จากที่ฝ่ายค้านกำลังจะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งขณะนี้ฝ่ายค้านยังมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
เพื่อให้การอภิปรายมีน้ำหนัก และมีหลักฐานที่สามารถยืนยันการกระทำผิดต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงและตัด
สินใจได้ว่าควรจะให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลชุดนี้ได้มากน้อยเพียงใด“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เกี่ยวกับความสนใจต่อการ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,088 คน
(ชาย 412 คน 37.87% หญิง 676 คน 62.13%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 | 13 พฤษภาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” สนใจข่าวการที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านมากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างสนใจ 29.13% 36.63% 32.88%
เพราะ รัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติไม่ไว้วางใจในการอภิปรายครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว,
ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนนั้นล้วนแต่เป็นคนใกล้ชิดของนายกฯ ทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยสนใจ 24.27% 21.51% 22.89%
เพราะ เรื่องที่เปิดอภิปรายเคยได้ยินข่าวคราวมาก่อนหน้านี้บ้างแล้ว,อยากเห็นความสามัคคีของทั้ง 2 ฝ่ายในการพัฒนาประเทศชาติ
บ้านเมืองมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 สนใจมาก 26.21% 19.19% 22.70%
เพราะ ประชาชนจะได้รับทราบข้อเท็จจริงและสามารถใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 17.48% 16.28% 16.88%
เพราะ เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่สนใจ 2.91% 6.39% 4.65%
เพราะ การเมืองเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนธรรมดาทั่วไปคงจะเข้าใจหรือรับรู้ข้อเท็จจริงได้ยาก ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่า ณ เวลานี้สมควรเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือยัง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สมควร 43.81% 54.44% 49.13%
เพราะ เพื่อเป็นการคานอำนาจของรัฐบาล,อำนาจในการตัดสินใจของรัฐบาลมีมากบางครั้งอาจไม่ละเอียดรอบคอบพอ,อยากเห็น
การทำงานที่โปร่งใสและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจริงๆฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่สมควร 29.52% 22.49% 26.00%
เพราะ ในช่วงนี้ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤติค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางภาคใต้,ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น,สินค้าอุปโภค บริโภค
มีราคาแพง,น่าจะหันมาร่วมมือกันแก้ปัญหามากกว่าฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 26.67% 23.07% 24.87%
เพราะ ขึ้นอยู่กับพรรคฝ่ายค้านที่จะพิจารณา ช่วงเวลานี้มีความเหมาะสมที่จะเปิดอภิปรายหรือไม่,เป็นเรื่องปกติของการเมือง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่าเรื่องที่ควรจะอภิปรายฝ่ายรัฐบาล คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหตุการณ์ทางภาคใต้ที่มีการสู้รบจนเกิดการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 32.98% 30.31% 31.65%
อันดับที่ 2 ความร่ำรวยผิดปกติของนักการเมืองต่างๆ 26.59% 21.21% 23.90%
อันดับที่ 3 ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 10.64% 27.27% 18.95%
อันดับที่ 4 ม็อบ กฟผ./การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 15.96% 18.18% 17.07%
อันดับที่ 5 การโยกย้ายตำแหน่งภายในกระทรวงศึกษาธิการ 13.83% 3.03% 8.43%
4. การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ “ถูกใจ” ประชาชน มากที่สุด คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สามารถแสดงข้อมูลที่กล่าวหาได้อย่างชัดเจนและหากมีภาพประกอบด้วยก็จะเป็นการดี 66.67% 29.17% 47.92%
อันดับที่ 2 ตรงประเด็น ไม่พูดนอกเรื่อง/เวลาที่ใช้ในการอภิปรายไม่มากเกินไป 22.22% 58.33% 40.27%
อันดับที่ 3 ลีลาการพูด น่าฟัง/ไม่ตะกุกตะกักเหมือนท่องมา 11.11% 12.50% 11.81%
5. การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประชาชน “ไม่ชอบ” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ/ชอบกล่าวพาดพิงผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง 50.00% 37.50% 43.75%
อันดับที่ 2 พูดนอกเรื่อง/อรัมภบทนานเกินไป/ใช้เวลาในการพูดนาน 38.46% 43.75% 41.11%
อันดับที่ 3 พูดโดยดูจากเอกสารที่เตรียมมา/พูดเหมือนอ่านฟังแล้วรู้สึกน่าเบื่อ 11.54% 18.75% 15.14%
6. ผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะทำให้สภาพการเมืองไทยเป็นอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมือนเดิม 51.46% 52.97% 52.21%
เพราะ รัฐบาลได้วางนโยบายและมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการทำงานแต่ละด้านอยู่แล้ว,ฐานคะแนนเสียงของรัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้านฯลฯ
อันดับที่ 2 ดีขึ้น 37.86% 39.29% 38.58%
เพราะ รมต.ที่ถูกกล่าวหาจะได้มีความรอบคอบและระมัดระวังในการทำงานของตนมากขึ้น,เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งแสดงผล
งานออกมาให้เห็นได้เร็วขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 แย่ลง 10.68% 7.71% 9.21%
เพราะ หากข้อมูลที่ฝ่ายค้านกล่าวหาเป็นเรื่องจริง จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและเกิดความไม่ไว้วางใจในรัฐบาล,ประชาชน
รู้สึกเบื่อการเมืองมากขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-
เพื่อให้การอภิปรายมีน้ำหนัก และมีหลักฐานที่สามารถยืนยันการกระทำผิดต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงและตัด
สินใจได้ว่าควรจะให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลชุดนี้ได้มากน้อยเพียงใด“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เกี่ยวกับความสนใจต่อการ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,088 คน
(ชาย 412 คน 37.87% หญิง 676 คน 62.13%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 | 13 พฤษภาคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” สนใจข่าวการที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านมากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างสนใจ 29.13% 36.63% 32.88%
เพราะ รัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติไม่ไว้วางใจในการอภิปรายครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว,
ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนนั้นล้วนแต่เป็นคนใกล้ชิดของนายกฯ ทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยสนใจ 24.27% 21.51% 22.89%
เพราะ เรื่องที่เปิดอภิปรายเคยได้ยินข่าวคราวมาก่อนหน้านี้บ้างแล้ว,อยากเห็นความสามัคคีของทั้ง 2 ฝ่ายในการพัฒนาประเทศชาติ
บ้านเมืองมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 สนใจมาก 26.21% 19.19% 22.70%
เพราะ ประชาชนจะได้รับทราบข้อเท็จจริงและสามารถใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 17.48% 16.28% 16.88%
เพราะ เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่สนใจ 2.91% 6.39% 4.65%
เพราะ การเมืองเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนธรรมดาทั่วไปคงจะเข้าใจหรือรับรู้ข้อเท็จจริงได้ยาก ฯลฯ
2. “ประชาชน” คิดว่า ณ เวลานี้สมควรเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือยัง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สมควร 43.81% 54.44% 49.13%
เพราะ เพื่อเป็นการคานอำนาจของรัฐบาล,อำนาจในการตัดสินใจของรัฐบาลมีมากบางครั้งอาจไม่ละเอียดรอบคอบพอ,อยากเห็น
การทำงานที่โปร่งใสและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจริงๆฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่สมควร 29.52% 22.49% 26.00%
เพราะ ในช่วงนี้ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤติค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางภาคใต้,ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น,สินค้าอุปโภค บริโภค
มีราคาแพง,น่าจะหันมาร่วมมือกันแก้ปัญหามากกว่าฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 26.67% 23.07% 24.87%
เพราะ ขึ้นอยู่กับพรรคฝ่ายค้านที่จะพิจารณา ช่วงเวลานี้มีความเหมาะสมที่จะเปิดอภิปรายหรือไม่,เป็นเรื่องปกติของการเมือง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่าเรื่องที่ควรจะอภิปรายฝ่ายรัฐบาล คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหตุการณ์ทางภาคใต้ที่มีการสู้รบจนเกิดการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 32.98% 30.31% 31.65%
อันดับที่ 2 ความร่ำรวยผิดปกติของนักการเมืองต่างๆ 26.59% 21.21% 23.90%
อันดับที่ 3 ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 10.64% 27.27% 18.95%
อันดับที่ 4 ม็อบ กฟผ./การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 15.96% 18.18% 17.07%
อันดับที่ 5 การโยกย้ายตำแหน่งภายในกระทรวงศึกษาธิการ 13.83% 3.03% 8.43%
4. การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ “ถูกใจ” ประชาชน มากที่สุด คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สามารถแสดงข้อมูลที่กล่าวหาได้อย่างชัดเจนและหากมีภาพประกอบด้วยก็จะเป็นการดี 66.67% 29.17% 47.92%
อันดับที่ 2 ตรงประเด็น ไม่พูดนอกเรื่อง/เวลาที่ใช้ในการอภิปรายไม่มากเกินไป 22.22% 58.33% 40.27%
อันดับที่ 3 ลีลาการพูด น่าฟัง/ไม่ตะกุกตะกักเหมือนท่องมา 11.11% 12.50% 11.81%
5. การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประชาชน “ไม่ชอบ” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ/ชอบกล่าวพาดพิงผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง 50.00% 37.50% 43.75%
อันดับที่ 2 พูดนอกเรื่อง/อรัมภบทนานเกินไป/ใช้เวลาในการพูดนาน 38.46% 43.75% 41.11%
อันดับที่ 3 พูดโดยดูจากเอกสารที่เตรียมมา/พูดเหมือนอ่านฟังแล้วรู้สึกน่าเบื่อ 11.54% 18.75% 15.14%
6. ผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะทำให้สภาพการเมืองไทยเป็นอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมือนเดิม 51.46% 52.97% 52.21%
เพราะ รัฐบาลได้วางนโยบายและมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการทำงานแต่ละด้านอยู่แล้ว,ฐานคะแนนเสียงของรัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้านฯลฯ
อันดับที่ 2 ดีขึ้น 37.86% 39.29% 38.58%
เพราะ รมต.ที่ถูกกล่าวหาจะได้มีความรอบคอบและระมัดระวังในการทำงานของตนมากขึ้น,เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งแสดงผล
งานออกมาให้เห็นได้เร็วขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 แย่ลง 10.68% 7.71% 9.21%
เพราะ หากข้อมูลที่ฝ่ายค้านกล่าวหาเป็นเรื่องจริง จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและเกิดความไม่ไว้วางใจในรัฐบาล,ประชาชน
รู้สึกเบื่อการเมืองมากขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-ลจ-