สวนดุสิตโพล: ปัจจัยที่มีผลต่อการลงประชามติ “รับ” หรือ “ไม่รับ”ร่างรัฐธรรมนูญ

ข่าวผลสำรวจ Monday April 25, 2016 10:06 —สวนดุสิตโพล

จากที่ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” กำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับว่าเป็นการลงประชามติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบ้านเมืองและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย ในขณะที่รัฐบาลก็ได้มีการสั่งห้ามรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมองว่าอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ประชาชน เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,176 คน สำรวจระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
อันดับ 1   เป็นการมีส่วนร่วมและแสดงออกทางประชาธิปไตย                                              77.30%
อันดับ 2   มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย                                                    74.66%
อันดับ 3   อยากให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อม และดำเนินการให้ดีที่สุด                                            71.43%
อันดับ 4   ควรแก้ปัญหาต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนจะถึงวันลงประชามติ                                         65.14%
อันดับ 5   มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และการชุมนุมเคลื่อนไหวมากขึ้น                                          50.34%

2. ปัจจัยที่มีผลต่อการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน
อันดับ 1   เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้                                                              79.51%
อันดับ 2   การตระหนักถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ                                                    76.36%
อันดับ 3   ความถูกต้องยุติธรรมในการดำเนินงาน                                                      73.55%
อันดับ 4   การประชาสัมพันธ์เรื่องรัฐธรรมนูญ                                                         66.92%
อันดับ 5   สถานการณ์ทางการเมือง                                                                62.59%

3. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การที่นักการเมืองต่างๆออกมาวิพากษ์วิจารณ์การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้
อันดับ 1   เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถทำได้                                                          75.26%
อันดับ 2   ทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง                                                       74.06%
อันดับ 3   ประชาชนควรรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ                                                       70.83%
อันดับ 4   ควรเสนอแนะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และนึกถึงส่วนรวม                                           68.88%
อันดับ 5   ไม่ควรก่อกวน สร้างกระแส หรือใส่ร้ายโจมตี                                                 64.63%

4. ประชาชนเชื่อ “ความคิดเห็นของนักการเมืองที่ชื่นชอบ” ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1   ไม่ค่อยเชื่อ                                                                          45.15%
เพราะ  เป็นเกมการเมือง เป็นเรื่องปกติที่มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่าง มาจากความคิดเห็นส่วนตัว ฯลฯ
อันดับ 2   ไม่เชื่อ                                                                             36.26%
เพราะ  การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 3   ค่อนข้างเชื่อ                                                                         13.87%
เพราะ  แสดงความคิดเห็นน่าสนใจ มีเหตุมีผล น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ฯลฯ
อันดับ 4   เชื่อมาก                                                                             4.72%
เพราะ เป็นบุคคลที่ชื่นชอบ อยู่ในแวดวงการเมืองมานาน มีความรู้และประสบการณ์ทางการเมือง  ฯลฯ

5. “ปัญหาอุปสรรค” ในการที่จะไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้  คือ
อันดับ 1   เรื่องเวลา ติดธุระ ไม่สะดวก                                                            83.08%
อันดับ 2   ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ติดตาม                                               79.00%
อันดับ 3   ความคิดเห็นส่วนตัวที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้                                                 71.09%
อันดับ 4   การเดินทาง สถานที่ลงประชามติ                                                          59.18%
อันดับ 5   สถานการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลานั้น                                                        47.25%

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ