ประเพณีวันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 โดยเป็นวันที่ประชาชนออกมาลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคา และอธิษฐานขอพรต่างๆ รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อประเพณีลอยกระทง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,268 คน ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ไป 58.68% เพราะ เป็นเทศกาลรื่นเริง สนุกสนาน มีเพียงปีละครั้ง ไปเป็นประจำทุกปี ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นการร่วมอนุรักษ์ประเพณีไทย ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ไป 29.25% เพราะ ติดธุระ ไม่มีเวลา กลัวอันตราย คนแออัด ไม่ชอบเบียดเสียด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ปีนี้ตรงกับวันธรรมดาไม่เป็นวันหยุด ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 12.07% เพราะ รอดูก่อน กลัวฝนตก ยังไม่รู้ว่าจะสะดวกหรือไม่ สถานที่จัดงานอยู่ไกล ฯลฯ 2. การให้ความสำคัญ “ประเพณีลอยกระทง” ของประชาชน อันดับ 1 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 48.42% เพราะ ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เป็นกิจกรรมที่ครอบครัวได้ทำร่วมกัน มีเพียงปีละครั้ง ฯลฯ อันดับ 2 ให้ความสำคัญมาก 30.36% เพราะ เป็นประเพณีที่ดีงาม ได้สืบสานวัฒนธรรมของไทย ได้มีโอกาสขอขมาและอธิษฐานขอพรต่อพระแม่คงคา ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ค่อยให้ความสำคัญ 18.85% เพราะ เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่ง คนไทยให้ความสำคัญกับความสนุกสนานรื่นเริงมากกว่าการอนุรักษ์ประเพณีไทย ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคน ฯลฯ อันดับ 4 ไม่ให้ความสำคัญเลย 2.37% เพราะ วัฒนธรรมประเพณีไทยบิดเบือนจากเดิมไปมาก การอนุรักษ์แม่น้ำลำคลองและการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าควรทำทุกวัน ฯลฯ 3. “เหตุผล” ในการเข้าร่วมเทศกาลลอยกระทงของประชาชน คือ อันดับ 1 เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย 83.76% อันดับ 2 เพื่อขอขมาพระแม่คงคา 79.01% อันดับ 3 เพื่อความสนุกสนาน 52.77% อันดับ 4 เป็นโอกาสพิเศษที่ได้อยู่กับคนรัก 40.82% 4. สิ่งที่ประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับ “ประเพณีลอยกระทงของไทย” คือ อันดับ 1 ประเพณีดั้งเดิมที่ดีงามหายไป เกิดการมั่วสุม เมาสุรา ทะเลาะวิวาท 80.68% อันดับ 2 อุบัติเหตุจากพลุ ดอกไม้ ประทัด ไฟไหม้ 79.18% อันดับ 3 แม่น้ำลำคลองเน่าเสียสกปรก เกิดขยะมูลฝอยจำนวนมากจากการลอยกระทง 75.00% อันดับ 4 กลัวอันตรายจากโจรผู้ร้าย มิจฉาฉีพ ฉกชิงวิ่งราว ล้วงกระเป๋า 59.38% อันดับ 5 อาจเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เช่น ตกน้ำ จมน้ำ แพล่ม เรือล่ม 55.28% 5. ในฐานะคนไทย จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงได้อย่างไร อันดับ 1 ประดิษฐ์กระทงและใช้กระทงจากวัสดุที่ย่อยสลายง่าย ไม่ทำลายธรรมชาติ เช่น ใบตอง ขนมปัง 70.11% อันดับ 2 ถ่ายทอดบอกเล่าให้ลูกหลานได้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และเห็นคุณค่าของแม่น้ำลำคลอง 65.69% อันดับ 3 เข้าร่วมประเพณีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี พาครอบครัว ชักชวนเพื่อนไปร่วมงาน 63.09% อันดับ 4 แต่งกายสุภาพ ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสม ถูกกาลเทศะ 61.04% อันดับ 5 ช่วยประชาสัมพันธ์ เชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้รู้จักประเพณีลอยกระทง 58.04% 6. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึง “กระทรวงวัฒนธรรม” ในฐานะที่ดูแลวัฒนธรรมประเพณีไทยโดยตรง อันดับ 1 เป็นแม่งานหรือเจ้าภาพหลักในการจัดงานทั่วประเทศ จัดงานที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม สานต่อประเพณีที่ดีงาม 77.92% อันดับ 2 ดูแลเรื่องความปลอดภัยของคนที่มาร่วมงานวันลอยกระทง 74.13% อันดับ 3 เป็นผู้นำในการเผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีไทย 71.77% อันดับ 4 ปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน 67.35% อันดับ 5 กระทรวงวัฒนธรรมควรส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมติดตามประเมินผลงานอย่างใกล้ชิด 62.62%
--สวนดุสิตโพล--