จากสถานการณ์น้ำท่วมในภูมิภาคต่างๆที่เริ่มปรากฎให้เห็นตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้หลายฝ่ายมีความกังวล โดยเฉพาะประชาชนที่เคยได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ในขณะที่รัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่างเร่งให้การช่วยเหลือและเฝ้าติดตามรายงานสถานการณ์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาให้ถูกจุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,422 คน ระหว่างวันที่ 12-15 กันยายน 2555 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ยังรู้สึกวิตกกังวลอยู่ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันและสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน 35.19% อันดับ 2 หวังว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้คงจะไม่รุนแรงเหมือนกับปีที่แล้ว 32.53% อันดับ 3 รัฐบาลคงจะมีความพร้อมและรับมือกับสถานการณ์น้ำได้ เนื่องจากมีบทเรียนจากปีที่ผ่านมา 14.86% อันดับ 4 ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง 10.98% อันดับ 5 ภาครัฐต้องไม่ปิดบังข่าว /สื่อมวลชนจะต้องเกาะติดและรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 6.44% 2. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 สถานการณ์น้ำปีนี้น่าจะน้อยกว่าปีที่แล้ว 46.83% เพราะ ภาครัฐมีการวางแผนและเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมพอสมควร รัฐบาลรู้ถึงปัญหาและเตรียมการป้องกันได้ดีมากขึ้น นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่าปริมาณน้ำในปีนี้น่าจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ฯลฯ อันดับ 2 คงจะพอๆกัน 28.78% เพราะ สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก มีหลายๆปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำเหนือและน้ำป่าที่ไหลลงมา ฯลฯ อันดับ 3 สถานการณ์น้ำปีนี้น่าจะมากกว่าปีที่แล้ว 24.39% เพราะ ในระยะนี้มีข่าวฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน กลัวว่าปริมาณน้ำจะมีมากเกินไปเนื่องจากเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่หน้าฝน ได้ไม่นาน ,ปริมาณน้ำในแม่น้ำ ลำคลองเพิ่มสูงขึ้น ,ท่อระบายน้ำต่างๆอุดตัน ฯลฯ 3. ความวิตกกังวลของประชาชน กับ สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ อันดับ 1 ค่อนข้างวิตกกังวล 37.40% เพราะ ไม่มั่นใจในการเตรียมการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ,ขณะนี้มีหลายพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันมาก ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ค่อยวิตกกังวล 35.43% เพราะ น้ำท่วมที่ผ่านมาเป็นบทเรียนครั้งสำคัญทำให้รู้ว่าจะต้องมีวิธีการป้องกัน หรือเตรียมการรับมือกับน้ำท่วมในปีนี้อย่างไร รัฐบาลน่าจะป้องกันน้ำท่วมได้ดีกว่าปีที่แล้ว ฯลฯ อันดับ 3 วิตกกังวลมาก 17.47% เพราะ ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบในทุกๆด้าน โดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ความทุกข์ยากในเรื่องที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินข้าวของเสียหาย การเดินทางลำบาก คนในครอบครัวเกิดความเครียดและกังวล ฯลฯ อันดับ 4 ไม่วิตกกังวล 9.70% เพราะ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เครียดไปก็เท่านั้น ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ ,ปีที่แล้วยังสามารถ ผ่านสถานการณ์น้ำท่วมมาได้ ฯลฯ 4. ความมั่นใจของประชาชน กับ การป้องกันแก้ไขน้ำท่วมของรัฐบาล อันดับ 1 ไม่น่าจะป้องกันได้ 40.07% เพราะ ปริมาณน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือและน้ำจากฝนตกชุกมีปริมาณมากทำให้เกิดการท่วมขังอย่างรวดเร็ว ,การระบายน้ำ เป็นไปได้ยาก ฯลฯ อันดับ 2 น่าจะป้องกันได้บ้าง 28.23% เพราะ ทั้งภาครัฐและประชาชนต่างมีการเตรียมการป้องกันไว้พอสมควร ในแต่ละพื้นที่มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์
น้ำอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ
อันดับ 3 ป้องกันไม่ได้ 26.34% เพราะ เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คิดว่าประชาชนน่าจะเจอกับสถานการณ์น้ำท่วมทุกๆปี แต่จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการเตรียมการป้องกัน ฯลฯ อันดับ 4 ป้องกันน้ำท่วมได้แน่นอน 5.36% เพราะ รัฐบาลมีเวลาในการศึกษาถึงแนวทางและการเตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหา มีการขุดลอกคูคลอง สร้างคันกั้นน้ำ
การทดสอบการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
อันดับ 1 รัฐบาลจะต้องเอาจริงเอาจังในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเต็มที่ 41.08% อันดับ 2 มีการแจ้งข่าวสารหรือการเตือนภัยเรื่องน้ำท่วมที่รวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง 20.33% อันดับ 3 การสั่งการหรือมอบหมายให้หน่วยงานในแต่ละพื้นที่มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง 14.23% อันดับ 4 การเตรียมการช่วยเหลือเรื่องถุงยังชีพ เรือ ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่พักอาศัยชั่วคราว ให้เพียงพอ 12.80% อันดับ 5 รัฐบาลจะต้องออกมาให้ข่าวหรือข้อมูลที่เป็นจริงกับประชาชนในเรื่องน้ำท่วมเป็นระยะๆ 11.56% --สวนดุสิตโพลล์--