จากเหตุการณ์ "สภาล่ม" เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
"สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในกรุงเทพฯและปริมณฑล
จำนวน 2,057 คน ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. สาเหตุของสภาล่มในสายตามประชาชน
อันดับที่ 1 การขาดความรับผิดชอบของ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 43.41%
อันดับที่ 2 การเล่นเกมการเมือง / การเสนอนับองค์ประชุมตลอดเวลา 32.62%
อันดับที่ 3 ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมาก แต่ไม่รับผิดชอบ 15.26%
อันดับที่ 4 ความขัดแย้งในพรรคไทยรักไทย / การประลองกำลังแต่ละฝ่าย 5.69%
* อื่นๆ เช่น ส.ส. ฝ่ายค้าน (ประชาธิปัตย์) ไม่ยอมเข้าประชุม ฯลฯ 3.02%
2. กรณี "สภาล่ม" มีผลกระทบในด้านในบ้าง ?
อันดับที่ 1 เป็นตัวถ่วงประชาธิปไตย / ทำลายประชาธิปไตย 41.71%
อันดับที่ 2 เบื่อ/ เซ็งการเมืองแบบไทย ๆ เกิดขึ้นซ้ำซาก 30.29%
อันดับที่ 3 เล่นเกมการเมืองมากไป ไม่นึกถึงประชาชนอย่างแท้จริง 20.03%
อันดับที่ 4 เห็นธาตุแท้นักการเมือง / ไม่รับผิดชอบ 6.27%
* อื่น ๆ เช่น เสียดายงบประมาณเงินเดือน ส.ส. / ทำงานไม่เต็มที่ ฯลฯ 1.70%
3. ประชาชนคิดว่าจะมีเหตุการณ์ "สภาล่ม" อีกหรือไม่ ?
อันดับที่ 1 คิดว่ามี 53.86%
เพราะ เป็นเรื่องการเมือง, คงชิงไหวชิงพริบกัน,นักการเมืองมีธุระมาก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 43.27%
เพราะ ไม่แน่นอน,ขึ้นอยู่กับวิปแต่ละฝ่าย,ขึ้นอยู่กับการกวดขัน/เอาจริง ฯลฯ
อันดับที่ 3 คิดว่าไม่น่ามี 2.87%
เพราะ รัฐบาล/นายกฯ คงเอาจริง ฯลฯ
4. ประชาชนเชื่อหรือไม่ ? ว่าผู้ที่ขาดประชุม พรรคไทยรักไทยจะไม่ส่งลงสมัครในครั้งต่อไป
อันดับที่ 1 ไม่เชื่อ 70.98%
เพราะ เป็นคำขู่มากกว่า, คนสมัครมีจำนวนจำกัด,ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง, ไม่เชื่อคำพูดนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 25.43%
เพราะ การเลือกตั้งยังอีกนาน, การเมืองไม่แน่ไม่นอน ฯลฯ
อันดับที่ 3 เชื่อ 3.59%
เพราะ นายกฯคงเอาจริง, เป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้คุม ส.ส. ได้ ฯลฯ
5. ทำอย่างไร ? จึงจะไม่ให้สภาล่มอีก
อันดับที่ 1 ทุกฝ่ายต้องช่วยกันตรวจสอบ ส.ส. โดยเฉพาะสื่อมวลชน
ต้องนำรายชื่อมาเปิดเผย / ประจาน ส.ส. ที่ชอบขาดประชุม 41.57%
อันดับที่ 2 ต้องช่วยกันตำหนิ / วิพากษ์วิจารณ์ไม่ให้ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาล
และฝ่ายค้านขาดประชุม 28.47%
อันดับที่ 3 ควรมีการกำหนดโทษ /ตัดเงินเดือน กรณี ส.ส. ขาดประชุม
โดยไม่จำเป็น 17.16%
อันดับที่ 4 กวดขัน / ตรวจสอบ อย่าให้เล่นเกมการเมือง 9.58%
อันดับที่ 5 กำหนดตารางการทำงานของ ส.ส. กับการประชุมอย่าให้ซ้ำซ้อนกัน 1.75%
* อื่น ๆ เช่น สร้างสำนึกความรับผิดชอบให้ ส.ส. เห็นความสำคัญของการประชุม,
อย่าเลือก ส.ส. ที่ขาดประชุมบ่อย ๆ ฯลฯ 1.40%
--สวนดุสิตโพล--
"สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในกรุงเทพฯและปริมณฑล
จำนวน 2,057 คน ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. สาเหตุของสภาล่มในสายตามประชาชน
อันดับที่ 1 การขาดความรับผิดชอบของ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 43.41%
อันดับที่ 2 การเล่นเกมการเมือง / การเสนอนับองค์ประชุมตลอดเวลา 32.62%
อันดับที่ 3 ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมาก แต่ไม่รับผิดชอบ 15.26%
อันดับที่ 4 ความขัดแย้งในพรรคไทยรักไทย / การประลองกำลังแต่ละฝ่าย 5.69%
* อื่นๆ เช่น ส.ส. ฝ่ายค้าน (ประชาธิปัตย์) ไม่ยอมเข้าประชุม ฯลฯ 3.02%
2. กรณี "สภาล่ม" มีผลกระทบในด้านในบ้าง ?
อันดับที่ 1 เป็นตัวถ่วงประชาธิปไตย / ทำลายประชาธิปไตย 41.71%
อันดับที่ 2 เบื่อ/ เซ็งการเมืองแบบไทย ๆ เกิดขึ้นซ้ำซาก 30.29%
อันดับที่ 3 เล่นเกมการเมืองมากไป ไม่นึกถึงประชาชนอย่างแท้จริง 20.03%
อันดับที่ 4 เห็นธาตุแท้นักการเมือง / ไม่รับผิดชอบ 6.27%
* อื่น ๆ เช่น เสียดายงบประมาณเงินเดือน ส.ส. / ทำงานไม่เต็มที่ ฯลฯ 1.70%
3. ประชาชนคิดว่าจะมีเหตุการณ์ "สภาล่ม" อีกหรือไม่ ?
อันดับที่ 1 คิดว่ามี 53.86%
เพราะ เป็นเรื่องการเมือง, คงชิงไหวชิงพริบกัน,นักการเมืองมีธุระมาก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 43.27%
เพราะ ไม่แน่นอน,ขึ้นอยู่กับวิปแต่ละฝ่าย,ขึ้นอยู่กับการกวดขัน/เอาจริง ฯลฯ
อันดับที่ 3 คิดว่าไม่น่ามี 2.87%
เพราะ รัฐบาล/นายกฯ คงเอาจริง ฯลฯ
4. ประชาชนเชื่อหรือไม่ ? ว่าผู้ที่ขาดประชุม พรรคไทยรักไทยจะไม่ส่งลงสมัครในครั้งต่อไป
อันดับที่ 1 ไม่เชื่อ 70.98%
เพราะ เป็นคำขู่มากกว่า, คนสมัครมีจำนวนจำกัด,ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง, ไม่เชื่อคำพูดนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 25.43%
เพราะ การเลือกตั้งยังอีกนาน, การเมืองไม่แน่ไม่นอน ฯลฯ
อันดับที่ 3 เชื่อ 3.59%
เพราะ นายกฯคงเอาจริง, เป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้คุม ส.ส. ได้ ฯลฯ
5. ทำอย่างไร ? จึงจะไม่ให้สภาล่มอีก
อันดับที่ 1 ทุกฝ่ายต้องช่วยกันตรวจสอบ ส.ส. โดยเฉพาะสื่อมวลชน
ต้องนำรายชื่อมาเปิดเผย / ประจาน ส.ส. ที่ชอบขาดประชุม 41.57%
อันดับที่ 2 ต้องช่วยกันตำหนิ / วิพากษ์วิจารณ์ไม่ให้ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาล
และฝ่ายค้านขาดประชุม 28.47%
อันดับที่ 3 ควรมีการกำหนดโทษ /ตัดเงินเดือน กรณี ส.ส. ขาดประชุม
โดยไม่จำเป็น 17.16%
อันดับที่ 4 กวดขัน / ตรวจสอบ อย่าให้เล่นเกมการเมือง 9.58%
อันดับที่ 5 กำหนดตารางการทำงานของ ส.ส. กับการประชุมอย่าให้ซ้ำซ้อนกัน 1.75%
* อื่น ๆ เช่น สร้างสำนึกความรับผิดชอบให้ ส.ส. เห็นความสำคัญของการประชุม,
อย่าเลือก ส.ส. ที่ขาดประชุมบ่อย ๆ ฯลฯ 1.40%
--สวนดุสิตโพล--