การลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญเป็นขั้นตอนสำคัญของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ เป็นการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “การลงประชามติรัฐธรรมนูญ” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,169 คน สำรวจระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 สำคัญ 85.76% เพราะ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเอง ได้แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมทางการเมือง อยากเห็นบ้านเมืองก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ฯลฯ อันดับ 2 เฉยๆ 12.30% เพราะ สนใจเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องมากกว่า จะทำอย่างไรก็ได้ แต่ขอให้ทำเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่สำคัญ 1.94% เพราะ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการร่างรัฐธรรมนูญที่เตรียมการไว้แล้ว เป็นเรื่องทางการเมือง ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ่อย ฯลฯ 2. สาเหตุสำคัญของการที่จะไม่ไปลงประชามติรัฐธรรมนูญ อันดับ 1 อาจติดธุระ มีความจำเป็นที่ทำให้ไปไม่ได้ ตั้งใจที่จะไม่ไปเอง 73.21% อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 67.40% อันดับ 3 ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่สนใจเรื่องการเมือง 61.82% อันดับ 4 มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์น้อย ไม่เข้าถึงประชาชน 57.76% อันดับ 5 มองว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องอำนาจและผลประโยชน์ สิ้นเปลืองงบประมาณ เสียเวลา 56.39% 3. ทำอย่างไร? ประชาชนจึงจะไปลงประชามติรัฐธรรมนูญ อันดับ 1 ทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก จัดกิจกรรมที่น่าสนใจ รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญ 78.29% อันดับ 2 สรุปเนื้อหา ข้อดี-ข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการลงประชามติ 74.54% ผลที่จะตามมาจากการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ อันดับ 3 ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการลงประชามติให้ชัดเจน เข้าใจง่าย 67.08% อันดับ 4 สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน 65.89% อันดับ 5 อำนวยความสะดวกเรื่องการเดินทางให้กับประชาชน 53.24%
--สวนดุสิตโพล--