จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร โดยเฉพาะเรื่องหนี้เสียที่เกิดมากจากการหละหลวมในการทำงาน ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถาม “คนทำงานธนาคารที่ติดตามชม / ฟัง การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” โดยสำรวจจากธนาคารสาขาต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 684 คน ในวันที่ 17 ธันวาคม 2542 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ข้อมูลเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ที่ได้จากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับที่ 1 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารพอสมควร 79.54%
อันดับที่ 2 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารมาก 10.93%
อันดับที่ 3 ไม่ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารเลย 9.53%
2. ประโยชน์เกี่ยวกับธนาคารที่คิดว่าได้รับจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
อันดับที่ 1 รู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารอย่างแท้จริงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 26.16%
อันดับที่ 2 มีประโยชน์น้อย และสร้างความสับสนให้กับประชาชนมากขึ้น 24.40%
อันดับที่ 3 การระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น 14.16%
อันดับที่ 4 รู้ถึงการจัดชั้นหนี้เสีย (NPL) 10.34%
อันดับที่ 5 รู้ถึงการบริหารงานของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง 8.29%
อันดับที่ 6 รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทิศทางในอนาคตของธนาคาร 6.64%
อันดับที่ 7 รู้ถึงการตรวจสอบธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ 5.43%
อันดับที่ 8 รู้ถึงสภาวะทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.58%
--สวนดุสิตโพล--
1. การรับรู้ข้อมูลเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ที่ได้จากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับที่ 1 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารพอสมควร 79.54%
อันดับที่ 2 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารมาก 10.93%
อันดับที่ 3 ไม่ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารเลย 9.53%
2. ประโยชน์เกี่ยวกับธนาคารที่คิดว่าได้รับจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
อันดับที่ 1 รู้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารอย่างแท้จริงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 26.16%
อันดับที่ 2 มีประโยชน์น้อย และสร้างความสับสนให้กับประชาชนมากขึ้น 24.40%
อันดับที่ 3 การระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น 14.16%
อันดับที่ 4 รู้ถึงการจัดชั้นหนี้เสีย (NPL) 10.34%
อันดับที่ 5 รู้ถึงการบริหารงานของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง 8.29%
อันดับที่ 6 รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทิศทางในอนาคตของธนาคาร 6.64%
อันดับที่ 7 รู้ถึงการตรวจสอบธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ 5.43%
อันดับที่ 8 รู้ถึงสภาวะทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.58%
--สวนดุสิตโพล--