“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กรณี “พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ของคนกรุงเทพฯ” จำนวน 1,221 คน ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 55 — 4 ม.ค.56 เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง และแสวงหาฐานข้อมูลด้านความคิดเห็นของประชาชน สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 ค่อนข้างสนใจ 43.00%
เพราะ ตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ดูแลกทม. เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยสนใจ 26.54%
เพราะ เป็นการแย่งชิงตำแหน่งเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่อยากตั้งความหวัง กลัวจะผิดหวัง ฯลฯ
อันดับ 3 สนใจอย่างมาก 22.85%
เพราะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนกรุงเทพฯโดยตรง เป็นการสู้ศึกชิงตำแหน่งสำคัญระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่สนใจ 7.61%
เพราะ เบื่อ ไม่ชอบการเมือง ไม่ว่าใครเข้ามาเป็นผู้ว่าฯกทม.การทำงานก็ยังเหมือนเดิม ฯลฯ
อันดับ 1 ตัวผู้สมัคร 41.35% อันดับ 2 ทั้งพรรคการเมืองและตัวผู้สมัคร 30.45% อันดับ 3 พรรคการเมือง 27.98% อันดับ 4 นโยบาย/ผลงาน 0.22% 3. ระหว่าง “ผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง” กับ “ผู้สมัครอิสระ” คนกรุงเทพฯจะเลือกแบบใด? อันดับ 1 เลือกผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง 59.65%
เพราะ เลือกจากพรรคการเมืองที่ชอบ พรรคให้การสนับสนุนและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านต่างๆ ฯลฯ
อันดับ 2 เลือกผู้สมัครอิสระ 38.60%
เพราะ มีการทำงานเป็นอิสระ การทำงานคล่องตัว ไม่ต้องเกรงใจหรือขึ้นตรงกับใคร เป็นอีกทางเลือกหนี่ง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 1.75% 4. ระหว่าง “ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์” กับ “ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย” คนกรุงเทพฯคิดว่าใครได้เปรียบมากกว่ากัน อันดับ 1 ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบพอๆกัน 47.51%
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวผู้สมัคร นโยบายการทำงาน ความรู้ความสามารถ และการตัดสินใจของคนกทม. ฯลฯ
อันดับ 2 ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ได้เปรียบมากกว่า 28.11%
เพราะ เป็นพรรคที่มีฐานเสียงดีอยู่แล้ว คนกทม.ส่วนใหญ่ยังคงให้ความนิยมและเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคนี้ ฯลฯ
อันดับ 3 ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้เปรียบมากกว่า 24.38%
เพราะ เป็นพรรครัฐบาล การทำงานต่างๆน่าจะได้รับการช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุนที่ง่ายขึ้น ฯลฯ