จากที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าประเทศไทยจะเผชิญสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2559 นี้ อย่างหนักกว่าปีก่อน ด้วยสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ที่มาเร็วและน่าจะรุนแรงบวกกับปริมาณน้ำกักเก็บที่มีจำกัดที่อาจส่งผลต่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเกษตรกรไทยที่จะต้องรับมือและปรับตัวต่อสถานการณ์ภัยแล้งนี้ให้ได้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและเริ่มประหยัดน้ำตั้งแต่บัดนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,158 คน สำรวจระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 โทรทัศน์ 90.74% อันดับ 2 วิทยุ 62.50% อันดับ 3 หนังสือพิมพ์ 58.07% อันดับ 4 เว็บไซต์ต่างๆ 50.26% อันดับ 5 คำบอกเล่าจากคนรู้จัก เพื่อน ญาติ 31.51% อื่นๆ เช่น ประชุม/สัมมนา เจ้าหน้าที่/หน่วยงานรัฐเป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นต้น 14.84% 2. ประชาชนมีความวิตกเกี่ยวกับ “ภัยแล้ง” ในประเทศไทยมากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 ค่อนข้างวิตก 52.85% เพราะ ปริมาณฝนตกเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่น้อยลง ฝนทิ้งช่วง กลัวไม่มีน้ำกิน น้ำใช้ ประชาชนในหลายพื้นที่ต้องแย่งน้ำกัน สภาพแวดล้อม ธรรมชาติเสื่อมโทรม ฟื้นฟูไม่ทัน ฯลฯ อันดับ 2 วิตกมาก 24.87% เพราะ ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆลดลง ภาคเกษตรกรรมประสบปัญหา ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ การเสนอข่าวภัยแล้งมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ค่อยวิตก 18.65% เพราะ เชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล มีโครงการฝนเทียมที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ฯลฯ อันดับ 4 ไม่วิตก 3.63% เพราะ ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากนัก เชื่อว่าบ้านเมืองจะสามารถ ผ่านวิกฤติภัยแล้งนี้ได้ หากมีการรณรงค์และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายช่วยกัน ฯลฯ 3. ประชาชนมีวิธีการรับมือ “ภัยแล้ง” อย่างไรบ้าง? อันดับ 1 คอยติดตามข่าวภัยแล้ง พยากรณ์อากาศ การประกาศแจ้งเตือนต่างๆของภาครัฐ 78.50% อันดับ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หาวิธีรับมือ วางแผนการใช้น้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด 75.13% อันดับ 3 หาอุปกรณ์ ภาชนะที่มีขนาดใหญ่สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน 69.95% อันดับ 4 ช่วยแนะนำ บอกต่อให้ทุกคนตระหนักและให้ความร่วมมือ ปลูกป่า รักษาสิ่งแวดล้อม 62.95% อันดับ 5 ขุดน้ำบาดาล หาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เอง 52.59% 4. ณ วันนี้ ประชาชนใช้น้ำกิน-น้ำใช้อย่างไร? อันดับ 1 ใช้น้ำอย่างประหยัดกว่าปกติ 71.76% เพราะ สถานการณ์ภัยแล้งยาวนานมากขึ้น ควรใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและ เป็นประโยชน์มากที่สุด ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การช่วยเหลือบ้านเมืองและเพื่อตัวเราเองจะได้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างพอเพียง ฯลฯ อันดับ 2 ใช้เหมือนๆเดิม 28.24% เพราะ ใช้ตามปกติเท่าที่จำเป็น ไม่ได้เป็นคนใช้น้ำสิ้นเปลือง ใช้น้ำประหยัดอยู่แล้ว ฯลฯ 5. ประชาชนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือปัญหา“ภัยแล้ง” อย่างไร? อันดับ 1 การแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น การสร้างฝาย เขื่อน 84.72% ขุดลอกคูคลองต่างๆ ฟื้นฟูป่าและหาแหล่งน้ำเพิ่ม อันดับ 2 มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะการ 77.98% ช่วยเหลือเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อน อันดับ 3 การบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ 71.24% อันดับ 4 รณรงค์ ประกาศ แจ้งเตือนให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องภัยแล้ง เห็นคุณค่าของน้ำ 68.39% และใช้อย่างประหยัด อันดับ 5 ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ลงพื้นที่ จัดประชุมเพื่อรับทราบปัญหาและแนวทางแก้ไข 63.47% ที่ชัดเจน
--สวนดุสิตโพล--