สวนดุสิตโพล: “การรับรู้กฎหมาย” ของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Friday March 4, 2016 14:52 —สวนดุสิตโพล

ปัจจุบันประชาชนมีส่วนร่วมและตื่นตัวในการรับรู้เรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญสำนักงานกิจการยุติธรรม” ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ร่วมกับ “สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัย สวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในหัวข้อ“การรับรู้กฎหมาย” จำนวนทั้งสิ้น 628 คน เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนางานด้านกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น สำรวจระหว่างวันที่ 21-29 กุมภาพันธ์ 2559 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน ต่อ “กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” ของไทย
          อันดับ 1  หน่วยงานต่างๆของรัฐใช้ช่องโหว่ของกฎหมายนำมาซึ่งการทุจริตคอร์รัปชั่น             75.64%
          อันดับ 2  รัฐ ไม่มีช่องทางมากพอสำหรับให้ประชาชนเพื่อปรึกษาขอความรู้กฎหมาย              72.61%

อันดับ 3 อภิสิทธิ์ชน คนร่ำรวย มีชื่อเสียง ได้รับประโยชน์จากกฎหมายมากกว่าประชาชนทั่วไป 67.68%

          อันดับ 4  เจ้าหน้าที่รัฐมักอธิบายข้อกฎหมายต่อประชาชนเสมอเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น             60.35%
          อันดับ 5  เนื้อหากฎหมายส่วนใหญ่ไม่เป็นประโยชน์และไม่ยุติธรรมต่อประชาชนสักเท่าใด          59.39%

2. ในชีวิตประจำวัน ประชาชนมักประสบปัญหาเกี่ยวกับ“กฎหมาย” เรื่องใดมากที่สุด
          อันดับ 1  ปัญหาสิทธิสุขภาพ สวัสดิการ การรักษาพยาบาล                                78.18%
          อันดับ 2  ปัญหาเกี่ยวกับประกันภัย ประกันส่วนบุคคล อุบัติเหตุ                             76.59%

อันดับ 3 ปัญหาการซื้อขาย เปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ยึดทรัพย์ ล้มละลาย 75.48%

3. สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการรับรู้กฎหมายของประชาชน คือ

อันดับ 1 การเผยแพร่ข่าวสารของภาครัฐ ไม่ค่อยให้ความรู้ด้านกฎหมายประกอบควบคู่มาด้วย 82.32%

          อันดับ 2  ไม่มีศูนย์กลางเพื่อการติดต่อสอบถามความรู้ทางกฎหมายเพื่อประชาชน                77.39%

อันดับ 3 หน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายโดยตรงไม่เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน 76.27%

          อันดับ 4  สื่อไม่ทำหน้าที่อธิบายรายละเอียดข้อควรรู้กฎหมายในเนื้อหาข่าวเท่าที่ควร             73.73%
          อันดับ 5  ประชาชนกระทำความผิดเพราะไม่รู้กฎหมายและบทลงโทษ                        67.83%

4. การสื่อสารเรื่องกฎหมายรูปแบบใด? ที่ประชาชนต้องการมากที่สุด
          อันดับ 1  รายการทางโทรทัศน์                                                   83.76%
          อันดับ 2  คลิปวีดีโอรณรงค์/โฆษณา                                                79.62%
          อันดับ 3  กิจกรรมให้ความรู้                                                     64.49%
          อันดับ 4  รายการวิทยุ                                                         63.38%
          อันดับ 5  ภาพกราฟฟิก /อินโฟกราฟิกส์                                             58.60%

5. วิธีการเผยแพร่กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึงและคุ้มค่าควรเป็นอย่างไร?
          อันดับ 1  เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ             83.12%
          อันดับ 2  อบรมให้ความรู้แก่ทุกคนที่สนใจ/ตัวแทนชุมชน หน่วยงานรัฐ เอกชน                  76.43%
          อันดับ 3  บรรจุในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้น                                       71.02%
          อันดับ 4  จัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ                                    62.74%
          อันดับ 5  ทำเอกสารแผ่นพับแจกหน่วยงาน/สถานศึกษา/บ้านเรือน                          56.53%

6. หน่วยงานใดควรเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการเผยแพร่สร้างการรับรู้ทางกฎหมายสู่ประชาชนมากที่สุด

อันดับ 1 หน่วยราชการในกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล กระทรวงยุติธรรม ฯลฯ 41.57%

อันดับ 2 หน่วยราชการที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ฯลฯ 36.46%

อันดับ 3 หน่วยราชการที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เช่น กรมการขนส่งทางบก 21.97%

กรมการปกครองกรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมการจัดหางาน ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ