“หลังการอภิปรายงบประมาณ” ประชาชนก็ยังคิดว่า “การเมืองไทย” ยังยุ่งอยู่เหมือนเดิม เพราะทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังขัดแย้งกันไม่จบสิ้น !!!
หลังจากที่มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 สค.-17 สค. เสร็จสิ้นลง โดยที่ประชุมมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าว เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่สนใจติดตามการอภิปรายทั่วประเทศ จำนวน 1,157 คน ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2555
จากงบประมาณดังกล่าว /ส่งผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ 38.46% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการอภิปรายเพื่อพิจารณาความถูกต้อง โปร่งใส ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น/ เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 37.18% อันดับ 3 เป็นการทำหน้าที่ของทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านที่จะต้องมีการอภิปรายและชี้แจง /มีการถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ เนื่องจากมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน /ขัดแย้งกันเหมือนเดิม 24.36% 2. ประชาชนได้ประโยชน์จากการอภิปรายครั้งนี้หรือไม่? อันดับ 1 ได้ประโยชน์ 46.15%
เพราะ จะได้รู้ว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้ในเรื่องอะไรและช่วยเหลือประชาชนได้หรือไม่ ,เป็นงบประมาณจำนวนมากที่ควรมีการชี้แจง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 42.32%
เพราะ ยังมีบางประเด็นที่รัฐบาลตอบข้อซักถามไม่ชัดเจนและฝ่ายค้านมุ่งจับผิดมากเกินไป ,ต้องรอดูผลงานในปีหน้า ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ได้ประโยชน์ 11.53%
เพราะ เป็นการเล่นเกมการเมืองมากเกินไป มีการตอบโต้กันไปมาและมีการประท้วงเหมือนเช่นเคย ฯลฯ
อันดับ 1 เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องตอบข้อซักถามหรือชี้แจงเหตุผลให้ฝ่ายค้านและประชาชนเข้าใจ 48.23% อันดับ 2 การตอบข้อซักถามยังไม่ชัดเจน บางครั้งขาดเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลมายืนยัน 31.74% อันดับ 3 รัฐบาลถือเสียงข้างมากย่อมผ่านมติในที่ประชุมอยู่แล้ว 20.03% 4. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การอภิปรายของฝ่ายค้าน” อันดับ 1 เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบการทำงานและความโปร่งใสของรัฐบาล 39.08% อันดับ 2 เนื้อหาที่อภิปรายส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว อยากให้เน้นเรื่องงบประมาณในปีหน้าให้มากกว่านี้ 31.81% อันดับ 3 ฝ่ายค้านมุ่งจับผิดเกินไป จนบางครั้งทำให้บรรยากาศในการประชุมดูแย่ลง 29.11% 5. สิ่งที่ประชาชน “พึงพอใจ” ต่อการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 อันดับ 1 การอภิปรายงบประมาณครั้งนี้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด 40.20% อันดับ 2 ประชาชนมีความเข้าใจและได้รับรู้ข้อมูลต่างๆเพิ่มมากขึ้น 32.46% อันดับ 3 งบประมาณจำนวนนี้น่าจะช่วยพัฒนาประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนได้เต็มที่ 27.34% 6. สิ่งที่ประชาชน “ไม่พึงพอใจ” ต่อการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 อันดับ 1 บรรยากาศในการประชุมยังคงมีการประท้วง การทะลาะเบาะแว้งอยู่เหมือนเดิม /เสียเวลาที่ประชุม 59.54% อันดับ 2 รัฐบาลตอบข้อซักถามไม่ชัดเจน /ฝ่ายค้านพูดเรื่องเก่าและพูดนอกเรื่องมากเกินไป 22.68% อันดับ 3 เอกสาร ข้อมูลต่างๆที่นำมาใช้ในการอภิปรายมีน้อยไป ขาดความน่าเชื่อถือ 17.78% 7. ประชาชนคิดว่าสภาพการเมืองไทยหลังการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 เสร็จสิ้นลง จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 64.11%
เพราะ ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังคงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้ง แตกแยกอยู่เหมือนเดิม ,การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์
เป็นการเล่นเกมการเมืองที่ไม่มีวันจบสิ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 23.07%
เพราะ รัฐบาลสามารถเดินหน้าดำเนินงานตามนโยบายต่างๆที่กำหนดไว้ได้อย่างเต็มที่ ,การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 12.82%
เพราะ เรื่องงบประมาณยังคงเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นไปอีก การออกมาเคลื่อนไหวหรือต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ,
อาจมีการนำงบประมาณไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เกิดการทุจริต คอร์รัปชั่น , ฯลฯ