สืบเนื่องจากเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะ สมุทรปราการ เนื้อที่ 400 ไร่ ใน ต.แพรกษา จ.สมุทรปราการ โดยเพลิงได้ลุกลามอย่างหนักกินพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้เกิดควันปกคลุมไปรอบรัศมีหลายกิโลเมตร เป็นเหตุให้ชาวบ้าน 200 กว่าครัวเรือนต้องอพยพไปพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพ อบต.แพรกษา เป็นการชั่วคราว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนภายในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนภายในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 262 คน ระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ความเห็นประโยชน์ส่วนตน/ความมักง่ายของผู้ประกอบการ/โรงงานอุตสาหกรรม 33.62 % อันดับ 2 คนในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน 22.41 % อันดับ 3 อากาศเสีย/อากาศเป็นพิษส่งผลร้ายต่อสุขภาพ 15.52 % อันดับ 4 หน่วยงานและผู้รับผิดชอบไม่ควบคุมดูแล 12.50 % อันดับ 5 ขาดการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง/ไม่แยกประเภทขยะ 9.49 % อื่นๆ ไม่ควรมีบ่อขยะใกล้ชุมชน, มีผู้มาวางเพลิง, การท่องเที่ยวลดลง 6.46 % 2.ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบคิดว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ่อขยะครั้งนี้ คือ อันดับ 1 การสะสมของขยะอันตราย/สารเคมี/แก๊สพิษจำนานมาก 38.49 % อันดับ 2 อากาศร้อน 19.72 % อันดับ 3 ความเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ/โรงงานอุตสาหกรรม 15.96 % อันดับ 4 ความประมาท ไม่ระมัดระวัง การไม่เข้ามาดูแลของหน่วยงานและผู้รับผิดชอบ 12.68 % อันดับ 5 ความตั้งใจในการเผาทำลายขยะ 8.92 % อื่นๆ ไม่มีการคัดแยกขยะประเภทอันตรายและขยะทั่วไป, มีผู้มาวางเพลิง 4.23 % 3.ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้รับความเดือดร้อนจากไฟไหม้บ่อขยะครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ได้รับมลพิษจากควัน และกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้น 37.10 % อันดับ 2 ไม่สามารถอยู่อาศัยที่บ้านได้ 19.79 % อันดับ 3 ร่างกายสะสมมลพิษอาจเกิดโรคในระยะยาว 15.90 % อันดับ 4 ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ 12.72 % อันดับ 5 อากาศเสีย/อากาศเป็นพิษ 10.24 % อื่นๆ ปัญหาการจราจรติด, การท่องเที่ยวลดลง, สุขภาพจิตเสีย, เจ็บตา แสบตา 4.25 % 4.ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเสนอวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะนี้อีก คือ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่รัฐต้องมีมาตรการทางกฎหมายและบทลงโทษที่เข้มงวดมากกว่านี้ 32.96 % อันดับ 2 มีการจัดระบบในการทิ้งขยะที่ถูกวิธี และได้มาตรฐานแยกขยะสารเคมีกับขยะทั่วไป 21.24 % อันดับ 3 มีการเฝ้าระวังป้องกันบ่อขยะใหญ่อื่นๆ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก 18.99 % อันดับ 4 ไม่ควรมีบ่อขยะขนาดใหญ่ในแหล่งชุมชนและที่พักอาศัย 11.73 % อันดับ 5 ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการทิ้งขยะ 8.38 % อื่นๆ หน่วยงานและผู้รับผิดชอบควรเข้ามาจัดการให้ถูกต้อง, มีการแยกขยะก่อนทิ้ง, มีที่เก็บขยะที่มีมาตรฐาน 6.70 % 5. ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้รับบทเรียนจากกรณีไฟไหม้บ่อขยะครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ภาครัฐและชุมชนช่วยกันดูแลและมีมาตรการในการป้องกัน 33.33 % อันดับ 2 เกิดความเดือดร้อนกับชุมชนและบริเวณใกล้เคียง 21.54 % อันดับ 3 ความมักง่ายและเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว 15.38 % อันดับ 4 เกิดมลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพ 14.87 % อันดับ 5 ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากขยะ 9.23 % อื่นๆ ไม่ควรมีบ่อขยะในชุมชน, กระทบต่อรายได้ ชีวิตและทรัพย์สิน,ขาดหน่วยงานที่ดูแลและผู้รับผิดชอบ, 5.65 % ความไม่ได้มาตรฐานของบ่อขยะ
--สวนดุสิตโพลล์--