สวนดุสิตโพลล์: 10 บทเรียนที่ได้ กรณี ความขัดแย้งทางการเมืองของอียิปต์

ข่าวผลสำรวจ Monday August 19, 2013 07:50 —สวนดุสิตโพล

จากสถานการณ์รุนแรงในอียิปต์ โดยมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 2,000 คน และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก จากการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงไคโรและกีซ่า ขณะที่รัฐบาลอียิปต์ได้ประกาศมาตรการเคอร์ฟิว เพื่อหาทางสยบเหตุการณ์รุนแรงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อมาใช้เป็นบทเรียนในเรื่องความขัดแย้งในไทย“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวจลาจลในอียิปต์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,024 คน ระหว่าง วันที่ 15-17 สิงหาคม 2556 สรุปผลดังนี้

- จากกรณีความขัดแย้งทางการเมืองของอียิปต์ ประชาชนคิดว่าสามารถนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาใช้เป็นบทเรียนในเรื่องความขัดแย้งในไทยได้อย่างไรบ้าง? โดยเฉพาะการที่จะหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งของไทยขณะนี้
อันดับ 1   ความแตกต่างทางความคิด ไม่รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกันนำมาสู่ความแตกแยกในสังคม                    91.39%
อันดับ 2   การแสวงหาผลประโยชน์ ใช้อำนาจในทางที่ผิด ทุจริตคอรัปชั่นไม่ส่งผลดีต่อประเทศชาติ                  80.64%
อันดับ 3   การประท้วง ใช้กำลังและความรุนแรงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา มีแต่จะเกิดความสูญเสียตามมา                  76.34%
อันดับ 4   การบริหารบ้านเมืองที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่พัฒนา นำมาสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง                         73.12%
อันดับ 5   ความสามัคคี เห็นอกเห็นใจ การร่วมมือกันของทุกฝ่ายจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้                         72.04%
อันดับ 6   ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล ความเชื่อมั่น การลงทุนฟื้นตัวยาก                       65.59%
อันดับ 7   ประชาชนอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหดหู่ เสียใจและไม่มีความสุข                       60.22%
อันดับ 8   การปกครองระบอบประชาธิปไตยควรทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง                     55.91%
อันดับ 9   เป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยเกิดความโกรธแค้น เกลียดชังและออกมาต่อสู้กับรัฐบาล                  44.09%
อันดับ 10   การฟื้นฟูประเทศ การช่วยเหลือเยียว ฟื้นฟูสภาพจิตใจต้องใช้เวลานาน                             41.94%

--สวนดุสิตโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ