จากที่มีการอภิปรายในสภา กรณี การแก้ไขรัฐธรรมนูญของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ในวันที่ 23-24 ก.พ. 55 ที่ผ่านมา ได้มีทั้งผู้ที่ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนที่ติดตามข่าวดังกล่าว “สวนดุ สิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่สนใจติดตามการประชุมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งใช้วิธีการลงภาค สนามและโทรศัพท์สัมภาษณ์ โดยสอบถามตลอดทั้งวันของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 741 คน สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 การแก้ไข รธน.ดังกล่าวมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกันของกลุ่มต่างๆ 38.88% อันดับ 2 การเมืองวันนี้คงต้องติดตามต่อไป และหวังว่าการแก้ไข รธน.นี้จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 22.57% อันดับ 3 เป็นไปตามที่คาด คงต้องยอมรับกับผลที่ออกมา รัฐบาลมีเสียงข้างมากย่อมได้เปรียบเป็นธรรมดา 15.61% อันดับ 4 ยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้มากนัก และคิดว่ายังมีประชาชนอีกมากที่ยังไม่รู้ถึงข้อดี-ข้อเสียของการแก้ รธน. 14.20% อันดับ 5 เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย 8.74% 2. จากการติดตามการอภิปราย ประชาชนคิดว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 48.11% เพราะ ข้อมูลยังไม่เพียงพอและไม่ชัดเจน แต่ละฝ่ายต่างพยายามพูดชักจูงให้ได้ประโยชน์กับฝ่ายของตนเอง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่น่าจะแก้ไข 27.57% เพราะ กลัวเกิดเหตุความวุ่นวาย ทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง ฯลฯ อันดับ 3 น่าจะแก้ไข 24.32% เพราะ ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง การเมืองและประเทศชาติจะได้พัฒนาดีขึ้น ฯลฯ 3. ข้อดี/จุดเด่น - ข้อเสียที่ควรปรับปรุง จากการติดตามการอภิปรายในสภา กรณี “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ข้อดี /จุดเด่น (%) ข้อเสียที่ควรปรับปรุง (%) ได้รับรู้และเข้าใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากขึ้น 42.20 พฤติกรรมนักการเมือง โดยเฉพาะในช่วงก่อนจะปิดการประชุม 61.29 ได้เห็นบทบาท ความรู้ความสามารถของผู้อภิปรายทั้ง 2 ฝ่าย 39.37 การประท้วงและการตอบโต้ที่ไม่สุภาพของทั้ง 2 ฝ่าย 20.17 เป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจของประชาชน 18.43 การไม่เคารพต่อที่ประชุมและประธาน 18.54 4. ประชาชนคิดว่า “การแก้รัฐธรรมนูญ” มีผลกระทบทางด้านการเมืองมากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 ค่อนข้างมีผลกระทบ 43.57% เพราะ ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ละฝ่ายไม่ยอมฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน มุ่งเอาชนะมากเกินไป ฯลฯ อันดับ 2 มีผลกระทบมาก 38.92% เพราะ มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เป็นเกมการเมืองที่เอาชนะคะคานกัน ต่างฝ่ายต่างใส่ร้ายกัน ฯลฯ อันดับ 3 มีผลกระทบน้อย 10.74% เพราะ เป็นการแก้ไขตามระบอบประชาธิปไตย ทุกคนน่าจะฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ฯลฯ อันดับ 4 ไม่มีผลกระทบ 6.77% เพราะ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญต้องแก้ไขได้ ฯลฯ --สวนดุสิตโพลล์--