จากที่รัฐบาลประกาศปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกปี 56 ลงเหลือ 12,000 บาท/ตัน จาก 15,000 บาท/ตัน และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 56 พร้อมจำกัดวงเงินการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรไว้ที่ไม่เกินรายละ 500,000 บาท โดยคาดว่าจะขาดทุนปีละ ไม่ถึง 1 แสนล้านบาท เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและเพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยกันหาทางออกให้กับรัฐบาล “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,310 คน ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 59.16%
เพราะ ส่งผลกระทบต่อชาวนาซึ่งได้รับความเดือดร้อนโดยตรง เนื่องจากมีการลงทุนซื้อปุ๋ย ซื้อยา
ค่าน้ำมันไปแล้ว ชาวนาต้องสูญเสียรายได้ ขาดทุน ควรแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงจะดีกว่าไม่ใช่มาแก้ที่ปลายเหตุ ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 25.19%
เพราะ ช่วยลดภาระของรัฐบาลที่แบกรับมานาน ราคาที่ตั้งไว้ 15,000 บาทสูงเกินไป ควรอิงกับราคาของตลาด
จะได้ ไม่ขาดทุนหรือมีการทุจริตเกิดขึ้นในโครงการ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 15.65%
เพราะ ถึงอย่างไรชาวนาก็ยังปลูกข้าวตามปกติ จำนวนข้าวที่เหลือกับข้าวที่กำลังเก็บเกี่ยวรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
ควรศึกษาให้รอบคอบดูต้นทุนการผลิตด้วยว่าชาวนาต้องจ่ายไปเท่าไหร่ และดูสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกด้วย ฯลฯ
อันดับ 1 เห็นด้วย 42.75%
เพราะ รัฐบาลสามารถควบคุมการใช้เงินได้ โครงการจะได้ดำเนินต่อไป ทั้งรัฐบาลและชาวนาควรจะช่วยเหลือกัน
คนละครึ่งทาง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 35.11%
เพราะ เรื่องที่เกิดขึ้นมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล ไม่ควรแก้ปัญหาโดยให้ชาวนาต้องได้รับความเดือดร้อน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 22.14%
เพราะ ชาวนาแต่ละรายปลูกข้าวในแต่ละปีมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน ควรอิงราคาตลาดและดูสถานการณ์ของ
เศรษฐกิจโลกก่อน ฯลฯ
อันดับ 1 เร่งดำเนินการกับผู้ที่กระทำความผิด ผู้ที่ทุจริต สวมสิทธิ์ โกงตาชั่ง โกงความชื้น 29.96% อันดับ 2 ควรมีมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดครั้งนี้ 23.82% อันดับ 3 รัฐบาลต้องลงพื้นที่ด้วยตนเอง ชี้แจงข้อมูล เหตุผลต่างๆให้ชาวนาได้เข้าใจถึงความจำเป็นอย่างละเอียด 20.94% อันดับ 4 ควรลดต้นทุนการผลิต ควบคุมราคาปุ๋ย น้ำมัน พัฒนาแหล่งน้ำแทนจะดีกว่า 17.68% อันดับ 5 เร่งหาตลาดเพื่อระบายข้าวที่ยังมีอยู่ให้หมดไป ก่อนที่ข้าวจะเน่าและขาดทุนมากกว่านี้ 7.60%
--สวนดุสิตโพลล์--