** ประชาชน 93.37% เห็นว่า ควรส่งเสริม “วันลอยกระทง” ให้เป็นประเพณีไทยต่อไป สภาพสังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นสาเหตุให้วันลอยกระทงมีความสำคัญลดน้อยลง **
วันลอยกระทง เป็นประเพณีที่ดีงามของไทย แต่ในสภาพปัจจุบันการส่งเสริมหรือการสนับสนุนประเพณีไทยกลับบิดเบือนไปในเรื่องของเพศ จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทัศนะของคนเมือง กับ คนชนบท ที่มีต่อวันลอยกระทงจะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,332 คน ระหว่างวันที่ 22-27 พฤศจิกายน 2555 สรุปผลดังนี้
อันดับ การไปเที่ยว “ลอยกระทง” ภาพรวม เมือง ชนบท 1 ไป 49.33% 51.16% 47.50% เพราะ อยากไปลอยกระทง เป็นเทศกาลรื่นเริงที่มีเพียงปีละครั้ง ไปเป็นประจำทุกปี ยังให้ความสำคัญและเป็นการอนุรักษ์
ประเพณีไทยที่ดีงามนี้ไว้ เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ลอยทุกข์ลอยโศก ฯลฯ
2 ไม่ไป 40.81% 39.53% 42.08% เพราะ ไม่ชอบไปในที่ที่มีคนมาก รู้สึกแออัด เบียดเสียด สิ้นเปลืองเงินทอง กลัวอันตรายทั้งจากคน พลุ และดอกไม้ไฟ ฯลฯ 3 ไม่แน่ใจ 9.86% 9.31% 10.42% เพราะ รอดูก่อน ติดธุระ การเดินทางไม่สะดวก ยังไม่รู้ว่าจะไปลอยกระทงที่ไหน ฯลฯ 2. ประชาชนให้ความสำคัญ ต่อ “วันลอยกระทง” มากน้อยเพียงใด? อันดับ การให้ความสำคัญ ต่อ “วันลอยกระทง” ภาพรวม เมือง ชนบท 1 ให้ความสำคัญมาก 44.08% 31.91% 56.25% เพราะ เป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทยที่มีมายาวนาน อยากให้คนไทยทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้มีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ฯลฯ 2 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 42.77% 55.32% 30.21% เพราะ ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กทั้งจากที่บ้านและที่โรงเรียน หน่วยงานราชการต่างๆมีการจัดงานเป็นประจำทุกปี
เป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับครอบครัวได้ ฯลฯ
3 ไม่ค่อยให้ความสำคัญ 9.50% 10.68% 8.33% เพราะ ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ดูแลครอบครัว ไม่มีเวลาออกไปเที่ยว สนุกสนาน ฯลฯ 4 ไม่ให้ความสำคัญ 3.65% 2.09% 5.21% เพราะ ไม่ได้ลอยกระทงมานานแล้ว เทศกาลลอยกระทงในปัจจุบันนี้แทบจะกลายเป็นกิจกรรมของกลุ่มวัยรุ่นไปแล้ว ฯลฯ 3. “วันลอยกระทง” ณ วันนี้ มีอะไรบ้างที่แตกต่างจาก “วันลอยกระทง” ในอดีต ? อันดับ ความแตกต่าง ของ “วันลอยกระทง” ณ วันนี้ กับ อดีต ภาพรวม เมือง ชนบท 1 รูปแบบ/วิธีการลอยกระทง /การออกแบบ วัสดุที่ใช้ ราคาของกระทง 38.20% 34.48% 41.93% 2 ปัจจุบันเน้นความสนุกสนานรื่นเริงมากกว่าไปเพื่ออนุรักษ์หรือขอขมาพระแม่คงคา 35.31% 44.82% 25.80% 3 เป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่นำมาซึ่งการทะเลาะวิวาท เกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิต 13.24% 10.34% 16.13% 4 หนุ่มสาวมักชวนกันออกไปเที่ยวมากกว่าออกไปกับครอบครัว 8.17% 3.45% 12.90% 5 เป็นวันที่วัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ /พ่อแม่ต้องเป็นห่วงวิตกกังวล 5.08% 6.91% 3.24% 4. สาเหตุที่ทำให้ “วันลอยกระทง” มีความสำคัญลดน้อยลง อันดับ สาเหตุ ภาพรวม เมือง ชนบท 1 สภาพสังคมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนให้ความสนใจแต่วัฒนธรรมต่างชาติ 28.67% 18.64% 38.70% 2 ขึ้นอยู่กับความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมของแต่ละคนมากกว่า/การให้ความสำคัญของแต่ละคน 24.38% 27.12% 21.63% 3 สภาพเศรษฐกิจ ข้าวของแพง /สิ้นเปลืองเงินทอง 20.77% 25.42% 16.13% 4 ความวิตกกังวลจากภัยต่างๆ เช่น จี้ ปล้น ลวนลาม ทะเลาะวิวาท พลุ ดอกไม้ไฟ 17.30% 15.25% 19.35% 5 ขาดการส่งเสริม สนับสนุนอย่างจริงจัง/ ขาดการกระตุ้น ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี 8.88% 13.57% 4.19% 5. ประชาชนคิดว่าควรจะมีการส่งเสริม “วันลอยกระทง” เป็นประเพณีไทยต่อไปหรือไม่? อันดับ การส่งเสริม “วันลอยกระทง” ภาพรวม เมือง ชนบท 1 สมควรส่งเสริม 93.37% 93.18% 93.55% เพราะ เป็นประเพณีที่ดีงามของไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้สืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ให้ทั้งข้อคิดและให้เห็นคุณค่าของแม่น้ำ ฯลฯ 2 เฉยๆ 4.42% 4.55% 4.29% เพราะ ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญและความสนใจของแต่ละคน ลอยกระทงในปัจจุบันเป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า ฯลฯ 3 ไม่สมควรส่งเสริม 2.21% 2.27% 2.16% เพราะ บางคนถือโอกาสใช้วันนี้ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสียมากขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--