เนื่องจากว่าสังคมไทยในระยะหลังห่วงเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจมากเกินไป ทำให้ละเลยปัญหาสังคม โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่มีข่าวอาชญากรรมเกิดขึ้นหลายคดีและเป็นที่ได้รับความสนใจจากสังคม เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่สนใจติดตามข่าวอาชญากรรมจากสื่อต่างๆ จำนวน 1,349 คน ระหว่างวันที่ 2-6 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 รู้สึกสลดหดหู่ เศร้าสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีหลากหลายรูปแบบและรุนแรงมากขึ้น 53.15% อันดับ 2 อาจเกิดจากการถูกบีบคั้น ได้รับความกดดันจากคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว มีปัญหาทางจิต 19.05% อันดับ 3 รู้สึกไม่ปลอดภัย ต้องระวังตัวมากขึ้น ภาครัฐต้องทบทวนเรื่องของกฎหมายบทลงโทษอย่างจริงจัง 14.27% อันดับ 4 คนในปัจจุบันห่างวัด ห่างศาสนา ไม่ได้รับการขัดเกลาจิตใจ ไม่มีศีลธรรมประจำใจ 13.53% 2. “สาเหตุ” ของ “การเกิดอาชญากรรม” ในทัศนะของประชาชน อันดับ 1 สภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม /มีปัญหาครอบครัว ติดยาเสพติด มีสิ่งยั่วยุ 54.28% อันดับ 2 สภาพอารมณ์ จิตใจที่ผิดปกติ มีอาการป่วยทางจิต 22.56% อันดับ 3 มีตัวอย่างให้เห็น ลอกเลียนแบบจากหนังหรือสื่อต่างๆที่นำเสนอข่าว 12.21% อันดับ 4 ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวดกวดขัน ไม่เอาจริงเอาจัง 10.95% 3. ทำอย่างไร? “ปัญหาอาชญากรรม” จึงจะลดลงหรือหมดไปจากสังคมไทย อันดับ 1 การดูแลเอาใจใส่ ความรักความห่วงใยจากคนในครอบครัว 39.75% อันดับ 2 มีมาตรการ กฎหมาย บทลงโทษที่เด็ดขาด เจ้าหน้าที่กวดขันเอาจริงเอาจัง 25.13% อันดับ 3 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือและช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังโดยเฉพาะรัฐบาล 21.92% อันดับ 4 สถานศึกษาต้องให้การศึกษาอบรม โดยนำหลักธรรมคำสอนมาช่วยชี้แนะในทางที่ถูกต้อง 13.20% 4. ใคร/หน่วยงานใด? ที่ควรเข้ามาดูแลรับผิดชอบ “ปัญหาอาชญากรรม” มากที่สุด อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 37.81%
ควรดำเนินการดังนี้ คือ หาสาเหตุพร้อมแนวทางในการป้องกันแก้ไข มีมาตรการที่เข้มงวดกวดขัน เจ้าหน้าที่เอาจริงเอาจังมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 รัฐบาล 24.95%
ควรดำเนินการดังนี้ คือ เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างอาชีพ ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เร่งแก้ไขอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับ 3 สถาบันครอบครัว 21.80%
ควรดำเนินการดังนี้ คือ ดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึกที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ฯลฯ
อันดับ 4 สถานศึกษา 10.09%
ควรดำเนินการดังนี้ คือ ควบคุมดูแลความประพฤติของเยาวชน ให้การศึกษาควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ดี ฯลฯ
อันดับ 5 สื่อมวลชน 5.35%
ควรดำเนินการดังนี้ คือ นำเสนอข่าวที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ ไม่มุ่งแต่ขายข่าวเพียงอย่างเดียว ติดตามตรวจสอบคดีที่สำคัญๆ ฯลฯ