สวนดุสิตโพล: การลงประชามติ “รัฐธรรมนูญ”

ข่าวผลสำรวจ Monday April 11, 2016 09:12 —สวนดุสิตโพล

การลงประชามติรัฐธรรมนูญ “รับ-ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ ซึ่งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ รัดกุมและเร่งประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิครั้งนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,216 คน สำรวจระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าการลงประชามติรัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างไร?
อันดับ 1   เป็นการแสดงออกทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน                                      75.58%
อันดับ 2   มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการจัดการเลือกตั้งในปีหน้า                                          74.42%
อันดับ 3   ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน                                             71.71%
อันดับ 4   เพื่อความเป็นประชาธิปไตย ได้รัฐธรรมนูญฉบับที่เสียงส่วนใหญ่ยอมรับ                                          65.63%
อันดับ 5   ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะมีผลต่อการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารประเทศ                            61.27%

2. สาเหตุ ที่คนจะไปลงประชามติ เพราะอะไร?
อันดับ 1   เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนเอง                                                                    80.43%
อันดับ 2   อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าและนำไปสู่การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น                                             76.97%
อันดับ 3   เพื่อแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย การเคารพกฎหมายของบ้านเมือง                                         69.49%
อันดับ 4   การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ของสื่อและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง                                                 68.91%
อันดับ 5   แสดงถึงความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจของคนไทย                                                      63.24%

3. สาเหตุ ที่คนจะไม่ไปลงประชามติ เพราะอะไร?
อันดับ 1   มาจากเหตุผลส่วนตัว ติดธุระ ไม่สะดวก ไม่ว่าง ไม่สนใจ ไม่ได้ติดตามข่าว เบื่อการเมือง                          72.12%
อันดับ 2   ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าใจถึงเนื้อหาและความสำคัญ                                     68.83%
อันดับ 3   ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน                                               60.18%
อันดับ 4   ตั้งใจว่าจะไม่ไปใช้สิทธิลงประชามติ                                                                  59.65%
อันดับ 5   ไม่มั่นใจว่าการลงประชามติจะได้ผล กลัวเสียเวลาเปล่า                                                   54.44%

4. ประชาชนจะไปลงประชามติว่ารับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญหรือไม่?
อันดับ 1   ไป                                                                                          50.58%
เพราะ เป็นเรื่องสำคัญของบ้านเมืองและคนไทยทุกคน อยากมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นการแสดง
ออกทางประชาธิปไตย ไม่อยากเสียสิทธิ  อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพฯลฯ
อันดับ 2   ไม่แน่ใจ                                                                                      36.92%
เพราะ ยังไม่ได้ตัดสินใจ รอตัดสินใจช่วงใกล้ๆจะลงประชามติอีกครั้ง ยังไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจน
แน่นอน มีกระแสข่าวทั้งในด้านดีและด้านลบ ฯลฯ
อันดับ 3   ไม่ไป                                                                                        12.50%
เพราะ มีเหตุผลส่วนตัว ไม่สะดวก ไม่สนใจ ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ มีมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่าง ฯลฯ

5. ประชาชนคิดว่าควรจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนไปลงประชามติรัฐธรรมนูญอย่างไร?
อันดับ 1   ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียส์                   71.79%
อันดับ 2   ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ประโยชน์ของการลงประชามติครั้งนี้                                67.43%
อันดับ 3   ทำเอกสาร แผ่นพับที่สวยงาม ดึงดูด น่าสนใจ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ส่งไปตามบ้านเรือน หน่วยงาน สถานที่ทำงาน เป็นต้น   65.95%
อันดับ 4   ให้บุคคลสำคัญออกมากระตุ้น เชิญชวน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีและ กรธ.                                      64.14%
อันดับ 5   เดินสายรณรงค์ Roadshow ไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อพบปะพูดคุยกับประชาชน                                       57.40%

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ