“เทศกาลกินเจ” มีบทบาทในสังคมการบริโภคของคนไทยมากพอสมควร ทุกครั้งที่ถึงช่วงกินเจ กระแสตอบรับจากสังคมการบริโภคมีผลต่อราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะผักที่แพงขึ้นและกระทบในส่วนของวัตถุดิบอื่นๆด้วย เพื่อสำรวจกระแสการกินเจของ “คนที่กินเจ” และ “คนที่ไม่กินเจ” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน ระหว่างวันที่ 2-5 ตุลาคม 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 เป็นเทศกาลที่ดีของชาวจีนที่สืบทอดมายาวนานและมีหลายประเทศที่มีเทศกาลนี้ 33.61% อันดับ 2 เป็นโอกาสอันดีที่ได้สร้างบุญ สร้างกุศลให้กับตนเอง เป็นการทำบุญที่ดี 21.14% อันดับ 3 การกินเจช่วยให้สุขภาพดีและมีจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใสมากขึ้น 20.55% อันดับ 4 กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้พ่อค้าแม่ค้าและเกษตรกรที่ปลูกผักผลไม้มีรายได้ดีขึ้น 13.98% อันดับ 5 คนที่กินเจมีทั้งกินเป็นประจำทุกปีและกินตามกระแส มีอาหารเจให้เลือกหลากหลาย 10.72% 2. ทำไม? ประชาชนจึง “กินเจ” อันดับ 1 อยากได้บุญและเป็นการสร้างกุศลให้กับตนเอง 40.36% อันดับ 2 เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน อยากรักษาสิ่งดีๆนี้ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป 25.64% อันดับ 3 เพื่อสุขภาพที่ดี เป็นการชำระล้างร่างกาย 12.59% อันดับ 4 มีเชื้อสายจีน ที่บ้านกินเจเป็นประจำทุกปี 11.08% อันดับ 5 กินตามกระแส อาหารเจหลากหลาย น่ากิน 10.33% 3. ทำไม? ประชาชนจึง “ไม่กินเจ” อันดับ 1 ไม่ชอบกิน ไม่ชอบรสชาติ ไม่ชอบกินผัก ชอบกินเนื้อสัตว์ 36.88% อันดับ 2 ไม่ได้มีเชื้อสายจีนและที่บ้านก็ไม่มีใครกินเจ 18.41% อันดับ 3 ผัก ผลไม้มีราคาแพง ไม่อยากโดนพ่อค้าแม่ค้าเอาเปรียบ 16.60% อันดับ 4 ไม่อยากกินตามกระแส หรือคิดว่าเป็นการกินเพื่อให้ได้บุญ 15.13% อันดับ 5 อาหารเจหาซื้อยาก ไม่สะดวก 12.98%
--สวนดุสิตโพลล์--