สวนดุสิตโพลล์: “การแก้ปัญหาภัยใต้” ในสายตา

ข่าวผลสำรวจ Monday March 18, 2013 06:41 —สวนดุสิตโพล

**ประชาชนคาดหวังว่าถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้นจริง จะทำให้ลดความรุนแรงลงได้**

จากที่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาภัยใต้ โดยการที่จะเจรจากับกลุ่ม BRN รอบใหม่ในวันที่ 28 มีนาคมนี้ขณะที่หลายฝ่ายต่างจับตาดูการเจรจาครั้งนี้ว่าจะสามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและแสวงหาฐานข้อมูลด้านความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพฯและประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,569 คน (กทม. 1,037 คน 66.09% 3 จังหวัดภาคใต้ 532 คน 33.91%) ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2556 สรุปผลได้ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “สถานการณ์ภัยใต้” ในปัจจุบัน
อันดับ                                                             ภาพรวม          กทม.        ภาคใต้
1          สถานการณ์น่าเป็นห่วง มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น                   64.32%         67.25%       67.12%
2          เป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่แก้ไขได้ยาก ควรหาทางแก้โดยเร็ว       24.05%         23.98%       26.03%
3          รู้สึกสงสารและเห็นใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะครู นักเรียน ทหาร  11.63%          8.77%        6.85%

2. จากที่ภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาภัยใต้ โดยการที่จะเจรจากับกลุ่ม BRN ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร?
อันดับ                     ภาพรวม            กทม.          ภาคใต้
1          เห็นด้วย        57.57%          63.59%          42.11%

เพราะ เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่น่าจะเหมาะสม จะได้รู้ข้อมูลข้อเท็จจริงมากขึ้น ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ฯลฯ

2          ไม่เห็นด้วย      25.46%          24.62%          27.63%

เพราะ เป็นการเจรจาเพียงกลุ่มเดียว ควรรับฟังความเห็นจากหลายๆกลุ่ม อาจแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ฯลฯ

3          เฉยๆ          16.97%          11.79%          30.26%

เพราะ เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ไม่ว่าจะแก้ด้วยวิธีใดก็ไม่น่าจะทำได้สำเร็จ ฯลฯ

3. การเจรจาครั้งนี้กับกลุ่ม BRN ที่จะมีตัวแทนต่างๆเข้าร่วม ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จ ประชาชนคิดว่าควรจะมีกลุ่มใดบ้างที่เข้าร่วมเจรจา
อันดับ                               ภาพรวม          กทม.          ภาคใต้
1          ผู้แทนภาคประชาชน          30.89%          27.95%        37.70%
2          ทหาร ตำรวจ              22.55%          23.78%        19.37%
3          นักวิชาการ                15.40%          15.80%         8.38%
4          นักการเมือง               13.45%          13.72%        12.30%
5          ข้าราชการ                 9.50%          10.85%         9.16%
6          NGO                      4.75%           5.38%         4.71%
อื่นๆ        ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ครู ฯลฯ  3.46%           2.52%         8.38%

4. ประเด็นใด? ที่ประชาชนอยากให้มีการพูดคุยในการเจรจาครั้งนี้  ที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้
อันดับ                                                    ภาพรวม           กทม.          ภาคใต้
1          หาข้อตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา /หาทางออกที่ดีที่สุด      31.39%          33.09%         35.14%
2          ขอให้เห็นแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และได้รับความเดือดร้อน   26.86%          30.22%         14.86%
3          ความต้องการ /สิ่งที่อยากให้รัฐบาลไทยดำเนินการ        21.36%          17.27%         24.32%
4          อยากให้วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาร่วมกัน             15.86%          15.82%         20.27%
5          ไม่อยากเห็นความรุนแรง ความขัดแย้งเกิดขึ้น             4.53%           3.60%          5.41%

5. ประชาชนคิดว่าถ้ามีการเจรจาต่างๆขึ้นจริง จะทำให้ภัยใต้ที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร
อันดับ                              ภาพรวม           กทม.            ภาคใต้
1          ลดความรุนแรงลง          42.03%          41.97%          34.21%

เพราะ ได้แนวทางในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน สถานการณ์ต่างๆอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ฯลฯ

2          คงจะไม่ค่อยได้ผล          27.59%          25.91%          30.26%

เพราะ เป็นการเจรจาแค่เพียงกลุ่มเดียว อาจไม่ครอบคลุมปัญหาทั้งหมด ฯลฯ

3          สงบได้เร็วขึ้น             17.47%          23.32%           5.27%

เพราะ มีการพูดคุยหาข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ เกิดความร่วมมือจากทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ

4          คงไม่ได้ผล               12.91%           8.80%          30.26%

เพราะ เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานานและยากที่จะแก้ไขได้ ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ