จากกระแสข่าวเรื่องการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย. กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีทั้งผู้ที่อยากให้รับและไม่อยากให้รับ โดยต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลในการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,206 คน ระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2558 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ 84.62% อันดับ 2 การเลือกตั้งเร็วขึ้น เป็นไปตามโรดแมปที่วางไว้ 78.46% อันดับ 3 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปิดโอกาสให้นายกฯคนนอกเข้ามา ลดการทุจริต คอรัปชั่น 72.77% (1.2) ผลเสีย คือ อันดับ 1 เกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้งในสังคม 83.69% อันดับ 2 ไม่เป็นประชาธิปไตย การเมืองไม่มีเสถียรภาพ 73.54% อันดับ 3 พรรคการเมือง /ส.ส. ได้รับผลกระทบโดยตรง 71.20% (1.3) ผลกระทบต่อบ้านเมือง คือ อันดับ 1 ผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง 80.18% อันดับ 2 ภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาต่างชาติดีขึ้น นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น 72.92% อันดับ 3 บ้านเมืองพัฒนา เจริญก้าวหน้า มั่นคง 67.85% 2. กรณี ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ (2.1) ผลดี คือ อันดับ 1 สถานการณ์ทางการเมืองไม่รุนแรง ลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากันของแต่ละฝ่าย 86.77% อันดับ 2 มีเวลาศึกษา ทบทวน พิจารณาให้ละเอียดมากขึ้น 80.00% อันดับ 3 พรรคการเมืองยังมีโอกาสในการทำงานทางการเมืองต่อไป 62.31% (2.2) ผลเสีย คือ อันดับ 1 สิ้นเปลืองงบประมาณ เสียเวลา การเลือกตั้งช้าออกไป 78.38% อันดับ 2 กระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลและภาพลักษณ์ของประเทศ 75.60% อันดับ 3 ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือนำของเก่ามาใช้ 61.54% (2.3) ผลกระทบต่อบ้านเมือง คือ อันดับ 1 ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น กระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว 74.68% อันดับ 2 ยังคงเป็นรัฐบาลทหารที่ดูแลประเทศต่อไป 68.00% อันดับ 3 บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง 65.54% 3. ในความเห็นส่วนตัว ประชาชนคิดว่า “ควรรับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ อันดับ 1 รับก็ได้ ไม่รับก็ได้ 48.31% เพราะ สิ่งสำคัญในการบริหารบ้านเมือง คือความซื่อสัตย์ สุจริต การร่วมมือร่วมใจและความตั้งใจในการทำงานมากกว่า ฯลฯ อันดับ 2 ควรรับ 40.92% เพราะ บ้านเมืองจะได้เดินหน้า มีเสถียรภาพ การเลือกตั้งเป็นไปตามกำหนด เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนดีขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ควรรับ 10.77% เพราะ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความวุ่นวายในบ้านเมือง เป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. ฯลฯ 4. ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยหลังจากมีการโหวตร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” เป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 51.62% เพราะ ไม่ว่าจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด บ้านเมืองก็ยังคงวุ่นวายและมีปัญหาเหมือนเดิม โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้น 39.85% เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองยังคงปกติดี มีมาตรา 44 คอยควบคุมดูแลเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบ้านเมือง การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 8.53% เพราะ ที่ผ่านมาการร่างรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นสำคัญที่มีปัญหาโต้แย้งมาโดยตลอด ถ้าผลออกมาไม่ว่าจะรับ หรือ ไม่รับ ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งแน่นอน ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับผลย่อมออกมาคัดค้าน เคลื่อนไหว ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--