สวนดุสิตโพลล์: “ความเชื่อมั่น” ของ“คนไทย” ต่อ “ฝ่ายรัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 19, 2012 07:43 —สวนดุสิตโพล

ในสภาพปัจจุบัน ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การทำงานของรัฐบาลและฝ่ายค้านทำได้ อย่างบรรลุผล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและใช้เพื่อ

ประกอบการตัดสินใจในการทำงานของทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน

ทั่วประเทศ จำนวน 3,339 คน ระหว่างวันที่ 10 -17 มีนาคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “การเมืองไทย” ณ วันนี้ ในภาพรวม
อันดับ           “ความเชื่อมั่น” ต่อ “การเมืองไทย”          ภาพรวม           กทม.          กลาง           เหนือ          อิสาน         ใต้
1          ไม่ค่อยเชื่อมั่น                                44.36          48.44          40.36          38.30          42.82     56.37
เพราะ  การเมืองไทยในวันนี้มีแต่ความขัดแย้งและหวังประโยชน์ ,มีหลายเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ ฯลฯ
2          ไม่เชื่อมั่น                                   23.40          32.42          24.73          12.72          23.35     26.51
เพราะ   รู้สึกเบื่อการเมืองมากขึ้นกว่าเดิม ไม่คาดหวังกับการเมืองบ้านเราอยู่แล้ว ,นักการเมืองขาดความสามัคคี แตกแยก ฯลฯ
3          ค่อนข้างเชื่อมั่น                               19.64          13.28          25.27          25.90          18.86     13.57
เพราะ รัฐบาลพยายามที่จะแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ต้องอาศัยเวลาค่อยเป็นค่อยไป การเมืองเป็นเรื่องสำคัญที่สังคมต่างจับตามอง ฯลฯ
4          เชื่อมั่นมาก                                  12.60           5.86           9.64          23.08          14.97      3.55
เพราะ เชื่อมั่นในศักยภาพและความเป็นผู้นำของนายกฯ รัฐบาลมีเสถียรภาพ,ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ฯลฯ

2. เรื่องที่ประชาชน “เชื่อมั่น” และ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อ  “การเมืองไทย”
          เรื่องที่เชื่อมั่น                    (%)                     เรื่องที่ไม่เชื่อมั่น                       (%)
ความเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี                59.96          การสร้างความปรองดองทางการเมือง                46.68
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน     20.78          พฤติกรรมของนักการเมือง /คุณธรรมจริยธรรม          33.77
การแก้ไขปัญหาต่างๆของสังคม                 19.26          การแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชน/ราคาสินค้าแพง 19.55

3.  ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “เศรษฐกิจไทย” ณ วันนี้ ในภาพรวม
อันดับ           “ความเชื่อมั่น” ต่อ “เศรษฐกิจไทย”          ภาพรวม          กทม.          กลาง           เหนือ          อิสาน          ใต้
1          ไม่ค่อยเชื่อมั่น                               43.01          46.46          50.65          35.27          36.09      57.63
เพราะ ทุกวันนี้ประชาชนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าอุปโภค บริโภคมีราคาแพง ,การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศของรัฐบาล ฯลฯ
2          ค่อนข้างเชื่อมั่น                              34.66          29.72          31.91          52.01          33.27      23.45
เพราะ รัฐบาลมีทีมเศรษฐกิจที่มีความรู้ความสามารถ ภาคธุรกิจ เอกชนมีศักยภาพ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวและดีขึ้น ฯลฯ
3          ไม่เชื่อมั่น                                  14.71          18.90          12.06           4.67          19.28      15.48
เพราะ  มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เช่น ปัญหาน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา การเมือง และผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ฯลฯ
4          เชื่อมั่นมาก                                  7.62           4.92           5.38           8.05          11.36       3.44
เพราะ การเดินทางไปต่างประเทศของนายกฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ประเทศไทยมีความพร้อมในทุกๆด้าน ฯลฯ

4. เรื่องที่ประชาชน “เชื่อมั่น” และ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อ  “เศรษฐกิจไทย”
          เรื่องที่เชื่อมั่น                      (%)                     เรื่องที่ไม่เชื่อมั่น                          (%)
การส่งเสริมธุรกิจการค้าและการลงทุน             53.40          การแก้ปัญหาค่าครองชีพ /ราคาสินค้าแพง                 60.35
การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว                   23.67          ความโปร่งใสในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ       25.00
การกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ขึ้นเงินเดือน ตั้งกองทุนกู้ยืม 22.93          การดูแลเรื่องการส่งออก-นำเข้าทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 14.65

5.  ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “สภาพสังคมไทย” ณ วันนี้ ในภาพรวม
อันดับ           “ความเชื่อมั่น” ต่อ “สภาพสังคมไทย”          ภาพรวม           กทม.          กลาง           เหนือ           อิสาน         ใต้
1          ไม่ค่อยเชื่อมั่น                                 49.09          50.21          45.70          63.59          41.55      50.89
เพราะ สังคมไทยทุกวันนี้มีแต่ความแตกแยก ขาดความสามัคคี สังคมจะสงบสุขได้ต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฯลฯ
2          ค่อนข้างเชื่อมั่น                                24.25          25.31          30.35          20.71          26.69      14.44
เพราะ  คนไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานจิตใจดี หากภาครัฐและประชาชนให้ความร่วมมือ หันมาดูแลเอาใจใส่ สังคมไทยก็จะน่าอยู่มากขึ้นฯลฯ
3          ไม่เชื่อมั่น                                    15.47          20.16          12.80          10.68          12.99      26.44
เพราะ สภาพสังคมไทยปัจจุบันเสื่อมโทรมลงมาก คนไทยยึดติดกับวัตถุ ค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ ขาดคุณธรรมจริยธรรม ห่างไกลศาสนา ฯลฯ
4          เชื่อมั่นมาก                                   11.19           4.32          11.15           5.02          18.77       8.23
เพราะ คนไทยมีความตระหนักและตื่นตัวในเรื่องของสังคมมากขึ้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการณรงค์และจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้กับสังคมอย่างแพร่หลาย ฯลฯ

6. เรื่องที่ประชาชน “เชื่อมั่น” และ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อ  “สภาพสังคมไทย”
          เรื่องที่เชื่อมั่น                 (%)                     เรื่องที่ไม่เชื่อมั่น                              (%)
การแก้ปัญหายาเสพติด                    52.77          ความสามัคคี ความปรองดองของคนในชาติ                    44.09
การแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตและการศึกษา   28.80          การมัวเมา ลุ่มหลง ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ/การใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด    39.53
การสืบสาน อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย      18.43          ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                         16.38

7.  ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “ฝ่ายรัฐบาล” ณ วันนี้ ในภาพรวม
อันดับ           “ความเชื่อมั่น” ต่อ “ฝ่ายรัฐบาล”          ภาพรวม           กทม.          กลาง           เหนือ          อิสาน           ใต้
1          ค่อนข้างเชื่อมั่น                             32.29          18.07          37.11          45.23          32.67       23.52
เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล มีพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและช่วยกันทำงาน ฯลฯ
2          ไม่ค่อยเชื่อมั่น                              28.58          34.09          30.86          19.39          24.48       42.64
เพราะ การดำเนินงานของรัฐบาลในบางเรื่องยังคงเป็นปัญหา,สิ่งที่รัฐบาลได้สัญญาไว้ยังไม่สามารถทำให้เห็นหรือสำเร็จเป็นรูปธรรมได้ ฯลฯ
3          ไม่เชื่อมั่น                                 23.43          36.96          21.09          12.92          22.24       28.79
เพราะ ยังคงมีเรื่องผลประโยชน์และความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ ,การเคลื่อนไหว ชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆยังมีให้เห็น ฯลฯ
4          เชื่อมั่นมาก                                15.70          10.88          10.94          22.46          20.61        5.05
เพราะ มั่นใจในตัวนายกรัฐมนตรี  ฝ่ายรัฐบาลมีสมาชิกที่เก่ง มีประสบการณ์และมีฝีมือ มีการดำเนินการตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ฯลฯ

8. เรื่องที่ประชาชน “เชื่อมั่น” และ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อ  “ฝ่ายรัฐบาล”
          เรื่องที่เชื่อมั่น          (%)                     เรื่องที่ไม่เชื่อมั่น                    (%)
เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี          58.29          การแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง                     49.30
การปราบปรามยาเสพติด           25.37          การแก้ปัญหาราคาน้ำมัน แก๊ส และพลังงาน          39.46
การเพิ่มค่าจ้างและเงินเดือน        16.34          การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น         11.24

9.  ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “ฝ่ายค้าน” ณ วันนี้ ในภาพรวม
อันดับ           “ความเชื่อมั่น” ต่อ “ฝ่ายค้าน”    ภาพรวม           กทม.          กลาง           เหนือ            อิสาน          ใต้
1          ไม่ค่อยเชื่อมั่น                      37.28          41.79          39.61          50.97          30.48          27.56
เพราะ การเมืองไทยเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ต่างฝ่ายต่างเอาดีใส่ตัวและกล่าวหากันไปมา ฯลฯ
2          ค่อนข้างเชื่อมั่น                     27.96          27.72          26.93          17.42          28.08          43.56
เพราะ ฝ่ายค้านมีประสบการณ์ทางการเมืองมานานและเคยเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ,ดูจากผลงานการอภิปรายที่ผ่านมา ฯลฯ
3          ไม่เชื่อมั่น                         25.14          24.31          23.56          29.03          28.73          13.78
เพราะ เมื่อครั้งเคยเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้านก็ทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกัน,การทำงานร่วมกันของพรรคฝ่ายค้านยังขาดความชัดเจน ฯลฯ
4          เชื่อมั่นมาก                         9.62           6.18           9.90           2.58          12.71          15.10
เพราะ มั่นใจในการทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านของนายอภิสิทธิ์ ,ฝ่ายค้านยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบและคานอำนาจรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ฯลฯ

10. เรื่องที่ประชาชน “เชื่อมั่น” และ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อ  “ฝ่ายค้าน”
          เรื่องที่เชื่อมั่น                   (%)                     เรื่องที่ไม่เชื่อมั่น                     (%)
การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล            59.33          การเล่นเกมทางการเมือง                       53.24
เชื่อมั่นในตัวผู้นำฝ่ายค้าน                    31.24          ค้านทุกเรื่อง โดยไม่มีจุดเน้นในสิ่งที่ควรจะค้าน        33.17
การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านอย่างเต็มความสามารถ    9.43          การควบคุมดูแลพฤติกรรมของนักการเมืองในฝ่ายค้าน    13.59

11.  ระหว่าง “ฝ่ายรัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ประชาชนเชื่อมั่นฝ่ายใดมากกว่ากัน
อันดับ           ความเชื่อมั่น “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน”      ภาพรวม          กทม.           กลาง          เหนือ          อิสาน          ใต้
1          เชื่อมั่น “ฝ่ายรัฐบาล” มากกว่า “ฝ่ายค้าน”          37.30          23.36          40.15          54.12          44.96       7.97
เพราะ ชื่นชอบและเชื่อมั่นในตัวนายกฯ มีทีมงานเก่งและมีความรู้ความสามารถ มีนโยบายที่ดีในการช่วยเหลือประชาชน ฯลฯ
2          ไม่เชื่อมั่นทั้ง 2 ฝ่าย                           31.83          46.52          31.47          21.00          30.49       34.48
เพราะ การเมืองไทยมีแต่ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท โจมตีกันไปมา แย่งชิงผลประโยชน์ สนใจแต่อำนาจ พวกพ้อง  ฯลฯ
3          เชื่อมั่น “ฝ่ายค้าน” มากกว่า “ฝ่ายรัฐบาล”          18.62          24.39          13.71          15.67          11.87       38.15
เพราะ ดูจากผลงานที่ผ่านมา การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง มีประสบการณ์ในการทำงาน ฯลฯ
4          เชื่อมั่นทั้ง 2 ฝ่ายพอๆกัน                        12.25           5.73          14.67           9.21          12.68       19.40
เพราะ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายคงอยากเห็นการเมืองไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น มีภาคประชาชน สื่อมวลชนคอยตรวจสอบ ฯลฯ

ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง
                           จำนวน            %                                         จำนวน           %
เพศ       ชาย              1,680          50.31          อาชีพ      ข้าราชการ /รัฐวิสาหกิจ   531          15.90
          หญิง              1,659          49.69                    พนักงานบริษัท           642          19.23
                                                                   ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย      463          13.87
อายุ       18 — 20 ปี          296           8.86                    รับจ้าง                502          15.03
          21 — 30 ปี        1,005          30.10                    เกษตรกร              626          18.75
          31 — 40 ปี          876          26.24                    นักเรียน/นักศึกษา        456          13.66
          41 — 50 ปี          770          23.06                    พ่อบ้าน/แม่บ้าน           77           2.31
          มากกว่า 50 ปี        392          11.74                    เกษียณอายุ              42           1.26

การศึกษา   ประถมศึกษา          417          12.49          ภูมิภาค     กรุงเทพ/ปริมณฑล        514          15.39
          มัธยมศึกษา          518           15.51                    ภาคกลาง              550          16.47
          ปวช./ปวส.          667          19.98                    ภาคเหนือ              637          19.08
          ปริญญาตรี          1,468          43.97                    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,156          34.62
          สูงกว่าปริญญาตรี       269           8.06                    ภาคใต้                482          14.44

รายได้     ต่ำกว่า 5,000 บ.     466          13.96
          5,001-10,000 บ.  1,188          35.58
          10,001-20,000 บ.   834          24.98
          20,001-30,000 บ.   452          13.54
          30,001-40,000 บ.   193           5.78
          40,001 บ.ขึ้นไป      206           6.17

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ