“อภิปรายงบประมาณ” คนอยากฟัง……………………
เหตุผลจากรัฐบาลเรื่องการนำงบไปใช้ ฝ่ายค้านต้องซักถามตรงประเด็น // ไม่อยากเห็นทั้ง 2 ฝ่ายทะเลาะกัน
ตามที่สภาได้กำหนดให้วันที่ 21-23 พฤษภาคม นี้ มีการอภิปรายเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 โดยจะจัดสรรเวลาให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเท่าๆกัน เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการอภิปราย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,405 คน ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 คงจะติดตาม 33.19%
เพราะ ถ้ามีเวลาก็จะติดตามจากสื่อต่างๆ ,เป็นงบประมาณที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อยากรู้การทำงานของนักการเมือง ฯลฯ
อันดับ 2 คงจะไม่ได้ติดตาม 30.30%
เพราะ ไม่สะดวก ต้องทำงาน ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารการเมืองมากนัก ฯลฯ
อันดับ 3 ติดตามแน่นอน 19.03%
เพราะ อยากรู้เหตุผลในการนำงบประมาณไปใช้ ,เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และมักมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นตามมา ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่ได้ติดตาม 17.48%
เพราะ เบื่อ ไม่ชอบ ไม่สนใจการเมือง ,มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง หาเรื่องโจมตีกันไปมา ฯลฯ
อันดับ 1 ติดตามถ่ายทอดสดและติดตามข่าวทางโทรทัศน์ 50.30% อันดับ 2 หนังสือพิมพ์ 22.16% อันดับ 3 อินเตอร์เน็ต 18.56% อันดับ 4 วิทยุ 6.59% *อื่นๆ เช่น ข้อความทางโทรศัพท์มือถือ ดูออนไลน์ ฯลฯ 2.39% 3. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการติดตามการอภิปรายครั้งนี้ อันดับ 1 คงจะได้รับประโยชน์บ้าง 53.92% เพราะ ประชาชนจะได้รู้ว่าในปีหน้ารัฐบาลจะมีแนวทางในการช่วยเหลืออย่างไร สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ฯลฯ อันดับ 2 ได้รับประโยชน์แน่นอน 24.88% เพราะ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และประชาชนมีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฯลฯ อันดับ 3 คงไม่ได้รับประโยชน์ 15.21% เพราะ การประชุมในระยะหลังที่ผ่านมามักจะเอาแต่จ้องจับผิดกัน นักการเมืองในปัจจุบันมักดีแต่พูด พูดสร้างภาพให้ตัวเองดูดี ฯลฯ อันดับ 4 ไม่ได้รับประโยชน์ 5.99% เพราะ ไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาลงบประมาณต่างๆที่จัดสรรลงมาไม่ได้ส่งมาถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ประชาชนก็ยังคงมีความเป็นอยู่ที่ลำบากเหมือนเดิม ฯลฯ
(1) รัฐบาล
อันดับ 1 การชี้แจงเหตุและผลของการนำงบประมาณไปใช้ในเรื่องต่างๆที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา 59.23% อันดับ 2 การอภิปรายที่น่าสนใจ กระชับ เข้าใจง่าย /รักษาเวลา 23.41% อันดับ 3 การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้เข้าร่วมอภิปรายทุกคนเคารพข้อบังคับของที่ประชุม 17.36%
(2) ฝ่ายค้าน
อันดับ 1 การซักถามในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ตรงประเด็น ไม่พูดนอกเรื่อง 56.50% อันดับ 2 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบข้อบังคับของที่ประชุม 24.09% อันดับ 3 การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านให้ดีที่สุด 19.41% 5. สิ่งที่ประชาชนไม่อยากเห็น/ไม่อยากฟัง จากรัฐบาลและฝ่ายค้านในการอภิปรายครั้งนี้ (1) รัฐบาล อันดับ 1 การทะเลาะเบาะแว้ง ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ ใช้สิทธิประท้วงกันไปมา 47.66% อันดับ 2 การชี้แจงที่ไม่ตรงประเด็น นอกเรื่อง /พูดเรื่องเดิมๆ 28.14% อันดับ 3 การไม่ให้เกียรติหรือไม่เคารพต่อประธานในที่ประชุม แสดงกริยามารยาทที่ไม่สมควรออกมา 24.20% (2) ฝ่ายค้าน อันดับ 1 การทะเลาะเบาะแว้ง มุ่งแต่เอาชนะกันโดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน 50.74% อันดับ 2 การลุกขึ้นประท้วงบ่อยครั้งหรือเดินออกจากที่ประชุม 30.83% อันดับ 3 การแสดงกริยามารยาทที่ไม่สุภาพหรือใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ เสียดสี 18.43% 6. ประชาชนคิดว่าการเมืองหลังการอภิปรายงบประมาณเสร็จสิ้นลงการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 57.67% เพราะ หลังจากการอภิปรายเสร็จสิ้นลง ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รัฐบาลมีเสียงข้างมาก บ้านเมืองแตกแยกเหมือนเดิม ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้น 35.35% เพราะ รัฐบาลสามารถเดินหน้าบริหารประเทศได้อย่างเต็มที่ และทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้อย่างเป็นรูปธรรม
ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 6.98% เพราะ ทุกครั้งเมื่อมีการจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงาน ส่วนราชการต่างๆมักจะมีเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
รัฐบาลไม่สามารถตรวจสอบหรือควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง อาจเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ ฯลฯ