ที่นายธีรยุทธ์ บุญมี และนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยในโอกาสครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ต่างเป็นที่จับตามองและเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มคนต่างๆในสังคมอย่างกว้างขวาง การวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงหรือมุ่งเน้นแต่ความคิดเห็นของตนเองเป็นสำคัญโดยไม่พิจารณาข้อมูลให้รอบด้านอาจส่งผลกระทบตามมาภายหลังได้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,136 คน ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2556 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 ไม่เป็นกลาง บิดเบือนจากข้อเท็จจริง 34.25% อันดับ 2 มีการกระทบกระทั่งรุนแรงมากขึ้น ใช้คำพูดเสียดสี หยาบคาย 28.73% อันดับ 3 ต้องการสร้างกระแสให้กับตนเองและให้สังคมหันมาสนใจ 19.89% อันดับ 4 มีลักษณะการพูดโน้มน้าว ชี้นำ ให้ประชาชนเชื่อหรือคล้อยตาม 11.60% อันดับ 5 ควรนำเสนอวิธีแก้หรือทางออกที่เป็นรูปธรรมด้วย 5.53% 2. จากกลุ่มบุคคลต่อไปนี้ ประชาชน “ชอบ” “การวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองไทย” ของใคร? มากที่สุด อันดับ 1 ประชาชนทั่วไป 79.58% เพราะ เป็นกลุ่มคนที่สะท้อนปัญหาออกมาได้ดี นักการเมืองสามารถนำมากำหนดนโยบาย แนวทางการแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด ฯลฯ อันดับ 2 สื่อมวลชน 76.76% เพราะ มีข้อมูลละเอียด เจาะลึก เกาะติดสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ อันดับ 3 นักวิชาการ 73.24% เพราะ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีความรู้ความสามารถ ทฤษฎีและข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษา ฯลฯ อันดับ 4 เอกชน /องค์กรอิสระ 69.72% เพราะ เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่เข้าข้างใคร ไม่ถูกชี้นำทางความคิด ฯลฯ อันดับ 5 ข้าราชการ 59.15% เพราะ เป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย รู้และเข้าใจปัญหาการเมืองดี ฯลฯ อันดับ 6 นักการเมือง 53.52% เพราะ มีรูปแบบ ลีลาการวิพากษ์วิจารณ์ที่น่าสนใจ สร้างสีสันได้ดี ฯลฯ 3. “จุดเด่น” การวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองไทย ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 การวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่จะหยิบยกประเด็นหรือเรื่องที่สังคมสนใจที่กำลังอยู่ในกระแสมาพูด 32.50% อันดับ 2 คนในสังคมปัจจุบันสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้จากหลายช่องทาง โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียส์ มีบทบาทมากขึ้น 21.25% อันดับ 3 เป็นอิสระ เปิดกว้าง สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ 19.38% อันดับ 4 เน้นการดึงจุดอ่อน ข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ผิดพลาดมาพูด 15.00% อันดับ 5 ผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ หรือผู้ที่มีชื่อเสียงมีความรู้ความสามารถ ได้รับการยอมรับจากสังคม 11.87% 4. “จุดอ่อน” การวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองไทย ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 บางครั้งการออกมาวิพากษ์วิจารณ์เร็วเกินไป ทำให้ขาดการรับฟังข้อมูลข่าวสารที่ไม่ครบถ้วนหรือรอบด้าน 39.18% อันดับ 2 เป็นการออกมาโจมตี ตอกย้ำ มากกว่าเน้นเรื่องเหตุและผล 20.52% อันดับ 3 เป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับสังคมมากขึ้น ประชาชนอาจเกิดการเข้าใจผิด 16.79% อันดับ 4 การออกมาพูดเพื่อความสนุกปาก สะใจ โดยไม่สนใจผลที่จะตามมา 13.43% อันดับ 5 เป็นการพูดเพื่อหวังผลประโยชน์หรือทำเพื่อพวกพ้องมากกว่า 10.08% 5. ทำอย่างไร? “การวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองไทย” จึงจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ อันดับ 1 วิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เน้นเนื้อหาสาระและข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ 30.41% อันดับ 2 ต้องเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช้ความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก 25.15% อันดับ 3 ต้องคำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ และไม่สร้างความวุ่นวายให้กับสังคม 20.47% อันดับ 4 ควรให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทาง วิธีการแก้ไขหรือทางออกที่เป็นรูปธรรมชัดเจน 17.54% อันดับ 5 ต้องมีสติ ใช้เหตุผล มีวิจารณญาณในการรับฟังข้อมูลข่าวสาร ไม่ด่วนสรุป 6.43%
--สวนดุสิตโพลล์--