สวนดุสิตโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี นายกฯยิ่งลักษณ์ เข้ารดน้ำขอพร พล.อ.เปรม

ข่าวผลสำรวจ Monday April 30, 2012 07:53 —สวนดุสิตโพล

ประชาชน 54.79% พอใจที่นายกฯยิ่งลักษณ์เข้ารดน้ำขอพร พล.อ.เปรม เชื่อว่าทำให้บรรยากาศความปรองดองของบ้านเมืองดีขึ้น

จากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเข้ารดน้ำขอพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยให้เหตุผลในการเข้าพบครั้งนี้ว่าเป็นการทำตามประเพณีของไทยในเทศกาลสงกรานต์ ไม่ได้มีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องการเมือง ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ของการเข้าพบพล.อ.เปรม ของรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,357 คน ระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน กรณี นายกฯยิ่งลักษณ์พร้อมคณะเข้ารดน้ำขอพร พล.อ.เปรม
อันดับ 1 เป็นการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม /แสดงถึงความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรดน้ำขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล 53.19%
อันดับ 2 น่าจะมีเหตุผลอื่นมากกว่าแค่การเข้าไปรดน้ำขอพร /อาจจะมีการปรึกษาหารือในเรื่องสำคัญหรือเรื่องภายในที่ไม่ต้องการเปิดเผย
        ให้บุคคลภายนอกรับรู้                                                                               27.23%
อันดับ 3  เป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง /บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น                    14.47%
อันดับ 4  เป็นเรื่องของการเมืองที่รัฐบาลต้องการสร้างภาพ                                                           5.11%

2. การเข้าพบครั้งนี้ ประชาชนคิดว่ามีนัยสำคัญทางการเมืองหรือไม่?
อันดับ 1          มีนัยสำคัญทางการเมือง            43.30%
เพราะ   การเข้าพบครั้งนี้รัฐบาลต้องการสื่อสารให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเดินหน้าสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง
พล.อ.เปรม เป็นบุคคลสำคัญและเป็นที่เคารพเกรงใจของหลายฝ่าย ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                       36.78%
เพราะ   ไม่ว่ารัฐบาลจะทำอะไร ก็เป็นที่จับตามองของสังคมและถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา ฯลฯ
อันดับ 3          ไม่มีนัยสำคัญทางการเมือง          19.92%
เพราะ   เป็นเรื่องปกติ เป็นการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ไม่ควรนำมาโยงเข้ากับเรื่องการเมือง ฯลฯ

3. การเข้าพบครั้งนี้ทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจหรือไม่?
อันดับ 1          พึงพอใจ          54.79%
เพราะ   เป็นการแสดงความนอบน้อมและให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงและเป็นการ

เริ่มต้นที่ดีที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม ฯลฯ

อันดับ 2          เฉยๆ            38.70%
เพราะ   เป็นเรื่องปกติ ธรรมดาที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มักมีบุคคลสำคัญจากหลายกลุ่มหลายฝ่ายเข้าไปรดน้ำขอพร พล.อ.เปรม

ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่พึงพอใจ         6.51%
เพราะ   การเข้าพบครั้งนี้อาจมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง สร้างความไม่พึงพอใจให้กับบุคคลบางกลุ่มหรือบางฝ่าย ฯลฯ

4. หลังจากที่นายกฯเข้าพบพล.อ.เปรม จะทำให้บรรยากาศความปรองดองของบ้านเมืองดีขึ้นหรือไม่?
อันดับ 1          ทำให้บรรยากาศความปรองดองของบ้านเมืองดีขึ้น          48.65%
เพราะ   การมีท่าทีอ่อนน้อม ไม่ถือทิฐิของรัฐบาล เป็นการส่งสัญญาณที่ดีของการสร้างความปรองดองและแสดงให้เห็นถึง

การเห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นสำคัญ ฯลฯ

อันดับ 2          เหมือนเดิม                                      45.56%
เพราะ   ความปรองดองจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ต้องอาศัยความร่วมมือ ความสามัคคีกันจากประชาชนทุกฝ่าย

การเข้าพบป๋าเปรมเป็นเพียงภาระกิจหนึ่งที่ไม่น่าจะมีผลมากนัก ฯลฯ

อันดับ 3          ทำให้บรรยากาศความปรองดองของบ้านเมืองแย่ลง          5.79%
เพราะ   อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับบุคคลบางกลุ่มหรือบางฝ่าย ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมือง ฯลฯ

5.  สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึง นายกฯยิ่งลักษณ์หลังจากที่เข้าพบ พล.อ.เปรม
อันดับ 1  สิ่งที่รัฐบาลทำขอให้มาจากความตั้งใจจริง ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง/ขอให้นึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ     81.95%
อันดับ 2  รัฐบาลจะต้องเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างความปรองดอง                                         80.49%
อันดับ 3  การดูแลทุกข์สุขของประชาชน พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า /หากประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นปัญหาต่างๆ
        ในสังคมก็จะลดลงไปเอง                                                                           77.56%
อันดับ 4  นอกจากเรื่องความปรองดองแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม เช่น น้ำท่วม ของแพง คอรัปชั่น เป็นต้น 74.63%
อันดับ 5  การควบคุม ดูแล ความประพฤติของนักการเมือง โดยเฉพาะในการประชุมสภา                                    70.24%

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ