กรณี การแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี ภายในร้านค้าของเก่าใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวแก่ประชาชนโดยทั่วไป “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้ระดมสมองช่วยในการป้องกันมิให้ภัยร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นอีก โดยสอบถามประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่รับรู้ข่าวสารการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี จำนวน 1,361 คน (ชาย 697 คน 51.21% และหญิง 664 คน 48.79%) ระหว่างวันที่ 19 | 20 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนรับรู้เรื่อง “กัมมันตภาพรังสี” มาก่อนเหตุการณ์นี้มากน้อยเพียงใด ?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยรู้เรื่อง 50.40%
อันดับที่ 2 พอรู้เรื่องบ้าง 35.49%
อันดับที่ 3 ไม่รู้เรื่องเลย 10.14%
อันดับที่ 4 รู้เรื่องอย่างดี 3.45%
* ไม่ระบุ 0.52%
2. ประชาชนรับรู้เรื่อง “คุณ” และ “โทษ” ของกัมมันตภาพรังสีมาก่อนเกิดเหตุการณ์นี้เพียงใด ?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยรู้เรื่อง 52.24%
* รู้เฉพาะว่ามีอันตรายมาก แต่ไม่รู้ถึงประโยชน์ ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอรู้เรื่องบ้าง 28.80%
* คุณ คือ ใช้รักษาโรคมะเร็ง โทษ อันตรายมาก สามารถทำลายโลกได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่รู้เรื่องเลย 14.77%
* เพราะ ไม่ได้สนใจ เป็นเรื่องไกลตัว ฯลฯ
อันดับที่ 4 รู้เรื่องอย่างดี 3.31%
* คุณ ใช้รักษาโรคมะเร็ง, การพัฒนาคุณภาพอาหาร (ฉายรังสี)
โทษ ถ้าเก็บรักษาไม่ดีจะมีอันตรายมาก
* ไม่ระบุ 0.88%
3. ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ “การแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี” ในครั้งนี้
อันดับที่ 1 กลัว 67.67%
เพราะ น่าจะมีในสถานที่อื่น ๆ อีกมาก, คนไทยเลินเล่อ/มักง่าย ฯลฯ
อันดับที่ 2 สงสารผู้ที่ถูกรังสี 22.04%
เพราะ ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการ, หาเช้ากินค่ำ/ ยากจน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ภัยที่เกิดจากความไม่รู้/ ประมาท 8.16%
เพราะ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของกัมมันตภาพรังสี, ประมาทเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบ/ รับผิดชอบน้อยไป 1.69%
เพราะ ไม่มีการป้องกัน/ ควบคุมอย่างจริงจัง ฯลฯ
* อื่น ๆ เช่น ขออย่าให้เกิดขึ้นอีกเลย, ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่าประมาท ฯลฯ 0.44%
4. บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้
อันดับที่ 1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการใช้กัมมันตภาพรังสีต้องทำงานอย่างจริงจัง 43.57%
อันดับที่ 2 ต้องกวดขัน/ กำกับดูแล/ ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและทำผิดอย่างหนัก 25.79%
อันดับที่ 3 ต้องให้ความรู้เรื่องกัมมันตภาพรังสีแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 19.62%
อันดับที่ 4 การเตรียมการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะมีเครื่องมือที่มีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ 8.67%
* อื่น ๆ เช่น ควบคุมดูแลร้านค้าของเก่า, การทำลายภาชนะเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีที่
ใช้แล้วอย่างถูกวิธี, ประชาชนต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ฯลฯ 2.35%
--สวนดุสิตโพล--
1. ประชาชนรับรู้เรื่อง “กัมมันตภาพรังสี” มาก่อนเหตุการณ์นี้มากน้อยเพียงใด ?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยรู้เรื่อง 50.40%
อันดับที่ 2 พอรู้เรื่องบ้าง 35.49%
อันดับที่ 3 ไม่รู้เรื่องเลย 10.14%
อันดับที่ 4 รู้เรื่องอย่างดี 3.45%
* ไม่ระบุ 0.52%
2. ประชาชนรับรู้เรื่อง “คุณ” และ “โทษ” ของกัมมันตภาพรังสีมาก่อนเกิดเหตุการณ์นี้เพียงใด ?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยรู้เรื่อง 52.24%
* รู้เฉพาะว่ามีอันตรายมาก แต่ไม่รู้ถึงประโยชน์ ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอรู้เรื่องบ้าง 28.80%
* คุณ คือ ใช้รักษาโรคมะเร็ง โทษ อันตรายมาก สามารถทำลายโลกได้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่รู้เรื่องเลย 14.77%
* เพราะ ไม่ได้สนใจ เป็นเรื่องไกลตัว ฯลฯ
อันดับที่ 4 รู้เรื่องอย่างดี 3.31%
* คุณ ใช้รักษาโรคมะเร็ง, การพัฒนาคุณภาพอาหาร (ฉายรังสี)
โทษ ถ้าเก็บรักษาไม่ดีจะมีอันตรายมาก
* ไม่ระบุ 0.88%
3. ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ “การแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี” ในครั้งนี้
อันดับที่ 1 กลัว 67.67%
เพราะ น่าจะมีในสถานที่อื่น ๆ อีกมาก, คนไทยเลินเล่อ/มักง่าย ฯลฯ
อันดับที่ 2 สงสารผู้ที่ถูกรังสี 22.04%
เพราะ ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการ, หาเช้ากินค่ำ/ ยากจน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ภัยที่เกิดจากความไม่รู้/ ประมาท 8.16%
เพราะ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของกัมมันตภาพรังสี, ประมาทเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบ/ รับผิดชอบน้อยไป 1.69%
เพราะ ไม่มีการป้องกัน/ ควบคุมอย่างจริงจัง ฯลฯ
* อื่น ๆ เช่น ขออย่าให้เกิดขึ้นอีกเลย, ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่าประมาท ฯลฯ 0.44%
4. บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้
อันดับที่ 1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการใช้กัมมันตภาพรังสีต้องทำงานอย่างจริงจัง 43.57%
อันดับที่ 2 ต้องกวดขัน/ กำกับดูแล/ ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและทำผิดอย่างหนัก 25.79%
อันดับที่ 3 ต้องให้ความรู้เรื่องกัมมันตภาพรังสีแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 19.62%
อันดับที่ 4 การเตรียมการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะมีเครื่องมือที่มีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ 8.67%
* อื่น ๆ เช่น ควบคุมดูแลร้านค้าของเก่า, การทำลายภาชนะเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีที่
ใช้แล้วอย่างถูกวิธี, ประชาชนต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ฯลฯ 2.35%
--สวนดุสิตโพล--