จากที่มีการเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าไปทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินได้ฟรี เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา และได้
เกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้นเนื่องจากระบบกลไกลของเครื่องยนต์มีการผิดพลาดจนทำให้ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดความแตกตื่นและ
ไม่มั่นใจต่อมาตรการรักษาความปลอดภัย “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่
พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,106 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายน 2547 สรุปผล
ได้ดังนี้
1. “ประชาชน” จะใช้บริการของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” หรือไม่?
อันดับที่ 1 ใช้ 80.95%
เพราะ อยากลองของใหม่,สะดวกสบายและรวดเร็วเวลาเดินทางไปทำธุระหรือทำงาน,เป็นอีกทางเลือกในการเดินทาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ใช้ 10.72%
เพราะ ขึ้นรถเมล์ประหยัดกว่า,มีรถส่วนตัวใช้อยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 8.33%
เพราะ ส่วนใหญ่เวลาเดินทางไปทำงานใช้รถเมล์สะดวกกว่า,ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่ที่จะไปมากกว่า ฯลฯ
2. “ประชาชน” มีความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย ของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” มากน้อยเพียงใด?
อันดับที่ 1 ค่อนข้างมั่นใจ 60.22%
เพราะ มีวิศวกรชาวต่างชาติเป็นผู้ดูแลเองคงมีการผิดพลาดได้ยาก,มีมาตรการรองรับเป็นอย่างดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยมั่นใจ 27.27%
เพราะ จากการทดลองใช้ครั้งแรกก็มีข้อผิดพลาดแล้ว,กลัวมีการทรุดตัวของพื้นดิน ฯลฯ
อันดับที่ 3 มั่นใจมาก 10.23%
เพราะ คิดว่าน่าจะมีระบบป้องกันที่มีมาตรฐานที่ดีอยู่แล้ว,ก่อนที่จะเริ่มโครงการนี้น่าจะมีการศึกษามาดีแล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่มั่นใจเลย 2.28%
เพราะ กลัวเกิดความผิดพลาดในเทคนิคต่างๆ,การให้ความช่วยเหลือเวลาเกิดอุบัติเหตุอาจยากลำบาก ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน” มีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่?
อันดับที่ 1 คุ้มค่า 56.32%
เพราะ สามารถดึงดูดให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาใช้บริการทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น,ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 35.63%
เพราะ ต้องรอดูจากจำนวนผู้ที่มาใช้บริการก่อนว่ามากน้อยเพียงใด,ผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินอาจเป็นเฉพาะกลุ่ม ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่คุ้มค่า 8.05%
เพราะ ค่าใช้จ่ายในการสร้างค่อนข้างสูงคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะได้ทุนคืน,ควรปรับปรุงการบริการของรถเมล์จะดีกว่า ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่า “โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน” จะช่วยลดปัญหาการจราจรได้หรือไม่?
อันดับที่ 1 ได้ 78.40%
เพราะ การเดินทางสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นอาจทำให้มีผู้นิยมใช้บริการเพิ่มขึ้น,มีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเดินทาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 12.51%
เพราะ ปริมาณรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นทุกปี,ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในความปลอดภัยและการบริการว่าจะสามารถดึงดูดให้ประชาชน
มาใช้บริการมากน้อยพียงใด ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ได้ 9.09%
เพราะ ผู้ที่ใช้บริการอาจเป็นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น,เส้นทางเดินรถไม่ได้ขยายมากมายนัก,ผู้ใช้รถส่วนตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ฯลฯ
5. “ประชาชน” คาดหวังต่อการบริการของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” อย่างไร?
อันดับที่ 1 มีความปลอดภัยสูง ระบบการป้องกันดี/มีมาตรการที่รัดกุมกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ผิดพลาด 33.70%
อันดับที่ 2 ได้รับความสะดวก รวดเร็วจากการบริการ 23.91%
อันดับที่ 3 ราคาค่าบริการมีความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป 17.39%
อันดับที่ 4 มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ/ให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเป็นอย่างดี 14.13%
อันดับที่ 5 มีการเพิ่มขยายเส้นทางให้มากขึ้นจะได้เป็นการรองรับผู้โดยสารและลดปัญหาจราจร 10.87%
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-
เกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้นเนื่องจากระบบกลไกลของเครื่องยนต์มีการผิดพลาดจนทำให้ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดความแตกตื่นและ
ไม่มั่นใจต่อมาตรการรักษาความปลอดภัย “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่
พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,106 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายน 2547 สรุปผล
ได้ดังนี้
1. “ประชาชน” จะใช้บริการของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” หรือไม่?
อันดับที่ 1 ใช้ 80.95%
เพราะ อยากลองของใหม่,สะดวกสบายและรวดเร็วเวลาเดินทางไปทำธุระหรือทำงาน,เป็นอีกทางเลือกในการเดินทาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ใช้ 10.72%
เพราะ ขึ้นรถเมล์ประหยัดกว่า,มีรถส่วนตัวใช้อยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 8.33%
เพราะ ส่วนใหญ่เวลาเดินทางไปทำงานใช้รถเมล์สะดวกกว่า,ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานที่ที่จะไปมากกว่า ฯลฯ
2. “ประชาชน” มีความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย ของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” มากน้อยเพียงใด?
อันดับที่ 1 ค่อนข้างมั่นใจ 60.22%
เพราะ มีวิศวกรชาวต่างชาติเป็นผู้ดูแลเองคงมีการผิดพลาดได้ยาก,มีมาตรการรองรับเป็นอย่างดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยมั่นใจ 27.27%
เพราะ จากการทดลองใช้ครั้งแรกก็มีข้อผิดพลาดแล้ว,กลัวมีการทรุดตัวของพื้นดิน ฯลฯ
อันดับที่ 3 มั่นใจมาก 10.23%
เพราะ คิดว่าน่าจะมีระบบป้องกันที่มีมาตรฐานที่ดีอยู่แล้ว,ก่อนที่จะเริ่มโครงการนี้น่าจะมีการศึกษามาดีแล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่มั่นใจเลย 2.28%
เพราะ กลัวเกิดความผิดพลาดในเทคนิคต่างๆ,การให้ความช่วยเหลือเวลาเกิดอุบัติเหตุอาจยากลำบาก ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน” มีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่?
อันดับที่ 1 คุ้มค่า 56.32%
เพราะ สามารถดึงดูดให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาใช้บริการทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น,ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 35.63%
เพราะ ต้องรอดูจากจำนวนผู้ที่มาใช้บริการก่อนว่ามากน้อยเพียงใด,ผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินอาจเป็นเฉพาะกลุ่ม ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่คุ้มค่า 8.05%
เพราะ ค่าใช้จ่ายในการสร้างค่อนข้างสูงคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะได้ทุนคืน,ควรปรับปรุงการบริการของรถเมล์จะดีกว่า ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่า “โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน” จะช่วยลดปัญหาการจราจรได้หรือไม่?
อันดับที่ 1 ได้ 78.40%
เพราะ การเดินทางสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นอาจทำให้มีผู้นิยมใช้บริการเพิ่มขึ้น,มีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเดินทาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 12.51%
เพราะ ปริมาณรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นทุกปี,ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในความปลอดภัยและการบริการว่าจะสามารถดึงดูดให้ประชาชน
มาใช้บริการมากน้อยพียงใด ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ได้ 9.09%
เพราะ ผู้ที่ใช้บริการอาจเป็นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น,เส้นทางเดินรถไม่ได้ขยายมากมายนัก,ผู้ใช้รถส่วนตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ฯลฯ
5. “ประชาชน” คาดหวังต่อการบริการของ “รถไฟฟ้าใต้ดิน” อย่างไร?
อันดับที่ 1 มีความปลอดภัยสูง ระบบการป้องกันดี/มีมาตรการที่รัดกุมกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ผิดพลาด 33.70%
อันดับที่ 2 ได้รับความสะดวก รวดเร็วจากการบริการ 23.91%
อันดับที่ 3 ราคาค่าบริการมีความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป 17.39%
อันดับที่ 4 มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ/ให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเป็นอย่างดี 14.13%
อันดับที่ 5 มีการเพิ่มขยายเส้นทางให้มากขึ้นจะได้เป็นการรองรับผู้โดยสารและลดปัญหาจราจร 10.87%
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-