สวนดุสิตโพลล์: การสอบ O-NET/GAT/PAT ในสายตานักเรียน

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 3, 2012 09:22 —สวนดุสิตโพล

** เด็กให้ความสำคัญกับ O-NET/GAT/PAT **

แต่ “ติงข้อสอบยาก” และ “ไม่เห็นด้วย” ที่จะใช้ O-NET แทนคะแนนสอบปลายภาค

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณี การสอบ O-NET/GAT/PAT โดยการสำรวจเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย จำนวน 1,035 คน ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม — 2 เมษายน2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. นักเรียนให้ความสำคัญต่อการสอบต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด?

(1) การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต / O-NET)

อันดับ 1          ให้ความสำคัญมาก             63.40%
เพราะ  เด็กนักเรียนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามนโยบายที่กระทรวงศึกษาฯกำหนดเพื่อวัดระดับมาตรฐานการศึกษา ฯลฯ
อันดับ 2          ค่อนข้างให้ความสำคัญ          28.35%
เพราะ  เป็นการวัดระดับผลการเรียนและทดสอบความรู้จากความสามารถของเด็กเอง ฯลฯ
อันดับ 3          ไม่ค่อยให้ความสำคัญ            6.21%
เพราะ  เหมือนเป็นการทดสอบประเภทหนึ่ง ,การสอบที่ผ่านมายังมีปัญหา เช่น เรื่องข้อสอบและมาตรฐานในการสอบ ฯลฯ
อันดับ 4          ไม่ได้ให้ความสำคัญเลย          2.04%
เพราะ  ไม่เห็นด้วยกับการทดสอบนี้ การออกข้อสอบกับการนำผลคะแนนที่ได้ไปใช้ ยังไม่มีความชัดเจนพอ ฯลฯ

(2) การทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT)

อันดับ 1          ให้ความสำคัญมาก             64.94%
เพราะ  ต้องนำคะแนนที่ได้ไปใช้ต่อในระดับมหาวิทยาลัย ,เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป ฯลฯ
อันดับ 2          ค่อนข้างให้ความสำคัญ          25.53%
เพราะ  ทางโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ให้คำแนะนำและชี้แจงถึงเหตุผลของการสอบ ฯลฯ
อันดับ 3          ไม่ได้ให้ความสำคัญเลย          5.72%
เพราะ  เป็นความต้องการของผู้ใหญ่โดยไม่ถามความสมัครใจของเด็ก ฯลฯ
อันดับ 4          ไม่ค่อยให้ความสำคัญ            3.81%
เพราะ ไม่สามารถวัดผลได้อย่างแท้จริง รูปแบบการสอบจะต้องมีความหลากหลายมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ฯลฯ

(3) การทดสอบความถนัดทางวิชาการ /วิชาชีพ(PAT)

อันดับ 1          ให้ความสำคัญมาก             59.59%
เพราะ คะแนนที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาต่อและเป็นตัวที่บอกถึงอนาคตของเราได้ว่าจะไปในทิศทางใด ฯลฯ
อันดับ 2          ค่อนข้างให้ความสำคัญ          27.93%
เพราะ  เป็นตัวชี้วัดให้เห็นถึงความสามารถพิเศษ หรือความชำนาญเฉพาะด้านของนักเรียน ฯลฯ
อันดับ 3          ไม่ค่อยให้ความสำคัญ            6.40%
เพราะ  การสอบแบบปกติของทางโรงเรียนก็หนักพออยู่แล้ว และยังต้องมาทดสอบแบบทั่วประเทศอีก ฯลฯ
อันดับ 4          ไม่ได้ให้ความสำคัญเลย          6.08%
เพราะ  ไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะต้องยกเลิกหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบอีกหรือไม่ ฯลฯ

2. นักเรียนคิดว่าเพราะสาเหตุใด? การทดสอบ O-NET /GAT/PAT จึงได้คะแนนต่ำ

(1) สาเหตุที่ทำให้การทดสอบ (O-NET) คะแนนต่ำ

อันดับ 1          ข้อสอบยาก /เนื้อหาที่โรงเรียนสอนกับข้อสอบที่ออกมาไม่ตรงกัน                     70.29%
อันดับ 2          ตัวเด็กเองไม่เต็มที่กับการสอบ ไม่ตั้งใจอ่านหนังสือ ขาดการเอาใจใส่                25.94%
อันดับ 3          เวลาในการสอบมีน้อย ทำข้อสอบไม่ทัน ไม่มีเวลาพอที่จะทบทวนข้อสอบที่ทำไป            3.77%

(2) สาเหตุที่ทำให้การทดสอบ (GAT) คะแนนต่ำ

อันดับ 1          คำตอบในข้อสอบมีความเป็นไปได้เกือบทุกข้อ โจทย์หลอกเยอะ                      74.50%
อันดับ 2          ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ การทบทวนและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียน            22.50%
อันดับ 3          คำถามยาวเกินไปทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน                                        3.00%

(3) สาเหตุที่ทำให้การทดสอบ (PAT) คะแนนต่ำ

อันดับ 1          วิชาที่สอบเฉพาะทางยาก เน้นการคิดวิเคราะห์มากเกินไป                         77.07%
อันดับ 2          ในโรงเรียนเน้นวิธีการสอนแบบท่องจำมากกว่าให้เด็กหัดคิดวิเคราะห์เอง              20.54%
อันดับ 3          ข้อสอบเยอะ ทำไม่ทัน                                                    2.39%

3. นักเรียนคิดว่าควรปฏิบัติอย่างไร? การทดสอบ O-NET /GAT/PAT จึงได้คะแนนสูง

(1) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (O-NET) คะแนนสูง

อันดับ 1          ตัวเด็กเองต้องมีความตั้งใจในการทำข้อสอบ ทบทวนบทเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม          69.97%
อันดับ 2          ช่วงใกล้สอบ ทางโรงเรียนควรจัดให้มีการติวสำหรับเด็ก                          16.31%
อันดับ 3          ฝึกทำข้อสอบให้มากขึ้น โดยอาจค้นหาจากเว็บไซต์หรือสอบถามแนวทางจากรุ่นพี่          13.72%

(2) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (GAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาของข้อสอบ ค่อยๆอ่าน ไม่รีบร้อน                   64.50%
อันดับ 2          โรงเรียนควรปรับวิธีการสอน นำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทั่วไปมาสอนเพิ่มเติม        19.08%
อันดับ 3          หน่วยงานที่ออกข้อสอบควรออกข้อสอบที่ตรงกับเนื้อหาที่เด็กเรียนมาจากในห้องเรียน       16.42%

(3) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (PAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          ตัวเด็กเองต้องขยัน ตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือ หมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ           67.52%
อันดับ 2          ทางโรงเรียนควรเชิญเจ้าหน้าที่ของ สทศ. มาให้คำแนะนำหรือการเตรียมตัวก่อนสอบ     18.31%
อันดับ 3          ต้องฝึกทำข้อสอบเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้นโดยเฉพาะในวิชาที่เลือกสอบ                 14.17%

4. โรงเรียนควรปฏิบัติอย่างไร? การทดสอบ O-NET /GAT/PAT จึงได้คะแนนสูง

(1) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (O-NET) คะแนนสูง

อันดับ 1          ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียน                       67.53%
อันดับ 2          ตัวครูเองควรทุ่มเท สละเวลาให้กับเด็กมากกว่านี้ /มีความรู้ความสามารถ             25.83%
อันดับ 3          ทางโรงเรียนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของการสอบที่ชัดเจนและตรงเป้าหมาย    6.64%

(2) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (GAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          ทางโรงเรียนต้องหาข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่เน้นการคิดวิเคราะห์มาให้เด็กทำ            66.17%
อันดับ 2          โรงเรียนต้องพัฒนา ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับการสอบ                  22.89%
อันดับ 3          ทางโรงเรียนจะต้องกระตุ้น สนับสนุนให้เด็กเห็นถึงความสำคัญของการสอบ             10.94%

(3) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (PAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียน                       67.23%
อันดับ 2          เชิญผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการสอบมาพูดให้ฟัง เช่น รุ่นพี่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   22.92%
อันดับ 3          สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนหรือในโรงเรียนให้เด็กเกิดความสนใจในการสอบ            9.85%

5. กระทรวงศึกษาฯ และ สทศ.ควรปฏิบัติอย่างไร? การทดสอบ O-NET /GAT/PAT จึงได้คะแนนสูง

(1) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (O-NET) คะแนนสูง

อันดับ 1          ออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน                                   47.63%
อันดับ 2          ควรมีนโยบายหรือมาตรฐานในการสอบให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน           42.32%
อันดับ 3          การนำแนวข้อสอบหรือข้อสอบที่ผ่านมาให้นักเรียนลองทำ                            10.05%

(2) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (GAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          ออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน                                     59.39%
อันดับ 2          จำนวนข้อสอบ โจทย์ที่ถามควรมีความเหมาะสมกับเวลาที่กำหนด ให้เด็กมีเวลาทบทวนข้อสอบ 33.67%
อันดับ 3          เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการสอบให้มากขึ้น                          6.94%

(3) วิธีที่ทำให้การทดสอบ (PAT) คะแนนสูง

อันดับ 1          ออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน / ไม่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์มากเกินไป       56.03%
อันดับ 2          การบริการด้านข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่การสอบ                   37.35%
อันดับ 3          มีข้อสอบให้ฝึกทำและสามารถดาวน์โหลดได้ง่าย                                   6.62%

6. นักเรียนคิดอย่างไร? กรณีที่มีกระแสว่าอยากจะให้คะแนนสอบ (O-NET) แทนคะแนนสอบปลายภาค ม.3-ม.6
อันดับ 1          ไม่เห็นด้วย          73.86%
เพราะ ข้อสอบโอเน็ตยากกว่าข้อสอบปลายภาค ,ข้อสอบไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน ,กลัวสอบตก ฯลฯ
อันดับ 2          เห็นด้วย            26.14%
เพราะ เป็นการสอบระดับชาติที่วัดคุณภาพการศึกษาไทย ,เด็กทุกคนมีโอกาสและมีสิทธิเท่าเทียมกัน ,จะได้เตรียมตัวสอบได้ถูก ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ