สวนดุสิตโพลล์: บทเรียนจาก “น้ำท่วม” ศึกษากรณี ชาวนครสวรรค์

ข่าวผลสำรวจ Tuesday March 20, 2012 09:47 —สวนดุสิตโพล

จากภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายด้านทรัพย์สินอย่างมาก แต่ที่หนักหนาสาหัสคือความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะคนต้นน้ำเจ้าพระยา “นครสวรรค์โพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงได้ศึกษา “กรณีชาวนครสวรรค์ กับบทเรียนจากน้ำท่วมใหญ่” จากประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ทุกอำเภอที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 1,056 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13-19 มีนาคม 2555 สรุปประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

1. สิ่งที่ “ชาวนครสวรรค์” ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา
อันดับ 1           การมีสติ การรู้จักระมัดระวังและการเตรียมพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมให้มากขึ้น                    48.02%
อันดับ 2          ความมีน้ำใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนนครสวรรค์และจากคนไทยทั่วประเทศ                  38.17%
อันดับ 3          น้ำท่วมก่อให้เกิดการสูญทั้งเสียชีวิตและทรัพย์สิน /ประเทศชาติและเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย           8.81%
อันดับ 4          จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ยังมีคนที่เห็นแก่ตัวหาประโยชน์กับผู้ประสบภัย                             5.00%

2.  จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านไปทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของ “ชาวนครสวรรค์” เปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร?
อันดับ 1           เปลี่ยนไป          56.49%
เพราะ มีความเป็นอยู่อย่างลำบาก ต้องนำเงินที่มีไปซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย ,รู้สึกกังวลและต้องมีการเตรียมพร้อมมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2          เหมือนเดิม          43.51%
เพราะ จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ใช้ชีวิตตามปกติ ยังอาศัยอยู่ที่เดิม ไม่มีการย้ายออกไปที่อื่น ฯลฯ

3.  ใครหรือหน่วยงานใด? ที่ “ชาวนครสวรรค์” คิดว่ามีส่วนสำคัญมากที่สุดในการช่วยเหลือป้องกันน้ำท่วม
อันดับ 1           ส่วนราชการในท้องถิ่น              23.86%
เพราะ  เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ท้องถิ่นมีความใกล้ชิดประชาชน รับรู้ปัญหาได้ดี เข้าถึงชุมชนได้รวดเร็ว ฯลฯ
อันดับ 2          ชาวนครสวรรค์                    23.42%
เพราะ ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจสามารถเอาชนะทุกปัญหาได้ ผู้ประสบภัยต่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ฯลฯ
อันดับ 3          ส่วนราชการในจังหวัด               20.48%
เพราะ เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ สามารถสั่งการไปยังท้องถิ่นได้โดยตรง ฯลฯ
อันดับ 4          รัฐบาล                          19.06%
เพราะ มีอำนาจในการตัดสินใจ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในทุกพื้นที่ ฯลฯ
อันดับ 5          ผู้นำชุมชน                        10.57%
เพราะ  เป็นที่พึ่งและเป็นที่รู้จักดีของชาวบ้าน มีความใกล้ชิดและเข้าใจถึงปัญหา เป็นตัวแทนในการเรียกร้องสิทธิให้กับคนในชุมชน ฯลฯ
อันดับ 6          ทุกๆคน ทุกๆฝ่ายร่วมมือกัน             2.61%

4.  ความวิตกกังวลของ “ชาวนครสวรรค์” เกี่ยวกับน้ำท่วมในปีนี้ (พ.ศ.2555)
อันดับ 1           กังวล                          55.05%
เพราะ ยังไม่เห็นแนวทางป้องกันน้ำท่วมที่ชัดเจน ไม่รู้ว่าในปีนี้น้ำจะท่วมอีกหรือไม่ ,ค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่กังวล                         44.95%
เพราะ  เชื่อมั่นในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ,ทำใจไว้แล้ว มีประสบการณ์จากปีที่ผ่านมา ,มีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี ฯลฯ

5.  “ชาวนครสวรรค์” คิดว่าน้ำท่วมในปีนี้ (พ.ศ.2555) จะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1           น้อยกว่าปีที่แล้ว                   41.03%
เพราะ   หน่วยงานต่างๆมีมาตรการการป้องกันเป็นอย่างดี ,มีการขุดลอกคูคลอง ทำแนวคันกั้นน้ำ ,ไม่น่าจะเกิดน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่ผ่านมา ฯลฯ
อันดับ 2          มากกว่าปีที่แล้ว                    32.90%
เพราะ   ยังไม่เห็นมีการเตรียมการหรือหาแนวทางการป้องกันที่ชัดเจน มีหลายกระแสที่บอกว่าน้ำในปีนี้จะมีมากขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ
อันดับ 3          พอๆกัน                          26.07%
เพราะ  ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ

6.  วิธีป้องกันน้ำท่วมที่ดีที่สุดตามความคิดเห็นของ “ชาวนครสวรรค์” คือ
อันดับ 1          ความสามัคคี การร่วมแรงร่วมใจกันของทุกฝ่าย /การเตรียมพร้อมและหาแนวทางป้องกันน้ำท่วมในปีนี้    39.93%
อันดับ 2          การบริหารจัดการน้ำที่ดี  จัดระบบให้มีทางน้ำไหลผ่านได้สะดวก การขุดลอกคูคลอง ทำแนวคันกั้นน้ำ     38.49%
อันดับ 3          ประชาชนหาวิธีการป้องกันน้ำท่วมในบ้านของตนเอง การจัดเตรียม เคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง          19.20%
อันดับ 4          การมีสติ ทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น /ภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้                 2.38%

เปิดตัว “นครสวรรค์โพล”

“โพล” มีส่วนช่วยให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และยังทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นและกระตุ้นความรู้สึกของประชาชน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ก็มีความพร้อมที่จะทำโพลได้เช่นกัน ในระยะแรกเห็นว่าควรดำเนินการในจังหวัดทางภาคเหนือก่อน เพราะเป็นภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ทั้งนี้ความต้องการที่จะทำก็เพื่อกระจายความคิดเห็นของประชาชนไปสู่องค์กรทางการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

พลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์

นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

วัตถุประสงค์หลัก ก็คือ การรับรู้ปัญหาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และเรื่องอื่นๆ ที่จะสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในภูมิภาค โดยเฉพาะทางภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้น่าจะเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองหรือสังคมได้บ้าง ทั้งนี้จะต้องยึดหลักวิชาการและความเป็นกลางเป็นสิ่งสำคัญ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ