การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561) รัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปการศึกษาไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,328 คน ระหว่างวันที่ 5-14 ธันวาคม 2558 สรุปผล ได้ดังนี้
อันดับ 1 ครู 91.94% อันดับ 2 การประเมินและพัฒนามาตรฐานการศึกษา 85.54% อันดับ 3 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ 78.31% อันดับ 4 การบริหารจัดการ 76.18% อันดับ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 66.64% อันดับ 6 หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 64.46% 2. ณ วันนี้ ประชาชนคิดว่าจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่? อันดับ 1 ควรปรับ 84.49% เพราะ จะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลคุณภาพการศึกษาไทยมีมาตรฐาน ไม่ล้าหลังกว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 12.65% เพราะ ไม่รู้ว่าปรับแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ ที่ผ่านมาก็ปรับมาแล้วหลายครั้ง การศึกษาจะพัฒนาและ มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่ายมากกว่า ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ควรปรับ 2.86% เพราะ เสียเวลา เสียงบประมาณ ต้องมาเริ่มใหม่ ควรปรับหรือแก้ไขเพียงบางส่วน ที่มีปัญหาเท่านั้น ฯลฯ 3. ทำไม? การปฏิรูปการศึกษาจึงทำได้ยาก อันดับ 1 ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานกำกับดูแลยังไม่ลงตัว ทำงานล่าช้า 81.33% ยึดติดแบบเดิมๆ เป็นระบบราชการ อันดับ 2 ครูมีปัญหาภาระงานมาก ครูไม่เพียงพอ ขาดสวัสดิการและแรงจูงใจ 71.46% อันดับ 3 ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ ไม่ปฏิบัติอย่างจริงจัง ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง 68.60% อันดับ 4 หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ได้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นท่องจำ 67.85% งบประมาณไม่ทั่วถึง อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่ทันสมัย อันดับ 5 สภาพเศรษฐกิจและสังคม ฐานะความเป็นอยู่ ความเหลื่อมล้ำ 63.40%
--สวนดุสิตโพล--