จากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องหาที่เตรียมวางแผนสร้างความปั่นป่วนทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยมุ่งเป้าที่บุคคลสำคัญทางการเมือง ซึ่งจากการสืบสวนพบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับคดี ขอนแก่นโมเดล ปี 2557 ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างต้องเร่งทำงานอย่างหนัก เพื่อติดตามจับกุมตัวคนร้ายที่เหลือมาดำเนินคดี เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,135 คน ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2558 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 อยากให้เร่งติดตามจับกุมคนร้ายทั้งหมดมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว 85.46% อันดับ 2 โชคดีที่สามารถจับตัวคนร้ายได้และรู้ถึงแผนการที่เตรียมก่อเหตุ ป้องกันได้ทันเวลา 83.70% อันดับ 3 เป็นอีกคดีที่น่าสนใจและยังเกี่ยวข้องกับขอนแก่นโมเดล ซึ่งเคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อปีที่แล้ว 75.07% อันดับ 4 รู้สึกกลัว หวาดระแวง /แสดงว่าคลื่นใต้น้ำยังคงมีอยู่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารไม่ควรประมาท 67.40% อันดับ 5 หากเกิดขึ้นจริง อาจเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินและส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ 66.52% 2. ประชาชนคิดว่า “สาเหตุ” ของเหตุการณ์ครั้งนี้มาจากเรื่องใด? อันดับ 1 ความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย การสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ 87.22% อันดับ 2 ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลหรือ คสช. 77.53% อันดับ 3 ต้องการสร้างสถานการณ์ อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย ปั่นป่วน 72.78% อันดับ 4 การไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่เคารพกฎหมาย 65.02% อันดับ 5 ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล 60.88% 3. จากเหตุการณ์ครั้งนี้ประชาชนคิดว่าจะส่งผลกระทบต่อ “โรดแมป” ที่รัฐบาลกำหนดไว้แล้วหรือไม่? อันดับ 1 ส่งผลกระทบ 41.50% เพราะ หากบ้านเมืองยังไม่สงบ ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่ การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ต้องได้รับผลกระทบหรือหยุดชะงัก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 32.16% เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆรอบด้าน คงต้องรอดูต่อไป ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ส่งผลกระทบ 26.34% เพราะ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมดูแลและแก้ปัญหานี้ได้ คสช.มีอำนาจเด็ดขาด ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้ทุกสถานการณ์ รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าทำงานตามโรดแมป ต่อไปเพื่อการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ ฯลฯ 4. วิธีการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก อันดับ 1 มีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดรัดกุม เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในพื้นที่สำคัญ 80.09% อันดับ 2 เร่งติดตามจับกุมตัวคนร้ายทั้งหมดให้ได้โดยเร็ว มีบทลงโทษที่ชัดเจน เด็ดขาด 79.56% อันดับ 3 หน่วยข่าวกรองต้องติดตามการข่าวมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะต้องถูกต้องแม่นยำ 70.84% อันดับ 4 ประชาชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ไม่ควรมองว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจและทหารเท่านั้น 57.80% อันดับ 5 มีการตรวจสอบติดตามการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดหรืออาวุธรุนแรง 56.12% 5. ประชาชนมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจและทหารมากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 ค่อนข้างมั่นใจ 38.86% เพราะ สามารถติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้แล้วบางส่วน การเชื่อมโยงเหตุการณ์ ทำให้รู้ความคืบหน้าของคดี เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมสนใจและเฝ้าติดตาม ฯลฯ อันดับ 2 มั่นใจมาก 30.13% เพราะ การทำงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่มากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและระงับเหตุการณ์ความรุนแรง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ค่อยมั่นใจ 21.94% เพราะ ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่หวังดี ต้องการสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้กับบ้านเมือง เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารอาจดูแลไม่ทั่วถึง ฯลฯ อันดับ 4 ไม่มั่นใจ 9.07% เพราะ ยังไม่สามารถจับกุมตัวคนร้ายได้ทั้งหมด กฎหมายต้องเด็ดขาด มีบทลงโทษรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขัน ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--