จากที่กระทรวงวัฒนธรรมมีการรณรงค์จัดระเบียบกลุ่มรักร่วมเพศ ที่ปัจจุบันมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ผ่านสื่อต่างๆอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องของเยาวชน โดยจะเริ่มต้นจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวง
ต่างๆก่อน ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,184 คน (ชาย 408 คน 34.46 %
หญิง 776 คน 65.54 %) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 3 - 4 มิถุนายน 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” คิดว่าสาเหตุของพฤติกรรมรักร่วมเพศ คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นเองโดยธรรมชาติ 21.88% 29.02% 25.45%
อันดับที่ 2 เพื่อน 18.75% 18.59% 18.67%
อันดับที่ 3 ครอบครัว 21.88% 13.37% 17.62%
อันดับที่ 4 สื่อโทรทัศน์ 17.71% 15.19% 16.45%
อันดับที่ 5 สื่ออินเทอร์เน็ต 7.29% 9.98% 8.64%
อันดับที่ 6 กรรมพันธุ์ 9.37% 6.35% 7.86%
* อื่นๆ เช่น ค่านิยม,แฟชั่น,สิ่งแวดล้อมรอบตัว,การเลียนแบบ ฯลฯ 3.12% 7.50% 5.31%
2. “ประชาชน” คิดว่าพฤติกรรมที่มีรักร่วมเพศเป็นแบบอย่างที่ทำให้สังคมไทยเสื่อมเสียจริงหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่จริง 48.15% 52.58% 50.36%
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่จะปฏิบัติมากกว่า,ไม่ได้ทำให้สังคมเดือดร้อน,เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 24.07% 27.83% 25.95%
เพราะ จะมีแค่บางส่วนเท่านั้นที่ทำตัวไม่ดี,คนที่ปกติก็สามารถทำให้สังคมเสื่อมเสียได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 จริง 27.78% 19.59% 23.69%
เพราะ เป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ,อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน,เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ค่อยยอมรับ ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่าการห้ามผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศทำงานจะสามารถลดผลกระทบต่อวัฒนธรรมได้หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่สามารถลดผลกระทบได้ 49.06% 43.30% 46.18%
เพราะ ผลกระทบต่อวัฒนธรรมไม่ได้มาจากเรื่องนี้แค่เรื่องเดียว,เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 22.64% 32.47% 27.55%
เพราะ วัฒนธรรมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกันรักษา,วัฒนธรรมในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากส่วนอื่นมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 สามารถลดผลกระทบได้ 28.30% 24.23% 26.27%
เพราะ สามารถทำให้วัฒนธรรมไม่เสื่อมเสียได้,เป็นการช่วยลดผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนให้กลับมาเป็นเช่นเดิมได้ ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่าการห้ามผู้รักร่วมเพศเข้าทำงานเป็นการริดรอนสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็น 79.63% 84.54% 82.08%
เพราะ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ควรปิดกั้นแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว,พฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้เป็นทำความผิดร้ายแรง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เป็น 20.37% 15.46% 17.92%
เพราะ เป็นการเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งต่างๆ ฯลฯ
5. “ประชาชน” เห็นด้วยหรือไม่? ต่อการต่อต้านผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเข้าเป็นข้าราชการ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เห็นด้วย 69.23% 85.57% 77.40%
เพราะ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน,ควรดูที่ผลงานและความสามารถในการทำงาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 เห็นด้วย 30.77% 14.43% 22.60%
เพราะ ทำให้ภาพลักษณ์ของข้าราชการไทยไม่น่าเชื่อถือ,ข้าราชการต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ผ่านสื่อต่างๆอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องของเยาวชน โดยจะเริ่มต้นจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวง
ต่างๆก่อน ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,184 คน (ชาย 408 คน 34.46 %
หญิง 776 คน 65.54 %) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 3 - 4 มิถุนายน 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” คิดว่าสาเหตุของพฤติกรรมรักร่วมเพศ คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นเองโดยธรรมชาติ 21.88% 29.02% 25.45%
อันดับที่ 2 เพื่อน 18.75% 18.59% 18.67%
อันดับที่ 3 ครอบครัว 21.88% 13.37% 17.62%
อันดับที่ 4 สื่อโทรทัศน์ 17.71% 15.19% 16.45%
อันดับที่ 5 สื่ออินเทอร์เน็ต 7.29% 9.98% 8.64%
อันดับที่ 6 กรรมพันธุ์ 9.37% 6.35% 7.86%
* อื่นๆ เช่น ค่านิยม,แฟชั่น,สิ่งแวดล้อมรอบตัว,การเลียนแบบ ฯลฯ 3.12% 7.50% 5.31%
2. “ประชาชน” คิดว่าพฤติกรรมที่มีรักร่วมเพศเป็นแบบอย่างที่ทำให้สังคมไทยเสื่อมเสียจริงหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่จริง 48.15% 52.58% 50.36%
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่จะปฏิบัติมากกว่า,ไม่ได้ทำให้สังคมเดือดร้อน,เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 24.07% 27.83% 25.95%
เพราะ จะมีแค่บางส่วนเท่านั้นที่ทำตัวไม่ดี,คนที่ปกติก็สามารถทำให้สังคมเสื่อมเสียได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 จริง 27.78% 19.59% 23.69%
เพราะ เป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ,อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน,เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ค่อยยอมรับ ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่าการห้ามผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศทำงานจะสามารถลดผลกระทบต่อวัฒนธรรมได้หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่สามารถลดผลกระทบได้ 49.06% 43.30% 46.18%
เพราะ ผลกระทบต่อวัฒนธรรมไม่ได้มาจากเรื่องนี้แค่เรื่องเดียว,เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 22.64% 32.47% 27.55%
เพราะ วัฒนธรรมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกันรักษา,วัฒนธรรมในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากส่วนอื่นมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 สามารถลดผลกระทบได้ 28.30% 24.23% 26.27%
เพราะ สามารถทำให้วัฒนธรรมไม่เสื่อมเสียได้,เป็นการช่วยลดผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนให้กลับมาเป็นเช่นเดิมได้ ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่าการห้ามผู้รักร่วมเพศเข้าทำงานเป็นการริดรอนสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็น 79.63% 84.54% 82.08%
เพราะ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ควรปิดกั้นแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว,พฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้เป็นทำความผิดร้ายแรง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เป็น 20.37% 15.46% 17.92%
เพราะ เป็นการเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งต่างๆ ฯลฯ
5. “ประชาชน” เห็นด้วยหรือไม่? ต่อการต่อต้านผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเข้าเป็นข้าราชการ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เห็นด้วย 69.23% 85.57% 77.40%
เพราะ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน,ควรดูที่ผลงานและความสามารถในการทำงาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 เห็นด้วย 30.77% 14.43% 22.60%
เพราะ ทำให้ภาพลักษณ์ของข้าราชการไทยไม่น่าเชื่อถือ,ข้าราชการต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-