ตั้งแต่ที่มีการประกาศใช้มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อสร้างความปรองดอง รักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงระงับและป้องกันปราบปรามการกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้นในบ้านเมือง จนถึงวันนี้ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้มาตรา 44 อยู่ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็น ของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,139 คน สำรวจระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ทำให้บ้านเมืองสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ช่วยลดความขัดแย้งในบ้านเมือง 80.60% อันดับ 2 ควรนำมาใช้ให้เหมาะสมและประเมินสถานการณ์บ้านเมืองเป็นระยะๆ 78.14% อันดับ 3 ประชาชนมองว่าเผด็จการ ใช้อำนาจมากเกินไป จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน 67.52% อันดับ 4 ยังคงมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 56.63% อันดับ 5 ช่วยให้รัฐบาลบริหารบ้านเมืองได้ง่าย สามารถจัดการแก้ปัญหาต่างๆได้รวดเร็ว 53.47% 2. สถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ ประชาชนคิดว่าควรใช้มาตรา 44 ในเรื่องใดบ้าง? อันดับ 1 แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชน 81.39% อันดับ 2 ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ 73.66% อันดับ 3 การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง สร้างความสามัคคีปรองดอง 71.20% อันดับ 4 ปราบปรามอาชญากรรม โจร ผู้ร้าย ยาเสพติด มาเฟียและผู้มีอิทธิพล 66.90% อันดับ 5 การแก้กฎหมาย การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 50.92% 3. ประชาชนคิดว่าถึงเวลาที่ควรหยุดใช้มาตรา 44 แล้วหรือยัง? อันดับ 1 ยังไม่ถึงเวลา 57.07% เพราะ บ้านเมืองยังมีหลายปัญหาที่ต้องจัดการ ควรใช้ต่อไปอีกสักระยะ รอให้สถานการณ์ต่างๆเข้าที่เข้าทาง ฯลฯ อันดับ 2 ถึงเวลาแล้ว 42.93% เพราะ มีผลต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ตั้งแต่ใช้มาตรา 44 ก็ถูกต่อต้านคัดค้านมาโดยตลอด ฯลฯ 4. ตั้งแต่มีการประกาศใช้ “มาตรา 44” จนถึงปัจจุบัน ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร? อันดับ 1 ผลดีมากกว่าผลเสีย 50.40% เพราะ ทำให้คนเกรงกลัว ไม่กล้าทำผิดกฎหมาย รัฐบาลทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยควบคุมสถานการณ์บ้านเมือง ฯลฯ อันดับ 2 ผลดีผลเสียพอๆกัน 27.12% เพราะ ขึ้นอยู่กับมุมมองและวิจารณญาณของแต่ละคน รวมทั้งผลกระทบที่ได้รับมากน้อยแตกต่างกันไป ฯลฯ อันดับ 3 ผลเสียมากกว่าผลดี 22.48% เพราะ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศ เป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--