ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งมักจะมีการทำโพลออกมาและคาดการณ์กันว่า ใคร?จะเป็นผู้ที่มีคะแนนนำหรือชนะการแข่งขัน โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ที่มีโพลต่างๆออกมาและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อ “โพล” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกทม. จำนวน 1,270 คน ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 เฉยๆ /เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีการเลือกตั้งก็จะมีผลโพลของสำนักต่างๆออกมาเสมอ 39.51% อันดับ 2 ควรมีวิจารณญาณในการรับฟังข้อมูลต่างๆ อย่าให้โพลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ 22.23% อันดับ 3 รู้สึกสงสัย แปลกใจกับผลโพลที่ออกมาไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน /ไม่เหมือนกัน 13.88% อันดับ 4 เป็นการชี้นำ สร้างกระแสให้กับสังคม ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม 12.60% อันดับ 5 โพลสามารถทำได้ แต่ควรเป็นไปตามหลักวิชาการ เป็นกลาง มีจรรยาบรรณ 11.78% 2. ท่านเชื่อ “ผลโพล” หรือไม่? อันดับ 1 พอเชื่อบ้าง 47.86%
เพราะ ดูจากความน่าเชื่อถือของแต่ละสถาบัน โพลเป็นที่รู้จักในสังคมมากขึ้น นำมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้บ้าง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยเชื่อ 20.40%
เพราะ บ่อยครั้งผลที่ออกมาไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ค้านกับความรู้สึก เป็นเพียงกระแสช่วงหนึ่งซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เชื่อ 18.52%
เพราะ ผลที่ออกมาไม่แม่นยำ ผิดพลาดบ่อย เป็นการชี้นำ เป็นโพลรับจ้าง ฯลฯ
อันดับ 4 เชื่อมาก 13.22%
เพราะ เป็นการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยและมีหลักวิชาการรองรับ ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่มีผล 35.89%
เพราะ ผลที่ออกมาไม่น่าเชื่อถือ ตัดสินใจไว้แล้วว่าจะเลือกใคร เชื่อความรู้สึกของตัวเองมากกว่าผลโพล ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างมีผล 29.60%
เพราะ บ่อยครั้งที่ผลโพลถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ค่อยมีผล 24.69%
เพราะ ไม่ค่อยได้ติดตามผลโพล การตัดสินใจเลือกผู้สมัครจะดูที่นโยบาย คุณสมบัติ และผลงานมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 4 มีผลมาก 9.82%
เพราะ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมออกมาให้รับรู้ ฯลฯ