สวนดุสิตโพลล์: “ควันหลงน้ำท่วม” กรณี วิวาทะระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร กับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี

ข่าวผลสำรวจ Monday October 15, 2012 07:27 —สวนดุสิตโพล

จากกรณีวิวาทะ ระหว่าง กทม.ที่นำโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร กับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กรณี “ถุงทราย” บริเวณท่อระบายน้ำ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกันเรียบร้อย และทางม.ร.ว.สุขุมพันธ์ก็ได้ออกมาชี้แจงถึงเหตุผลเพื่อให้ประชาชนคลายความกังวลใจเพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีความสนใจและติดตามข่าวนี้ จำนวน 1,143 คน ระหว่างวันที่ 9-13 ตุลาคม 2555 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน กรณีวิวาทะระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี
รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กรณี “ถุงทราย”
อันดับ 1          ไม่อยากเห็นทั้งสองฝ่ายต้องมาถกเถียงกัน อยากให้ร่วมมือกันทำงานเพื่อบ้านเมืองจะดีกว่า               54.20%
อันดับ 2          มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันหรือเกิดการเข้าใจผิด ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจเหตุผลซึ่งกันและกัน          30.69%
อันดับ 3          ไม่ควรนำเรื่องการเมืองมาโยงกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม /เล่นเกมการเมืองกันมากไป                   15.11%

2. ระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร (ผู้ว่าฯกทม.) กับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี (รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะประธาน กบอ.)
ประชาชนเชื่อใครมากกว่ากัน?
อันดับ 1          ไม่เชื่อทั้ง 2 ฝ่าย                            61.64%

เพราะ เป็นเกมการเมือง เป็นการทำงานที่ต่างขั้วกัน รอดูผลงานหรือผลที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมจะดีกว่า ฯลฯ

อันดับ 2          เชื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มากกว่า            22.65%

เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงาน รู้ปัญหาในพื้นที่ต่างๆของกทม.เป็นอย่างดี มีการติดตามและพยายามแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

อันดับ 3          เชื่อ นายปลอดประสพ สุรัสวดี มากกว่า            15.71%

เพราะ เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี อยู่ในตำแหน่งที่น่าเชื่อถือ ฯลฯ

3. กรณี วิวาทะครั้งนี้ ประชาชนคิดว่าแต่ละฝ่ายได้รับ “ผลดี” หรือ “ผลเสีย” อย่างไร?

(3.1) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

          ผลดี                                (%)                  ผลเสีย                           (%)
มีโอกาสได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆให้รับรู้    41.08      ประชาชนขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นในการทำงาน       43.33
แสดงให้เห็นถึงเทคนิคและวิธีการทำงานของกทม.        36.11      เสียเวลาในการทำงาน ต้องออกมาชี้แจงหลายๆครั้ง    36.25
เป็นการกระตุ้นและนำข้อท้วงติงมาปรับปรุงแก้ไข         22.81      ส่งผลต่อคะแนนนิยมจากประชาชน                  20.42

(3.2) พรรคประชาธิปัตย์

          ผลดี                                (%)                 ผลเสีย                            (%)
ถ้าผู้ว่าฯกทม.แก้ปัญหาได้ ก็ส่งผลดีต่อพรรคปชป.ด้วย      35.53      ส่งผลต่อคะแนนนิยมและฐานเสียงสำคัญในกทม.        49.55
เป็นโอกาสดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐบาล        34.29      เป็นประเด็นที่ทำให้พรรคปชป.ถูกโจมตีทางการเมือง    40.82
ได้รู้ถึงความนิยมต่อตัวผู้ว่าฯกทม.คนปัจจุบัน             30.18      เกิดความขัดแย้งภายในพรรคปชป.                  9.63

(3.3) นายปลอดประสพ สุรัสวดี

          ผลดี                                (%)                 ผลเสีย                             (%)
เป็นที่รู้จักและได้รับการพูดถึงจากสังคมมากขึ้น           37.43      เป็นการแทรกแซงการทำงานและจ้องจับผิดมากเกินไป    42.71
ได้รับความเชื่อถือและประชาชนไว้วางใจมากขึ้น         32.68      เป็นการคิดไปเองโดยไม่ได้พูดคุยกัน ด่วนสรุปเร็วเกินไป  38.30
เป็นการพิสูจน์ความรู้ความสามารถของตัวเอง           29.89      เป็นการสร้างศัตรูทางการเมือง                    18.99

(3.4) พรรคเพื่อไทย

          ผลดี                                (%)                 ผลเสีย                             (%)
พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอาจได้ทำงานร่วมกัน       45.46      เกิดการทะเลาะเบาะแว้งทางการเมือง              43.08
ได้เห็นบทบาทในการทำงานของนายปลอดประสพ         32.34      พรรคเพื่อไทยถูกพาดพิงและได้รับผลกระทบไปด้วย       36.65
พรรคเพื่อไทยอาจได้คะแนนนิยมตีตื้นขึ้นมา              22.20      ประสิทธิภาพและการทำงานของพรรคยังไม่ดีพอ         20.27

(3.5) ประชาชน

          ผลดี                                (%)                 ผลเสีย                             (%)
ได้เห็นถึงบทบาทและการทำงานของหลายๆฝ่าย          40.87      ไม่รู้จะเชื่อใครหรือหันหน้าไปพึ่งใครได้               53.92
ทำให้ประชาชนตื่นตัวและสนใจติดตามข่าวมากขึ้น         31.98      รู้สึกวิตกกังวลและไม่มั่นใจในการแก้ปัญหาน้ำท่วม        24.49
เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า     27.15      ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อของเกมการเมืองครั้งนี้       21.59

4.  ประชาชนคิดว่า “บทเรียน” ที่ได้รับจากการวิวาทะครั้งนี้  คือ
อันดับ 1    ความขัดแย้งหรือการทะเลาะกันไม่ส่งผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย มีแต่จะทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ไว้ใจ            54.66%
อันดับ 2    การทำงานต่างๆต้องมีการชี้แจงหรือพูดคุยกับหลายๆฝ่ายให้รับรู้และเข้าใจตรงกันก่อน                           24.43%
อันดับ 3    เป็นเรื่องของเกมการเมืองที่เอาความเดือดร้อนของประชาชนมาใช้ชิงความได้เปรียบเสียเปรียบกัน                20.91%

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ