร่างมากกว่าการแสดงสินค้า,เป็นงานที่มีเด็กและเยาวชนไปร่วมงานด้วยเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉย ๆ 41.29% 33.79% 37.54%
เพราะ เป็นรูปแบบในการนำเสนอสินค้าของแต่ละบริษัท,เป็นสิทธิส่วนบุคคล ฯลฯ
อันดับที่ 3 เหมาะสม 30.32% 12.33% 21.32%
เพราะ เป็นแรงดึงดูดหรือจุดขายของแต่ละบริษัท,เป็นสิ่งที่ทำให้งานมีสีสันและน่าสนใจยิ่งขึ้น ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่า “พริตตี้” ในงานมอร์เตอร์โชว์ที่แต่งกายวาบหวามมีส่วนทำให้สินค้ามียอดขายเพิ่มขึ้นหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่มีส่วนทำให้เพิ่มขึ้น 41.93% 39.27% 40.60%
เพราะ ลูกค้าจะนิยมดูที่คุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์มากกว่า,เพื่อให้เกิดสีสันภายในงานเท่านั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.55% 29.68% 31.62%
เพราะ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและความพอใจของแต่ละบุคคล ฯลฯ
อันดับที่ 3 มีส่วนทำให้เพิ่มขึ้น 24.52% 31.05% 27.78%
เพราะ เป็นจุดเรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงานได้,ทำให้สินค้าเกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่า การแต่งกายของ “พริตตี้” เป็นการตั้งใจของเจ้าของรถยนต์ ที่ทำการโปรโมทสินค้า
โดยการทำให้ขัดต่อวัฒนธรรมไทย เพื่อที่จะสร้างประเด็นให้เป็นที่สนใจหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นการตั้งใจ 63.23% 69.86% 66.54%
เพราะ ต้องการสร้างจุดสนใจให้กับบริษัทของตนเอง,สร้างกระแสให้เป็นที่ดึงดูดผู้เข้าชมงาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 20.00% 18.73% 19.37%
เพราะ อาจจะให้ออกมาในแง่ของแฟชั่น,อาจต้องการเพิ่มสีสันภายในงานให้น่าสนใจเทียบเท่ากับรถยนต์ก็ได้ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เป็นการตั้งใจ 16.77% 11.41% 14.09%
เพราะ เป็นเพียงการโปรโมตสินค้ามากกว่า,สังคมไทยยังรับไม่ได้กับการแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก ฯลฯ
5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? ที่กระทรวงวัฒนธรรมจะควบคุมการแต่งกายของ “สาวพริตตี้”
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 44.87% 69.41% 57.14%
เพราะ จะได้ดูเป็นความสวยงามและเหมาะสมมากกว่าอนาจาร,ภาพพจน์ของเมืองไทยจะได้ไม่ถูกมองในแง่ลบ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 39.10% 14.61% 26.86%
เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป,อาจจะทำให้งานขาดสีสัน น่าเบื่อ หรือผู้เข้าชมงานน้อยลง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 16.03% 15.98% 16.00%
เพราะ อาจเป็นการจำกัดสิทธิส่วนตัวมากเกินไป, อาจมีผลกระทบต่อการทำงานของ “พริตตี้” ได้ ฯลฯ
6.ประชาชนอยากให้มีมาตรการควบคุมการแต่งกายของ “สาวพริตตี้” อย่างไร? จึงจะเหมาะสม
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีการควบคุมการแต่งกายของ “พริตตี้” ไม่ให้น่าเกลียดจนเกินไป 31.62% 53.67% 42.65%
อันดับที่ 2 ควรมีการแต่งกายให้เหมาะสมกับงานและไม่ขัดต่อความรู้สึกของผู้เข้าชมงาน 29.91% 22.76% 26.34%
อันดับที่ 3 การแต่งกายควรคำนึงถึงวัฒนธรรมไทย ไม่เน้นในเรื่องสัดส่วนจนเกินไป 35.05% 17.07% 26.05%
อันดับที่ 4 ควรสร้างภาพของ “พริตตี้” ว่าเป็นผู้ประชาสัมพันธ์สินค้า มากกว่าโชว์รูปร่าง 3.42% 6.50% 4.96%
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ล่อแหลม ไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง ซึ่งขณะเดียวกันทางกระทรวงวัฒนธรรมได้ออกมาจัดระ
เบียบสื่อล่อแหลมที่ส่อไปใน ด้านลามกอนาจาร และเป็นเหตุให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการแต่งกาย
ที่วาบหวิวของ “พริตตี้” “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,125 คน (ชาย 468 คน 41.60% หญิง 657 คน 58.40 %)โดยสำรวจระหว่างวันที่
28 | 29 มีนาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี “พริตตี้” ในงานมอเตอร์โชว์ แต่งตัววาบหวาม
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นกลยุทธ์ในการขายสินค้าและดึงดูดความสนใจของลูกค้า 29.21% 32.14% 30.67%
อันดับที่ 2 ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย/ภาพพจน์ของหญิงไทยเสื่อมลง 22.47% 32.74% 27.61%
อันดับที่ 3 เป็นการสร้างสีสันบรรยากาศให้คึกคักภายในงาน 27.53% 23.81% 25.67%
อันดับที่ 4 คิดว่าเป็นเรื่องปกติเพราะจัดงานทุกครั้งก็มีทุกครั้งอยู่แล้ว 20.79% 11.31% 16.05%
2. ประชาชนคิดว่า “พริตตี้” ในงานมอเตอร์โชว์แต่งกายวาบหวาม เหมาะสมหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เหมาะสม 28.39% 53.88% 41.14%
เพราะ เป็นการโชว์เรือนร่างมากกว่าการแสดงสินค้า,เป็นงานที่มีเด็กและเยาวชนไปร่วมงานด้วยเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉย ๆ 41.29% 33.79% 37.54%
เพราะ เป็นรูปแบบในการนำเสนอสินค้าของแต่ละบริษัท,เป็นสิทธิส่วนบุคคล ฯลฯ
อันดับที่ 3 เหมาะสม 30.32% 12.33% 21.32%
เพราะ เป็นแรงดึงดูดหรือจุดขายของแต่ละบริษัท,เป็นสิ่งที่ทำให้งานมีสีสันและน่าสนใจยิ่งขึ้น ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่า “พริตตี้” ในงานมอร์เตอร์โชว์ที่แต่งกายวาบหวามมีส่วนทำให้สินค้ามียอดขายเพิ่มขึ้นหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่มีส่วนทำให้เพิ่มขึ้น 41.93% 39.27% 40.60%
เพราะ ลูกค้าจะนิยมดูที่คุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์มากกว่า,เพื่อให้เกิดสีสันภายในงานเท่านั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 33.55% 29.68% 31.62%
เพราะ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและความพอใจของแต่ละบุคคล ฯลฯ
อันดับที่ 3 มีส่วนทำให้เพิ่มขึ้น 24.52% 31.05% 27.78%
เพราะ เป็นจุดเรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงานได้,ทำให้สินค้าเกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่า การแต่งกายของ “พริตตี้” เป็นการตั้งใจของเจ้าของรถยนต์ ที่ทำการโปรโมทสินค้า
โดยการทำให้ขัดต่อวัฒนธรรมไทย เพื่อที่จะสร้างประเด็นให้เป็นที่สนใจหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นการตั้งใจ 63.23% 69.86% 66.54%
เพราะ ต้องการสร้างจุดสนใจให้กับบริษัทของตนเอง,สร้างกระแสให้เป็นที่ดึงดูดผู้เข้าชมงาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 20.00% 18.73% 19.37%
เพราะ อาจจะให้ออกมาในแง่ของแฟชั่น,อาจต้องการเพิ่มสีสันภายในงานให้น่าสนใจเทียบเท่ากับรถยนต์ก็ได้ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เป็นการตั้งใจ 16.77% 11.41% 14.09%
เพราะ เป็นเพียงการโปรโมตสินค้ามากกว่า,สังคมไทยยังรับไม่ได้กับการแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก ฯลฯ
5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? ที่กระทรวงวัฒนธรรมจะควบคุมการแต่งกายของ “สาวพริตตี้”
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 44.87% 69.41% 57.14%
เพราะ จะได้ดูเป็นความสวยงามและเหมาะสมมากกว่าอนาจาร,ภาพพจน์ของเมืองไทยจะได้ไม่ถูกมองในแง่ลบ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 39.10% 14.61% 26.86%
เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป,อาจจะทำให้งานขาดสีสัน น่าเบื่อ หรือผู้เข้าชมงานน้อยลง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 16.03% 15.98% 16.00%
เพราะ อาจเป็นการจำกัดสิทธิส่วนตัวมากเกินไป, อาจมีผลกระทบต่อการทำงานของ “พริตตี้” ได้ ฯลฯ
6.ประชาชนอยากให้มีมาตรการควบคุมการแต่งกายของ “สาวพริตตี้” อย่างไร? จึงจะเหมาะสม
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีการควบคุมการแต่งกายของ “พริตตี้” ไม่ให้น่าเกลียดจนเกินไป 31.62% 53.67% 42.65%
อันดับที่ 2 ควรมีการแต่งกายให้เหมาะสมกับงานและไม่ขัดต่อความรู้สึกของผู้เข้าชมงาน 29.91% 22.76% 26.34%
อันดับที่ 3 การแต่งกายควรคำนึงถึงวัฒนธรรมไทย ไม่เน้นในเรื่องสัดส่วนจนเกินไป 35.05% 17.07% 26.05%
อันดับที่ 4 ควรสร้างภาพของ “พริตตี้” ว่าเป็นผู้ประชาสัมพันธ์สินค้า มากกว่าโชว์รูปร่าง 3.42% 6.50% 4.96%
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-