การเมืองไทย” ณ วันนี้ มีหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนโดยเฉพาะการบริหารบ้านเมืองของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางหรือ อนาคตของประเทศว่าจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน ทั้งสิ้น 1,295 คน สำรวจระหว่างวันที่ 4-9 กรกฎาคม 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 นักการเมืองขาดความสามัคคี ทะเลาะเบาะแว้ง ใส่ร้ายกันไปมา 79.69% อันดับ 2 ปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบในทุกๆด้านโดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศ 75.52% อันดับ 3 ยังมีการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ 68.73% อันดับ 4 กำลังจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ 64.40% อันดับ 5 การเมืองวันนี้ดีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลควบคุมดูแลได้ดี มีนโยบายชัดเจน 57.61% 2. เมื่อเปรียบเทียบการเมืองไทยก่อนที่จะมีรัฐประหาร กับ การเมืองไทย ณ วันนี้ เป็นอย่างไร? อันดับ 1 ดีขึ้น 46.87% เพราะ ไม่มีการชุมนุมประท้วง การทะเลาะเบาะแว้งลดน้อยลง ปฏิบัติตามกฎระเบียบมากขึ้น มีมาตรา พิเศษคอยควบคุมเพื่อความสงบเรียบร้อย ฯลฯ อันดับ 2 เหมือนเดิม 29.58% เพราะ ยังมีปัญหาความขัดแย้ง มีคลื่นใต้น้ำ การปล่อยข่าวสร้างกระแส มุ่งหวังแต่อำนาจผลประโยชน์ ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 23.55% เพราะ ยังไม่มีการเลือกตั้ง เป็นการเมืองภายใต้การรัฐประหาร ทำให้ต่างชาติไม่เชื่อมั่น กระทบต่อเศรษฐกิจ ฯลฯ 3. สิ่งที่ “การเมืองไทย” ณ วันนี้ดีขึ้น คือ อันดับ 1 บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่มีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง 81.62% อันดับ 2 รัฐบาลควบคุมดูแลเข้มงวด การแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 80.93% อันดับ 3 กำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กำลังจะมีการเลือกตั้ง 74.59% 4. สิ่งที่ “การเมืองไทย” ณ วันนี้แย่ลง คือ อันดับ 1 อยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้เท่าที่ควร 78.74% อันดับ 2 เป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง กระทบต่อภาพลักษณ์ในสายตาต่างชาติ 62.70% อันดับ 3 ไม่มีการคานอำนาจ ไม่มีระบบการตรวจสอบการทำงานที่ชัดเจน 60.12% 5. สิ่งที่ “การเมืองไทย” ณ วันนี้ยังคงเหมือนเดิม คือ อันดับ 1 ยังคงมีความขัดแย้งแตกแยก ความแตกต่างทางความคิด 87.34% อันดับ 2 เห็นแก่พวกพ้อง อำนาจและผลประโยชน์ส่วนตน 78.38% อันดับ 3 พฤติกรรมนักการเมืองยังเหมือนเดิม วิพากษ์วิจารณ์ ไม่รับฟังความคิดเห็น 72.59%
--สวนดุสิตโพล--