แท็ก
สวนดุสิตโพล
ตานโยบายของรัฐบาลในการ "ช่วยกันประหยัดพลังงานเพื่อชาติ" ซึ่งก็ได้มีมาตรการออกมา 5 มาตรการในการประหยัด
พลังงานรวมถึงมาตรการในการจำกัดความเร็วรถให้เหลือ 90 ก.ม./ช.ม. "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฎ สวนดุสิต จึงได้
สำรวจความคิดเห็นของ ผู้ที่ขับรถยนต์ ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,068 คน โดยสำรวจระหว่าง
วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการที่จำกัดความเร็วให้รถวิ่งเป็น 90 ก.ม. : ช.ม. เหมาะสมหรือไม่?
อันดับที่ 1 เหมาะสม 67.66%
เพราะ เป็นการประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำมันและช่วยลดอุบัติเหตุได้,เป็นช่วงความเร็วที่เหมาะสมที่สุดและปลอดภัย ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เหมาะสม 19.76%
เพราะ คิดว่าช้าไปจากความเร็วที่ขับปกติ,ต้องดูความเหมาะสมของระยะทางที่เดินทางด้วย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 12.58%
เพราะ บางคนอาจมีความจำเป็นที่ต้องเร่งด่วนหรือวิ่งระยะไกล,ต้องดูก่อนว่าบังคับใช้ทุกเส้นทางหรือเป็นบางที่ ฯลฯ
2. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการนี้จะสามารถช่วยประหยัดน้ำมัน/พลังงานได้จริงหรือไม่?
อันดับที่ 1 ได้จริง 73.05%
เพราะ อัตรากำลังในการขับสม่ำเสมอถ้าจะช่วยประหยัดน้ำมันได้,รถวิ่งเร็วเกินไปก็ยิ่งเผาผลาญน้ำมันเยอะขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 14.38%
เพราะ รถแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน,นอกจากความเร็วแล้วสภาพเครื่องยนต์ก็มีส่วนมาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ได้ 12.57%
เพราะ ไม่สามารถควบคุมได้ตลอด,นิสัยการขับรถแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฯลฯ
3. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการนี้มี ผลดี หรือ ผลเสีย มากกว่ากัน
อันดับที่ 1 ผลดีมากกว่า 62.27%
เพราะ ทำให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้มาก,เป็นการสร้างนิสัยในการขับขี่รถที่ดีแก่ประชาชน ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอๆกัน 21.56%
เพราะ ปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์มีหลายด้านที่ควรแก้ไข,ผลดีตรงที่ประหยัด ผลเสียคือถ้าเร่งด่วนก็ทำให้เสียเวลา ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 11.38%
เพราะ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย,มีหลายๆมาตรการที่ออกมาแล้วก็ล้มเหลว ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลเสียมากกว่า 4.79%
เพราะ อาจทำให้รถติดเพิ่มขึ้น ฯลฯ
4. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่าการจำกัดความเร็วให้รถวิ่งเป็น 90 ก.ม. : ช.ม. จะทำให้การจราจรติดขัดเพิ่มขึ้นหรือไม่?
อันดับที่ 1 เท่าเดิม 61.08%
เพราะ รถจะติดไม่ได้เกี่ยวกับความเร็วแต่อยู่ที่ระเบียบวินัยของผู้ที่ขับขี่มากกว่า,รถติดเป็นปกติอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 เพิ่มขึ้น 29.34%
เพราะ วิ่งช้ามากรถก็ยิ่งจะติดมากขึ้น,ถ้าถึงเวลาเร่งด่วนแล้วจำกัดที่ 90 กม./ชม. คงทำให้ล่าช้า ฯลฯ
อันดับที่ 3 น้อยลง 9.58%
เพราะ หากอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยลงปัญหารถติดก็คงเบาบางลง,มีความรอบคอบและเป็นระเบียบวินัยมากขึ้น ฯลฯ
5 . วิธีประหยัดน้ำมัน/พลังงานที่ในทัศนะของ "ผู้ที่ขับรถยนต์" คือ
อันดับที่ 1 ใช้รถโดยสารประจำทางแทนการใช้รถส่วนตัว 49.03%
อันดับที่ 2 ใช้รถส่วนตัวเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ/วางแผนการเดินทางก่อนจะออกจากบ้าน 18.06%
อันดับที่ 3 ทางเดียวกันไปรถคันเดียวกัน 16.78%
อันดับที่ 4 ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ก่อนออกจากบ้าน/ไม่เร่งเครื่องยนต์ ไม่เปิดแอร์ทิ้งไว้นาน 9.03%
อันดับที่ 5 สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำมัน/หันไปใช้พลังงานอื่นแทนน้ำมัน 7.10%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
พลังงานรวมถึงมาตรการในการจำกัดความเร็วรถให้เหลือ 90 ก.ม./ช.ม. "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฎ สวนดุสิต จึงได้
สำรวจความคิดเห็นของ ผู้ที่ขับรถยนต์ ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,068 คน โดยสำรวจระหว่าง
วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการที่จำกัดความเร็วให้รถวิ่งเป็น 90 ก.ม. : ช.ม. เหมาะสมหรือไม่?
อันดับที่ 1 เหมาะสม 67.66%
เพราะ เป็นการประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำมันและช่วยลดอุบัติเหตุได้,เป็นช่วงความเร็วที่เหมาะสมที่สุดและปลอดภัย ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เหมาะสม 19.76%
เพราะ คิดว่าช้าไปจากความเร็วที่ขับปกติ,ต้องดูความเหมาะสมของระยะทางที่เดินทางด้วย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 12.58%
เพราะ บางคนอาจมีความจำเป็นที่ต้องเร่งด่วนหรือวิ่งระยะไกล,ต้องดูก่อนว่าบังคับใช้ทุกเส้นทางหรือเป็นบางที่ ฯลฯ
2. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการนี้จะสามารถช่วยประหยัดน้ำมัน/พลังงานได้จริงหรือไม่?
อันดับที่ 1 ได้จริง 73.05%
เพราะ อัตรากำลังในการขับสม่ำเสมอถ้าจะช่วยประหยัดน้ำมันได้,รถวิ่งเร็วเกินไปก็ยิ่งเผาผลาญน้ำมันเยอะขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 14.38%
เพราะ รถแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน,นอกจากความเร็วแล้วสภาพเครื่องยนต์ก็มีส่วนมาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ได้ 12.57%
เพราะ ไม่สามารถควบคุมได้ตลอด,นิสัยการขับรถแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฯลฯ
3. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่ามาตรการนี้มี ผลดี หรือ ผลเสีย มากกว่ากัน
อันดับที่ 1 ผลดีมากกว่า 62.27%
เพราะ ทำให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้มาก,เป็นการสร้างนิสัยในการขับขี่รถที่ดีแก่ประชาชน ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอๆกัน 21.56%
เพราะ ปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์มีหลายด้านที่ควรแก้ไข,ผลดีตรงที่ประหยัด ผลเสียคือถ้าเร่งด่วนก็ทำให้เสียเวลา ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 11.38%
เพราะ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย,มีหลายๆมาตรการที่ออกมาแล้วก็ล้มเหลว ฯลฯ
อันดับที่ 4 ผลเสียมากกว่า 4.79%
เพราะ อาจทำให้รถติดเพิ่มขึ้น ฯลฯ
4. "ผู้ที่ขับรถยนต์" คิดว่าการจำกัดความเร็วให้รถวิ่งเป็น 90 ก.ม. : ช.ม. จะทำให้การจราจรติดขัดเพิ่มขึ้นหรือไม่?
อันดับที่ 1 เท่าเดิม 61.08%
เพราะ รถจะติดไม่ได้เกี่ยวกับความเร็วแต่อยู่ที่ระเบียบวินัยของผู้ที่ขับขี่มากกว่า,รถติดเป็นปกติอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 เพิ่มขึ้น 29.34%
เพราะ วิ่งช้ามากรถก็ยิ่งจะติดมากขึ้น,ถ้าถึงเวลาเร่งด่วนแล้วจำกัดที่ 90 กม./ชม. คงทำให้ล่าช้า ฯลฯ
อันดับที่ 3 น้อยลง 9.58%
เพราะ หากอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยลงปัญหารถติดก็คงเบาบางลง,มีความรอบคอบและเป็นระเบียบวินัยมากขึ้น ฯลฯ
5 . วิธีประหยัดน้ำมัน/พลังงานที่ในทัศนะของ "ผู้ที่ขับรถยนต์" คือ
อันดับที่ 1 ใช้รถโดยสารประจำทางแทนการใช้รถส่วนตัว 49.03%
อันดับที่ 2 ใช้รถส่วนตัวเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ/วางแผนการเดินทางก่อนจะออกจากบ้าน 18.06%
อันดับที่ 3 ทางเดียวกันไปรถคันเดียวกัน 16.78%
อันดับที่ 4 ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ก่อนออกจากบ้าน/ไม่เร่งเครื่องยนต์ ไม่เปิดแอร์ทิ้งไว้นาน 9.03%
อันดับที่ 5 สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำมัน/หันไปใช้พลังงานอื่นแทนน้ำมัน 7.10%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-