"สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน
1,749 คน กรณี "ข่าวอิสระมุนีที่พัวพันกับสีกา" ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ โดยสอบถามถึงความรู้สึกของ
ประชาชนเพื่อร่วมหาวิธีการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก โดยสอบถามระหว่างวันที่ 15 - 17
ตุลาคม 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของ "ประชาชน" ต่อกรณี : "ข่าวอิสระมุณีพัวพันกับสีกา"
อันดับที่ 1 รู้สึกสลดใจ / เสียความรู้สึก 31.40%
อันดับที่ 2 เสื่อมศรัทธาในตัวพระสงฆ์และศาสนา 30.58%
อันดับที่ 3 น่าเบื่อ/เป็นเรื่องส่วนตัว/ไม่สนใจ/เฉยๆ 17.77%
อันดับที่ 4 เป็นเรื่องปกติ/มีข่าวแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง/ชาชินเสียแล้ว 10.74%
อันดับที่ 5 หลอกลวงประชาชน/เป็นถึงพระผู้ใหญ่ไม่ควรเกิดเรื่องแบบนี้ 6.61%
* อื่นๆ เช่น ควรได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง, ผิดวินัยสงฆ์อย่างร้ายแรง ฯลฯ 2.90%
2. จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อ "ความศรัทธา"ในพุทธศาสนาของประชาชนหรือไม่?
มีผล 45.53%
เพราะ พระผู้ใหญ่ทำให้เสื่อมศรัทธา, เสียความรู้สึก, มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย,
ทำให้ศาสนาดูเสื่อมลง ฯลฯ
ไม่มีผล 54.47%
เพราะ ยึดหลักคำสอนทางศาสนา, เลื่อมใสพระพุทธเจ้า, ยังมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีอีกมาก,
นับถือคนละศาสนา ฯลฯ
3. ทำอย่างไร ? เหตุการณ์แบบนี้จึงจะไม่เกิดขึ้นอีก
อันดับที่ 1 ควรมีการพิจารณากลั่นกรองผู้ที่จะบวชอย่างเคร่งครัด 27.72%
อันดับที่ 2 มีบทลงโทษอย่างรุนแรงและจริงจัง/อย่าลูบหน้าปะจมูก 25.00%
อันดับที่ 3 เป็นเรื่องที่ยาก/ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและตัวบุคคล 23.76%
อันดับที่ 4 มีการตรวจสอบพฤติกรรมพระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ 13.37%
อันดับที่ 5 ขึ้นอยู่กับพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน 6.44%
* อื่นๆ เช่น ทุกฝ่ายควรช่วยกันสอดส่องดูแล, อาจมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง ฯลฯ 3.71%
4. "กรมการศาสนา" ควรทำอย่างไร ? ในเหตุการณ์นี้
อันดับที่ 1 มีมาตรการ/การลงโทษขั้นเด็ดขาด 37.10%
อันดับที่ 2 ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง/หลักฐานที่แน่ชัดโดยเร็ว 18.82%
อันดับที่ 3 มีการตั้งกฎเกณฑ์/กฎระเบียบตรวจสอบผู้ที่จะบวช 15.05%
อันดับที่ 4 ควรยุติเรื่องนี้โดยเร็ว 13.98%
อันดับที่ 5 ควรพิจารณาตั้งแต่คณะกรรมการของกรมศาสนาเป็นอย่างแรก 10.22%
* อื่นๆ เช่น ยากในการป้องกัน, ควรสึกจากการเป็นสมณเพศ ฯลฯ 4.83%
5. "สื่อมวลชน" ควรนำเสนอข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้หรือไม่ ?
สมควร 86.17%
เพราะ เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนอยู่แล้ว, เป็นการสะท้อนสังคมในวงการของพระสงฆ์, นำความผิดพลาดมาแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง,
จะได้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างแก่พระสงฆ์รูปอื่น ฯลฯ
ไม่สมควร 13.83%
เพราะ ทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย, ประชาชนเสื่อมศรัทธามากขึ้น, ศาสนาถูกดูหมิ่น, สื่อเป็นต้นเหตุในการสร้างข่าวที่เกินจริง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
1,749 คน กรณี "ข่าวอิสระมุนีที่พัวพันกับสีกา" ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ โดยสอบถามถึงความรู้สึกของ
ประชาชนเพื่อร่วมหาวิธีการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก โดยสอบถามระหว่างวันที่ 15 - 17
ตุลาคม 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของ "ประชาชน" ต่อกรณี : "ข่าวอิสระมุณีพัวพันกับสีกา"
อันดับที่ 1 รู้สึกสลดใจ / เสียความรู้สึก 31.40%
อันดับที่ 2 เสื่อมศรัทธาในตัวพระสงฆ์และศาสนา 30.58%
อันดับที่ 3 น่าเบื่อ/เป็นเรื่องส่วนตัว/ไม่สนใจ/เฉยๆ 17.77%
อันดับที่ 4 เป็นเรื่องปกติ/มีข่าวแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง/ชาชินเสียแล้ว 10.74%
อันดับที่ 5 หลอกลวงประชาชน/เป็นถึงพระผู้ใหญ่ไม่ควรเกิดเรื่องแบบนี้ 6.61%
* อื่นๆ เช่น ควรได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง, ผิดวินัยสงฆ์อย่างร้ายแรง ฯลฯ 2.90%
2. จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อ "ความศรัทธา"ในพุทธศาสนาของประชาชนหรือไม่?
มีผล 45.53%
เพราะ พระผู้ใหญ่ทำให้เสื่อมศรัทธา, เสียความรู้สึก, มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย,
ทำให้ศาสนาดูเสื่อมลง ฯลฯ
ไม่มีผล 54.47%
เพราะ ยึดหลักคำสอนทางศาสนา, เลื่อมใสพระพุทธเจ้า, ยังมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีอีกมาก,
นับถือคนละศาสนา ฯลฯ
3. ทำอย่างไร ? เหตุการณ์แบบนี้จึงจะไม่เกิดขึ้นอีก
อันดับที่ 1 ควรมีการพิจารณากลั่นกรองผู้ที่จะบวชอย่างเคร่งครัด 27.72%
อันดับที่ 2 มีบทลงโทษอย่างรุนแรงและจริงจัง/อย่าลูบหน้าปะจมูก 25.00%
อันดับที่ 3 เป็นเรื่องที่ยาก/ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและตัวบุคคล 23.76%
อันดับที่ 4 มีการตรวจสอบพฤติกรรมพระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ 13.37%
อันดับที่ 5 ขึ้นอยู่กับพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน 6.44%
* อื่นๆ เช่น ทุกฝ่ายควรช่วยกันสอดส่องดูแล, อาจมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง ฯลฯ 3.71%
4. "กรมการศาสนา" ควรทำอย่างไร ? ในเหตุการณ์นี้
อันดับที่ 1 มีมาตรการ/การลงโทษขั้นเด็ดขาด 37.10%
อันดับที่ 2 ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง/หลักฐานที่แน่ชัดโดยเร็ว 18.82%
อันดับที่ 3 มีการตั้งกฎเกณฑ์/กฎระเบียบตรวจสอบผู้ที่จะบวช 15.05%
อันดับที่ 4 ควรยุติเรื่องนี้โดยเร็ว 13.98%
อันดับที่ 5 ควรพิจารณาตั้งแต่คณะกรรมการของกรมศาสนาเป็นอย่างแรก 10.22%
* อื่นๆ เช่น ยากในการป้องกัน, ควรสึกจากการเป็นสมณเพศ ฯลฯ 4.83%
5. "สื่อมวลชน" ควรนำเสนอข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้หรือไม่ ?
สมควร 86.17%
เพราะ เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนอยู่แล้ว, เป็นการสะท้อนสังคมในวงการของพระสงฆ์, นำความผิดพลาดมาแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง,
จะได้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างแก่พระสงฆ์รูปอื่น ฯลฯ
ไม่สมควร 13.83%
เพราะ ทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย, ประชาชนเสื่อมศรัทธามากขึ้น, ศาสนาถูกดูหมิ่น, สื่อเป็นต้นเหตุในการสร้างข่าวที่เกินจริง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--