การปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการอภิปรายและกรณี นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน มีผลกระทบทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยดูแย่ลง !!
จากเหตุการณ์ กรณี การปรากฎภาพนิ่งของหญิงสาวที่ไม่เหมาะสมระหว่างที่กำลังมีการอภิปรายและกรณี นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมาเปิดดูรูปภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยในขณะที่กำลังประชุมสภา ซึ่งกำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,127 คน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2555 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระหว่างที่มีการถ่ายทอดสด การอภิปรายเพราะมีคนดูทั่วประเทศและมีทุกเพศทุกวัย 49.27% อันดับ 2 เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคและผู้ที่ดูแลการประชุม 21.27% อันดับ 3 ทำให้ภาพพจน์ของรัฐสภาเสื่อมเสียและภาพลักษณ์ของประเทศดูแย่ลง 15.65% อันดับ 4 ไม่ควรด่วนสรุปเร็วเกินไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง /อาจเป็นเหตุสุดวิสัย 13.81% 2. ความคิดเห็นของประชาชน กรณี นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้หยิบโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมาโดยอ้างว่าเป็นการหยิบขึ้นมาเพื่อลบภาพสาวนุ่งน้อยห่มน้อยทิ้ง อันดับ 1 เหตุผลที่ชี้แจงฟังไม่ขึ้น เป็นการแก้ตัวเพื่อรักษาชื่อเสียงของตัวเองมากกว่า 53.34% อันดับ 2 เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องที่กำลังอภิปรายอยู่มากกว่า จะเปิดดูภาพในโทรศัพท์มือถือ 26.59% อันดับ 3 ควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม /ผิดก็ว่าไปตามผิด 13.22% อันดับ 4 เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ควรนำมาเป็นประเด็นหรือเรื่องราวใหญ่โต ทำให้ภาพลักษณ์การเมืองไทยดูแย่ลง 6.85% 3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยหรือไม่? อันดับ 1 มีผลกระทบทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภาไทยดูแย่ลง 83.44% เพราะ รัฐสภาเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ ทุกคนควรเคารพและยึดถือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ฯลฯ อันดับ 2 ไม่มีผลกระทบ 16.56% เพราะ ควรใช้วิจารณญาณพิจารณาในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากตัวบุคคล ไม่ควรกล่าวหา หรือมองในแง่ลบทั้งหมด ฯลฯ 4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองหรือไม่? อันดับ 1 ถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองอย่างแน่นอน 44.04% เพราะ เป็นการนำข้อผิดพลาดในเรื่องนี้มาใช้โจมตีกันทางการเมือง ต้องการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 38.13% เพราะ ขึ้นอยู่กับกระแสสังคมว่าจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด? รวมทั้งการเผยแพร่ของสื่อ ฯลฯ อันดับ 3 คงไม่นำมาใช้เป็นเกมการเมือง 17.83% เพราะ การเมืองไทยทุกวันนี้วุ่นวายมากพออยู่แล้ว ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ยังเป็นปมขัดแย้งทางการเมืองอยู่ ฯลฯ 5. ประชาชนคิดว่า “สำนักงานเลขาธิการสภา” ควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร? อันดับ 1 เร่งตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วและออกมาชี้แจงให้กับสังคมรับรู้ 56.11% อันดับ 2 หากพบว่ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือทำผิดจริง ต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ 23.47% อันดับ 3 ควรมีการกำหนดกฎระเบียบ มีมาตรการควบคุมและป้องกันที่เข้มงวดให้เหมาะสมกับสภาพสังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบันโดยเฉพาะอุปกรณ์สื่อสาร 20.42% 6. ประชาชนคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างกรณีนี้ขึ้นอีกหรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 45.76% เพราะ อุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและการยึดปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของแต่ละคนมากกว่า ฯลฯ อันดับ 2 คงจะไม่เกิดขึ้น 27.86% เพราะ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ทำให้ทุกคนต้องตระหนักและระมัดระวังให้มากขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 คงจะเกิดขึ้นอีก 26.38% เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังอยู่ในกระแสที่คนให้ความสนใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าการควบคุมดูแลไม่เข้มงวดหรือยัง
หละหลวมอยู่ ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้อีก ฯลฯ
อันดับ 1 รัฐสภาจะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวด ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและมีบทลงโทษชัดเจน 32.63% อันดับ 2 ระหว่างประชุมหรือทำงานควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง ในการทำงานหรืองดใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดหรือเกิดปัญหาขึ้นมาอีก 26.06% อันดับ 3 ขึ้นอยู่กับความตระหนัก จิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของแต่ละบุคคลระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ควรมีความตั้งใจและจริงจังในการทำงาน 21.59% อันดับ 4 คงจะป้องกันได้ยาก อุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดในการทำงานมักเกิดขึ้นได้เสมอ 19.72% --สวนดุสิตโพลล์--