สวนดุสิตโพลล์: “การเมืองไทย” กับ การมีส่วนร่วมของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday August 6, 2012 07:13 —สวนดุสิตโพล

ประชาชนเห็นว่า “การชุมนุมประท้วง” ก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแต่ ณ วันนี้มักจะใช้กำลังและอารมณ์ในการตัดสินมากกว่าเหตุผล และลอยตัวอยู่เหนือกฎหมาย !!

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน นับว่าเป็นมิติที่สำคัญมิติหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่จะสะท้อนความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งหรือแม้แต่การชุมนุมประท้วง แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนอันจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,079 คน ระหว่างวันที่ 1-4 สิงหาคม 2555 สรุปผลดังนี้

1. ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเมืองไทย” กับการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          พอเข้าใจอยู่บ้าง          53.48%

คือ เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนที่สามารถทำได้ ปัจจุบันนี้ประชาชนออกมามีส่วนร่วมทางการเมืองในหลายๆเรื่องมากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2          เข้าใจดี                31.02%

คือ ระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับประชาชน ทุกคนมีสิทธิเรียกร้องหรือแสดงออกเพื่อให้รัฐรู้ถึงความต้องการได้ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยเข้าใจ            11.23%

เพราะ การมีส่วนร่วมของประชาชนในปัจจุบันสามารถแสดงออกได้หลายทาง ไม่รู้ว่าแบบไหนจะถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่เข้าใจเลย             4.27%

เพราะ ไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญในเรื่องนี้,ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากความ,ไม่เคยได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง ฯลฯ

2. “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย คือ
อันดับ 1          การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง การลงประชามติ การทำประชาพิจารณ์      54.70%
อันดับ 2          การออกมาชุมนุมอย่างสันติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย /ปฏิบัติตามกฎหมาย          20.99%
อันดับ 3          เป็นการชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม                       16.02%
อันดับ 4          การมีสติมีวิจารณญาณ /ศึกษาหาข้อมูลหรือทำความเข้าใจมาก่อน /ติดตามข่าวสารเป็นประจำ            8.29%

3. “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนที่ไม่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย คือ
อันดับ 1          การชุมนุมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรง            56.61%
อันดับ 2          ถูกชักจูงให้มา ไม่ได้มาจากความคิดหรือความต้องการของตัวเอง /ไม่รู้วัตถุประสงค์ที่มาชุมนุม          28.04%
อันดับ 3          การซื้อสิทธิ ขายเสียง /รับสินบน ถูกจ้างให้มาชุมนุม                                        12.17%
อันดับ 4          การล่วงละเมิด กล่าวอ้าง พาดพิง ดูหมิ่นบุคคลอื่นที่ไม่เหมาะสม                                 3.18%

4. ประชาชนคิดว่า “การชุมนุมประท้วง” เป็นการแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือไม่?
อันดับ 1          เป็นการแสดงถึงการมีส่วนร่วม             60.33%

เพราะ เป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนสามารถทำได้เพื่อแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริง แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่เป็น                              39.67%

เพราะ การชุมนุมประท้วงในระยะหลังจะเห็นได้ว่ามีความรุนแรงและใช้กฎหมู่มากกว่ากฎหมาย เป็นการชุมนุมที่เกินขอบเขต ฯลฯ

5. “การชุมนุมประท้วง” อย่างไร? จึงจะเป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
อันดับ 1          จะต้องเป็นการแสดงออกทางความคิด คุยกันด้วยเหตุผลมากกว่าใช้กำลัง /ชุมนุมอย่างสันติ            40.76%
อันดับ 2          ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับส่วนรวม เช่น การปิดถนน  ชุมนุมในที่ที่กีดขวางทางจราจร  เป็นต้น      39.49%
อันดับ 3          การชุมนุมจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบขั้นตอนของการชุมนุม อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย              19.75%

6. การเปิดเวทีของพรรคการเมืองทั้ง “ประชาธิปัตย์” และ “เพื่อไทย” ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่?
อันดับ 1          เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง              47.49%

เพราะ เป็นเวทีที่ทำให้รับรู้ถึงความต้องการหรือความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง เป็นช่องทางหนึ่งที่เข้าถึงประชาชนได้ดี ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                                          35.75%

เพราะ เป็นการดึงเอาประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของพรรคการเมือง ,เป็นเกมการเมืองรูปแบบหนึ่ง ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่เปิดโอกาส                                      16.76%

เพราะ เป็นการเปิดเวทีเพื่อโน้มน้าวหรือหาเสียงจากประชาชนมากกว่า ,เป็นการสื่อสารของพรรคการเมืองอย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ

7. การตั้งเวทีของพรรคการเมืองที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมควรทำในลักษณะใด?
อันดับ 1          เป็นเวทีที่ช่วยสะท้อนปัญหาหรือความต้องการของประชาชนจริงๆ ไม่ใช่ทำขึ้นมาเพื่อเล่นเกมการเมือง        46.81%
อันดับ 2          จะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจจริงและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างมีเหตุและผล               38.29%
อันดับ 3          ตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ไม่กีดขวางเส้นทางจราจร /เป็นพื้นที่ที่สามารถรองรับคนได้จำนวนมาก          14.90%

8. ประชาชนคิดว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ณ วันนี้ เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่?
อันดับ 1          ไม่ถูกต้อง          63.89%

เพราะ การแสดงออกของประชาชนในวันนี้มักไม่อยู่ในกรอบของกฎหมาย เป็นการใช้กำลังและอารมณ์ในการตัดสินมากกว่าเหตุผล ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ           28.33%

เพราะ ประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมอาจมีทั้งผู้ที่เดือดร้อนหรือต้องการความช่วยเหลือจริงๆ แต่ก็มีบางส่วนที่ถูกชักจูงมา ฯลฯ

อันดับ 3          ถูกต้อง             7.78%

เพราะ ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงออกหรือออกมาเคลื่อนไหวได้ เห็นได้ว่ามีบางครั้งที่เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ