สวนดุสิตโพลล์: “ทัศนะของสังคม” ต่อ “ผลคำพิพากษาศาลฎีกา”

ข่าวผลสำรวจ Monday October 15, 2012 07:21 —สวนดุสิตโพล

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณี “ทัศนะของสังคม” ต่อ “ผลคำพิพากษาศาลฎีกา” เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและแสวงหาฐานข้อมูลด้านความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,235 คน ระหว่างวันที่ 5-11 ตุลาคม 2555 สรุปผลดังนี้

1. “ความรู้ความเข้าใจ” ของประชาชนเกี่ยวกับ “ศาลฎีกา”
อันดับ 1          พอรู้และเข้าใจอยู่บ้าง             38.21%

เพราะ ระยะหลังมีข่าวเกี่ยวกับศาลฎีกาบ่อยขึ้น รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของศาลฎีกาจากสื่อต่างๆ ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่ค่อยมีความรู้และเข้าใจ          36.99%

เพราะ เป็นเรื่องไกลตัว พอได้ยินหรือรับฟังมาบ้างแต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมา ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่รู้และไม่เข้าใจเลย             13.42%

เพราะ เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ไม่มีเวลาที่จะศึกษาหรือติดตาม ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ

อันดับ 4          รู้และเข้าใจเป็นอย่างดี            11.38%

เพราะ เป็นเรื่องที่สนใจ เคยศึกษาและอ่านหนังสือกฎหมายมาพอสมควร เกี่ยวข้องกับการทำงาน ฯลฯ

2. การให้ความสำคัญ ต่อ “ศาลฎีกา” ของประชาชน
อันดับ 1          ให้ความสำคัญมาก              34.55%

เพราะ ศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีโดยตรง บทบาทหน้าที่ของศาลจึงต้องชัดเจน ยุติธรรม ฯลฯ

อันดับ 2          พอให้ความสำคัญอยู่บ้าง          34.15%

เพราะ ระยะหลังมีข่าวเกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดีของศาลฎีกาบ่อยขึ้น โดยเฉพาะคดีทางการเมืองที่มีผลต่อสังคมไทย ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ          24.80%

เพราะ คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับคนบางกลุ่ม คดีส่วนใหญ่ที่มาถึงชั้นศาลฎีกาคงจะเป็นคดีสำคัญๆ ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่ให้ความสำคัญ                6.50%

เพราะ ไม่เข้าใจเนื้อหารายละเอียด และคิดว่าไม่น่าจะมีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ฯลฯ

3. การให้ความสำคัญ ต่อ “ทัศนะหรือความเห็นของสังคม” ของประชาชน
อันดับ 1          พอให้ความสำคัญอยู่บ้าง          54.47%

เพราะ คนในสังคมต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป จะเลือกรับฟังหรือฟังจากผู้ที่มีความรู้จริง เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือ ฯลฯ

อันดับ 2          ให้ความสำคัญมาก              29.67%

เพราะ จะได้รู้ถึงความคิดเห็น ของคนส่วนใหญ่ว่าเป็นไปในทิศทางใด เป็นข้อมูลไว้สำหรับประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ          14.63%

เพราะ สังคมในปัจจุบันแบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก มีความคิดเห็นแบ่งข้างแบ่งฝ่าย การฟังความข้างเดียวไม่เปิดกว้าง ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่ให้ความสำคัญ                1.23%

เพราะ เชื่อมั่นในความคิดเห็นของตนเองมากกว่า มากคนยิ่งมากความ ฯลฯ

4. ความคิดเห็น ต่อ “ทัศนะหรือความเห็นของสังคม” ว่ามีผลต่อ “คำพิพากษา”ของ “ศาลฎีกา”
หรือไม่?อย่างไร?
อันดับ 1          ค่อนข้างมีผล                    42.04%

เพราะ ความคิดเห็นหรือเสียงสะท้อนจากสังคมมาจากประชาชนส่วนใหญ่ จึงควรรับฟังไว้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่ค่อยมีผล                     24.49%

เพราะ การพิจารณาตัดสินของศาลจะดูจากพยานหลักฐาน พยานวัตถุ และพยานบุคคลในการพิจารณามากกว่า ฯลฯ

อันดับ 3          มีผลอยู่มาก                     20.41%

เพราะ กระแสสังคมหรือเสียงสะท้อนของคนส่วนใหญ่สามารถกดดันหรือส่งผลต่อการพิจารณาของศาลได้ ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่มีผล                        13.06%

เพราะ คำพิพากษาตัดสินต่างๆจะต้องว่าไปตามตัวบทกฎหมายที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เอง ฯลฯ

5. ประชาชนมีความเชื่อถือ /เชื่อมั่น ต่อ “คำพิพากษา” ของ “ศาลฎีกา” มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          ค่อนข้างเชื่อถือ /เชื่อมั่น           46.34%

เพราะ เป็นคำพิพากษาที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วหลายขั้น ยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทย ฯลฯ

อันดับ 2          เชื่อถือ /เชื่อมั่นมาก              27.64%

เพราะ องค์คณะหรือผู้พิพากษามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีการตัดสินที่เป็นธรรม เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยเชื่อถือ /เชื่อมั่น            23.58%

เพราะ มีหลายคดีที่เห็นว่าผลการตัดสินไม่มีความยุติธรรม มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่เชื่อถือ /เชื่อมั่น                2.44%

เพราะ มีการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง ถูกกดดันจากสังคม ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ