จากเหตุการณ์ระเบิดหน้า ม.รามคำแหง จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและร้านค้าได้รับความเสียหายอย่างมาก เพื่อเป็นการ สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเฉพาะผู้ที่รู้เรื่องหรือติดตามเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นและประชาชนที่พักอาศัยบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ (ย่านรามคำแหง) จำนวน 1,019 คน ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 รู้สึกตกใจ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ 40.54% อันดับ 2 เป็นการกระทำของผู้ไม่หวังดีที่ต้องการสร้างสถานการณ์ สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง 23.85% อันดับ 3 รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ไม่กล้าไปในแหล่งที่มีคนพลุกพล่าน 20.71% อันดับ 4 อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งค้นหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว อยากรู้ข้อเท็จจริง 14.90% 2. ประชาชนคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะมาจาก “สาเหตุ” อะไร? อันดับ 1 ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าขาย 42.13% อันดับ 2 ต้องการก่อกวน สร้างกระแส สร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง 25.06% อันดับ 3 ไม่แน่ใจ ยังตอบไม่ได้ ยังไม่รู้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนพอ 21.07% อันดับ 4 น่าจะมาจากปัญหาการเมืองที่มีความขัดแย้งกัน 11.74% 3. ประชาชนคิดว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวข้องกับ “การเมือง” หรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 49.16%
เพราะ ยังไม่รู้สาเหตุ ข้อเท็จจริง ควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวคนร้ายให้ได้ก่อน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง 36.03%
เพราะ น่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า จุดเกิดเหตุเป็นแหล่งค้าขายและใกล้สถานศึกษา
ไม่น่าเกี่ยวข้องกับการเมือง ฯลฯ
อันดับ 3 เกี่ยวข้องกับการเมือง 14.81%
เพราะ เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อกลบกระแสข่าวทางการเมือง ต้องการเบี่ยงเบนความสนใจ ฯลฯ
อันดับ 1 ประชาชนรู้สึกกลัว หวาดระแวง ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 51.22% อันดับ 2 พ่อค้าแม่ค้าบริเวณที่เกิดเหตุค้าขายไม่ได้ สูญเสียรายได้ กระทบต่อธุรกิจ 30.76% อันดับ 3 ความเชื่อมั่นที่มีต่อการทำงานของภาครัฐและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจลดน้อยลง 11.95% อันดับ 4 ชาวต่างชาติขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้ามาเที่ยวในประเทศไทย 6.07% 5. “แนวทาง/วิธีการป้องกัน” ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นอีก คือ อันดับ 1 ประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล แจ้งเบาะแสเมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติ 30.27% อันดับ 2 ภาครัฐมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวด สั่งการลงไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดูแลอย่างจริงจัง 26.12% อันดับ 3 เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในบริเวณที่มีความเสี่ยงหรือเป็นพื้นที่สำคัญ /ติดตั้งกล้อง CCTV 24.28% อันดับ 4 เร่งหาตัวคนร้ายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระเบิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว 19.33% --สวนดุสิตโพลล์--