สวนดุสิตโพลล์: สร้างความปรองดองอย่างไร? จึงจะสำเร็จ

ข่าวผลสำรวจ Monday April 2, 2012 07:54 —สวนดุสิตโพล

** ประชาชนกว่าครึ่ง เห็นว่า การหันหน้าเข้าหากัน รู้จักให้อภัย มีสติ ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา ช่วยให้เกิดความปรองดองได้ แน่ !!! **

ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งและพยายามแสวงหาความปรองดอง ณ วันนี้ แต่ละฝ่ายต่างก็มีแนวความคิดที่หลากหลายเป็นของตนเอง โดย อ้างถึงความสงบสุขของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปรองดองครั้งนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงสอบถามความ คิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพโดยกระจายตาม 20 จังหวัดที่เป็นตัวแทนภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 2,184 คน ระหว่างวันที่ 25 - 31 มีนาคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชนกับแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ จากสังคมอยู่ในขณะนี้
อันดับ 1          เป็นแนวคิดที่ดีที่จะทำให้สังคมเกิดความสงบสุข คนในชาติปรองดอง สามัคคีแต่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือ
                และความตั้งใจดีจากทุกฝ่าย                                                                45.55%
อันดับ 2          คงเป็นไปได้ยาก หากนักการเมืองยังแตกแยก ทะเลาะกันอยู่เหมือนกับที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้                   35.49%
อันดับ 3          เป็นเกมการเมือง /เป็นการสร้างภาพของนักการเมือง                                             9.73%
อันดับ 4          แนวทางการสร้างความปรองดองครั้งนี้ควรจะดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายและยึดหลักฐาน
                ข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ                                                                      4.94%
อันดับ 5          เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ควรแก้ที่ตัวนักการเมืองซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหา                          4.29%

2.  สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ ประชาชนคิดว่ามาจากอะไร?
อันดับ 1          ความต้องการอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง                                            42.05%
อันดับ 2          ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การแบ่งพรรคแบ่งพวก /การใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล                       31.03%
อันดับ 3          การรับฟังข้อมูลต่างๆแค่ด้านเดียวหรือทางเดียว /การถูกครอบงำทางความคิดจากสื่อหรือตัวบุคคล           13.80%
อันดับ 4          นักการเมือง /พฤติกรรมของนักการเมือง                                                    9.35%
อันดับ 5          ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในด้านฐานะความเป็นอยู่และระดับการศึกษา เป็นต้น                          3.77%

3.  ประชาชนคิดว่าการสร้างความปรองดอง โดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทาง
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน  จะสำเร็จหรือไม่?
อันดับ 1          ไม่สำเร็จ              39.06%
เพราะ   หากทุกฝ่ายยังไม่เปิดใจยอมรับอย่างแท้จริง ,ต่างฝ่ายต่างมุ่งที่จะเอาชนะคะคานกัน  ,เป็นแค่เกมการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมา ฯลฯ
อันดับ 2          คงจะไม่สำเร็จ          37.22%
เพราะ   นักการเมือง อำนาจและผลประโยชน์เป็นต้นเหตุสำคัญของการแตกแยก ,มัวแต่นึกถึงตนเองเป็นสำคัญ  ฯลฯ
อันดับ 3          น่าจะสำเร็จ            19.62%
เพราะ   ดูจากความตั้งใจและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ,เป็นสิ่งที่คนในสังคมอยากเห็นการปรองดองเกิดขึ้นโดยเร็ว ฯลฯ
อันดับ 4          สำเร็จ                 4.10%
เพราะ   เชื่อมั่นในตัว พล.อ.สนธิ ,หากทุกฝ่ายมีจิตสำนึกและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ฯลฯ

4.  วิธีการสร้างความปรองดอง ในทัศนะของประชาชน
อันดับ 1          การหันหน้าเข้าหากัน รู้จักให้อภัย มีสติ ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา                    53.29%
อันดับ 2          การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสามัคคี ปรองดองตั้งแต่วัยเยาว์                     15.38%
อันดับ 3          มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง /รู้จักคิด วิเคราะห์และตัดสินใจ               14.82%
อันดับ 4          การเคารพกฎหมาย อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ /การบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม              10.76%
อันดับ 5          สื่อมวลชนจะต้องไม่นำเสนอข่าวสารที่นำมาซึ่งความแตกแยก /นำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์      5.75%

5.  ใคร? หรือหน่วยงานใด? ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะเข้ามาช่วยสร้างความปรองดองได้
อันดับ 1          ประชาชน คนไทยทุกคน                                                      30.37%
อันดับ 2          ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                                                      29.75%
อันดับ 3          ผู้ที่สังคมเชื่อถือ                                                            15.96%
อันดับ 4          รัฐบาลและนักการเมือง                                                      14.54%
อันดับ 5          กระทรวงที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดอง เช่น กระทรวงยุติธรรม
                กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น                    9.38%

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ